การพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิตของโรงพยาบาลขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว
อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต (sepsis) และผลการดำเนินงานตามแนวทางที่พัฒนาขึ้น ผู้เข้าร่วมวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ 1) แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวม 76 คน 2) ผู้ป่วย sepsis รวม 477 คน ดำเนินการวิจัย ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558–31 มีนาคม 2561 มีการพัฒนา 3 วงรอบ แต่ละวงรอบ ประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล สะท้อนผล ตามตัวชี้วัด คือ 1) อัตราการวินิจฉัยโรครวดเร็ว ถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง 2) อัตราการเจาะเลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic 3) อัตราการให้ antibiotic ภายใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัย 4) อัตราผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซี ภายใน 1 ชั่วโมง และ 5) อัตราการเสียชีวิตจาก sepsis เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) Care process flow 2) Clinical Practice Guideline (CPG) for sepsis และ 3) Search Out Severity score (SOS score) เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยความถี่ และร้อยละ ผลการศึกษา วงรอบที่ 1 เริ่มจากการทบทวนผู้ป่วยเสียชีวิต และตามรอยกระบวนการดูแล พบสาเหตุที่สำคัญ คือ delay detection, delay diagnosis, delay and inappropriate using of antibiotics และ delay shock-resuscitation จึงร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดและเป้าหมาย ซึ่งพบว่า ไม่ผ่านทุกตัวชี้วัด นำไปสู่การพัฒนา CPG และความรู้และทักษะของผู้เกี่ยวข้อง การสังเกตผลพบว่า ตัวชี้วัดเริ่มดีขึ้น แต่ยังไม่ผ่านตามเป้าหมาย มีการสะท้อนผลว่าการประเมิน SOS score ยุ่งยากและมีการปฏิบัติไม่สม่ำเสมอ นำไปสู่วงรอบที่ 2 มีการพัฒนาแบบประเมิน SOS score ให้ใช้ง่ายและสะดวกขึ้น และบูรณาการเข้ากับการนิเทศทางการพยาบาล การสังเกตผลพบว่า อัตราการวินิจฉัยโรครวดเร็ว ถูกต้องภายใน 1 ชั่วโมง และอัตราผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซี ภายใน 1 ชั่วโมง ยังไม่ผ่านตามเกณฑ์ นำไปสู่วงรอบที่ 3 การออกแบบระบบและกำกับติดตามให้ผู้ป่วยได้รับยา Antibiotic ตามเป้าหมาย โดยปรับการเจาะ hemoculture และให้ Antibiotic เมื่ออยู่ที่ห้องฉุกเฉิน การสังเกตผลตามตัวชี้วัดก่อนและหลังพัฒนา พบว่า บรรลุผลตามเป้าหมายทั้งหมด คือ 1) อัตราการวินิจฉัยโรครวดเร็วและถูกต้อง ภายใน 1 ชั่วโมง 2) อัตราการเจาะเลือดส่งตรวจ hemoculture 2 specimens ก่อนให้ antibiotic 3) อัตราการให้ antibiotic ภายใน 1 ชั่วโมง หลังการวินิจฉัยเพิ่มจากร้อยละ 75.8 เป็นร้อยละ 100 4) อัตราผู้ป่วย septic shock ได้รับสารน้ำเพียงพอ 1,500 ซีซี ภายใน 1 ชั่วโมง เพิ่มจากร้อยละ 68.5 เป็นร้อยละ 100 และ 5) อัตราการเสียชีวิตจาก sepsis ก่อนดำเนินงานมีผู้เสียชีวิตจาก sepsis ร้อยละ 3.1 ลดเหลือร้อยละ 1.3 สรุปการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษา sepsis ทำให้ได้แนวทางการดูแลรักษาตามบริบท และบรรลุผลตามตัวชี้วัด ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตจาก sepsis ลดลง ดังนั้นควรได้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วย พ.ศ. 2559. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2560.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วยตาย 2560. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. สรุปรายงานการป่วยตาย 2561. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข. 2562.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสาเหตุการป่วยตาย. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564] จาก: https://hdcservice. moph.go.th/hdc/reports/.

กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสาเหตุการป่วยตาย. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564] จาก: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main /index.php.

Bone RC, Balk RA, Cerra FB, ..., and Sibbald WJ. Definitions for sepsis and organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. The ACCP/SCCM Consensus Conference Committee. American College of Chest Physicians/Society of Critical Care Medicine. Chest, 1992; 101(6): 1644–1655.

