อินเตอร์เน็ตในสรรพสิ่งสำหรับการควบคุมการใช้ไฟฟ้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

Main Article Content

ธีรพงศ์ สงผัด
จุฑามณี รุ้งแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง อินเตอร์เน็ตในสรรพสิ่งสำหรับการควบคุมการใช้ไฟฟ้าผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2) หาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ระบบเซ็นเซอร์ ใช้อุปกรณ์สมองกลฝังตัว (Microcontroller) เชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์วัดกระแสไฟฟ้าและสวิตช์แม่เหล็กไฟฟ้า (Relay) ในการตรวจวัดและควบคุมกระแสไฟฟ้า มีระบบฐานข้อมูลสำหรับการจัดเก็บข้อมูลมีการแสดงรายงานผ่านระบบเว็บแอพลิเคชั่น ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้การตอบแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาและพัฒนาอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  ผลการวิจัย พบว่า ประกอบด้วยสมองกลฝังตัวเชื่อมต่อกับ เซ็นเซอร์วัดกระแสไฟฟ้า และบอร์ดควบคุมการเปิด-ปิด วงจรไฟฟ้าด้วยรีเลย์ ใช้เซ็นเซอร์ ACS712 วัดกระแสไฟฟ้า เพื่อทำการวัดกระแสไฟฟ้า สำหรับส่งข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่ายผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการทำงานของระบบผ่านเว็บไซต์ที่รองรับการทำงานทุกอุปกรณ์ และควบคุมอุปกรณ์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้สั่งงานระบบจะส่งข้อมมูลมายังอุปกรณ์ที่ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้านได้ 2) ผลการหาประสิทธิภาพของอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.41 ซึ่งผลประเมินประสิทธิภาพด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในระบบอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือผลประเมินประสิทธิภาพด้านการทำงานได้ตามฟังก์ชันงานของระบบ ผลประเมินประสิทธิภาพด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ และผลประเมินประสิทธิภาพด้านความต้องการของผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สามารถ ยืนยงพานิช. (2557). ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12: เรื่อง วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ (น.197-203). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อนุพงศ์ แก้วเขียว และเสาวลักษณ์ วรรธนาภา. (2559). ระบบควบคุมไฟฟ้าในห้องพักด้วยบอร์ดรีเลย์แบบเครือข่ายไร้สายโดยใช้ซิกบี. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 12(3), 183-193.

นุชจรินทร์ ศรีสุวรรณ์. (2553). พฤติกรรมการใช้งานและปัจจัยที่มีในการเลือกใช้แอพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน กรณีศึกษา: นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (งานค้นคว้าอิสระ). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ประธาน เนียมน้อย จิตติ คงแก้ว และจตุรงค์ มะโนปลื้ม. (2555). ระบบควบคุมไฟฟ้าไร้สายผ่ายเว็บบราวเซอร์ (ปริญญานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.