ความรู้ ความคิดเห็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 และการตัดสินใจรับวัคซีนของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานนานาชาติ อู่ตะเภา ระยอง-พัทยา จังหวัดระยอง

Main Article Content

อธิวัฒน์ กุลบุตร
ณัฐพล ลาวจันทร์
สุพล วังขุย
อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 2) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 และ 3) ศึกษาการตัดสินใจรับวัคซีนวัคซีนโควิด-19 กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา จังหวัดระยอง จำนวน 205 คน โดยการเลือกแบบโควตา ดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือน มีนาคม ถึง เมษายน พ.ศ. 2564 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสำหรับข้อมูลทั่วไป ความเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ความรู้ ความคิดเห็น และการตัดสินใจรับวัคซีนโควิด-19 โดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 20-30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไป รายได้ 10,000-20,000 บาทต่อเดือน มีโรคประจำตัวร้อยละ 23.41 มีประวัติเสี่ยงต่อโรคโควิด-19 ร้อยละ 23.41 ส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 44.88 มีความคิดเห็นเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 57.56 โดยเจ้าหน้าที่มีความสนใจที่จะฉีดวัคซีน แต่ยังไม่ได้รับการฉีด ร้อยละ 34.63 ไม่คิดจะฉีดและยังไม่แน่ใจ ร้อยละ 30.24 และ 29.27 ตามลำดับเหตุผลส่วนใหญ่คือ ไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของวัคซีน  ร้อยละ 35.48 และยังไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของวัคซีน ร้อยละ 43.33 ผลจากการศึกษานี้จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างความเข้าใจในการรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของบุคลากรต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. สืบค้น 25 เมษายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). สืบค้น 25 เมษายน 2564, https://ddc.moph.go.th

World Health Organization. (2022). Draft landscape of COVID-19 vaccine candidates. Retrieved 22 February 2022, from https://www.who.int/publications/ m/item/draft-landscape of-covid-19-candidate-

World Health Organization. (2021). Coronavirus disease (COVID-19) dashboard. Retrieved 25 April 2021, from: https://covid19.who.int

สำนักงานวิจัยแห่งชาติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). ความก้าวหน้าการให้บริการวัคซีน โควิด-19 (ออนไลน์). สืบค้นจาก: https://covid19.nrct.go.th/ (25 เมษายน 2564).

ปณิตา ครองยุทธ จินดา คำแก้ว ปฐวี สาระติ และวิรินรัตน์ สุขรี. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ในผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(6), 815-822.

ดลนภา สุขประดิษฐ์ และเลิศชัย เจริญธัญรักษ์. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 9-17.

มนัสนันทุ์ ธนวิกรานต์กูล นวรัตน์ สุวรรณผ่อง มธุรสทิพย มงคลกุล และนพพร โหวธีระกุล. (2558). การยอมรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งกรุงเทพมหานคร. วชิรสารการพยาบาล, 17(2), 15-30.

ไพรัชฌ์ สงคราม จักรสันต์ เลยหยุด พรรณิภา ไชยรัตน์ มิ่งขวัญ ภูหงส์ทอง ชัญญรัชต์ นกศักดา และวิราสินี สีสงคราม. (2564). ความต้องการวัคซีนโควิด-19 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมของบุคลากรสาธารณสุขในการบริการวัคซีนโควิด-19 จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(2), 199-207.

พีรวัฒน์ ตระกูลทวีสุข. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้ารับวัคซีนโควิด-19 และข้อกังวลในบุคลากรทางการแพทย์. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 47-57.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง. (2563). การสำรวจเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19 ที่มีโอกาสสัมผัสผู้ป่วยในกลุ่มเป้าหมายสำหรับลงทะเบียนรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 (เอกสารอัดสำเนา). ระยอง: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง.

Bloom, BS. (1986). Learning for Mastery. Evaluation comment. Center for the Study of Instruction Program. Los Angeles: University of California.

Likert, RA. (1961). New Patterns of Management. New York: McGraw-Hill Book Company Inc.

Best, JW. & Kahn, JV. (1997). Research in Education. (7th ed). Boston: Allyn and Bacon.

Cronbach, LJ. (1984). Essential of Psychology and Education. New York: Mc–Graw.