Singer M, Deutschman CS, Seymour CW,…, and Derek C. Angus. The Third International Consensus Definitions for Sepsis and Septic Shock (Sepsis-3). JAMA, 2016; 315(8): 801–810.

ประสิทธิ์ อุพาพรรณ. Sepsis. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [สืบค้นเมื่อ 24 มกราคม 2564] จาก: http://www.med.swu. ac.th/Internalmed/images/documents/ handout/ID/PU/sepsis.pdf.

Rivers E, Nguyen B, Havstad S, …, and Tomlanovich M. Early goal-directed therapy in the treatment of severe sepsis and septic shock. The New England journal of medicine, 2001; 345: 1368-77.

The ARISE Investigators and the ANZICS Clinical Trials Group. Goal-directed Resuscitation for patients with early septic shock. The New England journal of medicine, 2014; 371: 1496-506.

The ProCESS Investigators. A randomized trial of protocol-based care for early septic shock. The New England journal of medicine, 2014; 370: 1683-93.

Mouncey PR, Osborn TM, Power GS, ..., and Kathryn MR. Protocolised Management In Sepsis (ProMISe): a multicentre randomised controlled trial of the clinical effectiveness and cost-effectiveness of early, goal-directed, protocolised resuscitation for emerging septic shock. Health technology assessment, 2015; 19:i-xxv: 1-150.

Yu H, Chi D, Wang S, and Liu B. Effect of early goal-directed therapy on mortality in patients with severe sepsis or septic shock: a meta-analysis of randomized controlled trials. BMJ open, 2016; 6: e008330.

The PRISM Investigators. Early Goal-Directed Therapy for Septic Shock - A Patient-Level Meta-Analysis. The New England journal of medicine, 2017; 376: 2223-34.

Plevin R, and Callcut R. Update in sepsis guidelines: what is really new? Trauma Surg Acute Care Open, 2017; 0: 1-6.

Levy MM, Rhodes A, Phillips GS, ..., and Dellinger RP. Surviving Sepsis Campaign: association between performance metrics and outcomes in a 7.5-year study. Crit Care Med, 2015; 43(1): 3–12.

ชามพูนท รัฐภูมิ และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และ septic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. มปท. 2558.

พรนภา วงศ์ธรรมดี รัชนี นามจันทรา และวารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้ที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอายุรกรรม.วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 2562; 1(1): 33-49.

สมไสว อินทะชุบ ดวงพร โพธิ์ศรี และจิราภรณ์ สุวรรณศรี. ประสิทธิผลการใช้ MEWS (SOS Score) ต่อการเกิด Severe Sepsis and Septic Shock ในผู้ป่วย Sepsis กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลอุดรธานี. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 2560; 25(1): 85-92.

มัณทนา จิระกังวาน ชลิดา จันเทพา และเพ็ญนภา บุบผา. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง (Severe sepsis) ในโรงพยาบาลศรีสะเกษ. วารสารกองการพยาบาล, 2558; 42(3): 9-33.

ภัทรศร นพฤทธิ์ แสงไทย ไตรยวงค์ และจรินทร โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2562; 37(1): 221-230.

สมใจ จันทะวัง. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือดในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่, 2561; 26(1): 35-46.

วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ จิราพร น้อมกุศล รัตนา ทองแจ่ม และธนชัย พนาพุฒิ. การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2557; 32(2): 25-36.

ภาพิมล โกมล รัชนี นามจันทรา และวารินทร์ บินโฮเซ็น. คุณภาพการจัดการดูแลผู้มีกลุ่มอาการติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสิงห์บุรี. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 2560; 6(2): 32-27.

จิรารัชน์ อุนนะนันทน์. การประเมินแนวทางปฏิบัติการรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4, 2557; 16(3): 184-191.

เนตรญา วิโรจวานิช. ประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติทางการพยาบาลการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 2561; 12(1): 84-94.

พรทิพย์ แสงสง่า และนงนุช เคี่ยมการ. ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์ “Sepsis bundles” ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 2558; 29: 403-410.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล. ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 2560; 35(3): 224-31.

กรรณิกา อำพนธ์ ชัชญาภา บุญโยประการ และพัชรินทร์ ศิลป์กิจเจริญ. ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลพระปกเกล้า. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 2560; 34(3): 222-236.

สาธร ธรรมเนียมอินทร์. การพัฒนาแนวทางการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ที่ 10, 2561; 16(2): 58-68.

วรรณดี สุทธินรากร. การวิจัยเชิงปฏิบัติการ: การวิจัยเพื่อเสรีภาพและการสรรค์สร้าง. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์. 2556.