ความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีเกิดอันตรายในการท่องเที่ยวถ้ำ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

เมธาพัชร คําฟั่น
สุเมต บุญสุด
ภคนันท์ คำจันทราช

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีเกิดอันตรายในการท่องเที่ยวถ้ำในระดับจังหวัดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ในจังหวัดนครสวรรค์ ตัวอย่างเป็นนักเรียน จำนวน 27 คน คัดเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบวัดความรู้ ที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 30 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นกรณีเกิดอันตรายในการท่องเที่ยวถ้ำในระดับจังหวัด เฉลี่ย 19 คะแนน มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 4.5 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน) ซึ่งถือได้ว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานความรู้ขั้นต่ำ (18 คะแนน) 2) เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนของนักเรียนรายบุคคล กับคะแนนความรู้ขั้นต่ำที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (18 คะแนน) พบว่า กลุ่มตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 67 และผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 33 ดังนั้นควรมีการบริหารจัดการสาธารณะในการเตรียมตัวรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดอันตรายดังกล่าว ทั้งในระดับนโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่และการเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเองของเด็กและเยาวชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Data travel of Nakhonsawan Province. (2018). The Association of Domestic Travel Situation. Retrieved 17 September 2018, from http://www.domesticthailand.com/show_province.php?

Chitphong, S. (2018). Safety conditions problem effecting international tourists visiting Bangkok in participating in tourism activities. Retrieved 17 September 2018, from

http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1994/1/57602420.pdf

Khongthong, P. & Meesawatdikul, W. (2019). Guidelines of Tourism Safety Management of Hua-Hin, Prachuap Khiri Khan as Tourist Destination for Foreign Tourists. Dusit Thani College Journal, 13(1), 403-414.

Yamepaga, J. (2014). Evident Relation Effect of Crave Travel in Biological travel. Rachaburee: Academic Resource.

Menakhon, J. (2015). Risk Assessment of Tourism Resource Damage Affected by Tourism behaviors in Amphawa Distric, Samut Songkram Province. Bangkok: Suansununtha Rajchapat University.

Yangprasong, P. & Chuyemanee, S. (2016). Ecotourism of Thai tourist The case Visiting Phu Pha Phet Cave, Stun Province. Economics and Public Policy journal, 7(13), 56-69.

Tueanthawon, T., Pinesuwan, K. and Aimpune, P. (2016). Assessment of Disaster Response Plan for Health Sector in Provincial Level. Bangkok: National Institute for Emergency Medicine.

Chaipornpisute, Y. (2014). Action/classroom research of practice of injury on children Assessment of Disaster Response Plan for Health Sector in Provincial Level. Bangkok: National Institute for Emergency Medicine.

The National Speleological Society. (2018). Cave Safely, Cave Softly. Retrieved 17 September 2021, from https://caves.org/webinars/index-8.shtml#BSA