สภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกระเทียมดำต่อคุณสมบัติทางกายภาพ และเคมีของผลิตภัณฑ์กระเทียมดำ

Main Article Content

จิรายุ มุสิกา
ธนวรรณ มุสิกา
พนารัตน์ สังข์อินทร์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตกระเทียมดำ โดยใช้กระเทียมกลีบและกระเทียมโทนที่ปลูกในตำบลคอนกาม อำเภอยางชุมน้อย จังหวัดศรีสะเกษ และศึกษาสภาวะการบ่มระยะเวลา 15 วัน คือ สภาวะที่ 1 ห่อกระเทียมด้วยกระดาษไขและอลูมิเนียมฟอยล์ทีละหัว (A), สภาวะที่ 2 ห่อกระเทียมด้วยอลูมิเนียมฟอยล์และห่อทับด้วยผ้าขาวบาง (B) บ่มกระเทียมในตู้อบลมร้อนที่ 65 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 วัน พบว่ากระเทียมโทนสภาวะที่ 1 (A) สีเนื้อกระเทียมเปลี่ยนเป็นสีดำ และเนื้อสัมผัสมีนุ่มคล้ายเจลลี่ และได้ค่าร้อยละผลผลิตสูงสุดเท่ากับร้อยละ 40 ซึ่งมีค่ามากกว่าตัวอย่างอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ในการทดสอบการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และการทดสอบด้านประสาทสัมผัสของกระเทียมดำ พบว่าแต่ละตัวอย่างของกระเทียมดำมีค่าสีที่ใกล้เคียงกัน ส่วนปริมาณร้อยละของไขมัน โปรตีนและคาร์โบไฮเดรต รวมถึงปริมาณสารต้านอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS พบว่ากระเทียมดำที่ผลิตจากกระเทียมโทนในสภาวะที่ 1 (A) มีค่าสูงสุด ผลการทดสอบแบบวิธีการเรียงลำดับความชอบ (ranking test) โดยให้ผู้ทดสอบที่ยังไม่ผ่านการฝึกฝน ก็ยังพบว่ากระเทียมดำที่ผลิตจากกระเทียมโทนสภาวะที่ 1 (A) ได้รับคะแนนการเรียงลำดับความชอบมาเป็นอันดับ 1 ดังนั้น กระเทียมโทนที่ถูกห่อด้วยกระดาษไขและอลูมิเนียมฟอยล์ทีละหัว จึงเป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการดำมาผลิตเป็นกระเทียมดำและควรค่าต่อการศึกษาความชอบและการยอมรับผู้บริโภคในอนาคตต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร. (2565). กระเทียม. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้น 15 มกราคม 2563, จาก http://www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/allium.html

อรัญญา มานุจำ มลฤดี อย่างบุญ พัฒนชัย สายคูณ ปิลันธนา ชมชื่นชู วิภาพร บุญทะลา นฤทธิ์ วาดเขียน และกรุณรัตน์ สกุลนามรัตน์. (2560). คุณสมบัติเคมีและกายภาพของกระเทียมดำศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017 เรื่อง วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (น. A401-408). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

พิมพ์วิภา ศูนย์ผล กฤษณะ พอกเพียร อรพรรณ ตินานพ จิระภา ทองลาย นุจรี สอนสะอาด และกรุณรัตน์ สกุลนามรัตน. (2560). สารประกอบฟีนอลและคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของกระเทียมดำศรีสะเกษและจีน. การประชุมวิชาการระดับชาติ นวัตกรรมและเทคโนโลยีวิชาการ 2017 เรื่อง วิจัยจากองค์ความรู้สู่การพัฒนาอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน (น. A417-425). สุรินทร์: มหาวิทยาลัยโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.

จันเพ็ญ บางสำรวจ. (2553). กระเทียมกับการต้านอนุมูลอิสระ. วารสาร มฉก.วิชาการ, 14(27), 113-122.

Yuan, H., Sun, L., Chen, M., and Wang, J. (2018). An analysis of the changes on intermediate products during the thermal processing of black garlic. Food chemistry, 239, 56–61.

Association of Official Analytical Chemists (AOAC). (2016). Official methods of analysis of the association of official analytical chemists. Washington D.C.: USA.

Compendium of method for food analysis. (2003). Compendium of methods for food analysis. Department of Medical Sciences (DMSc) and The National Bureau of Agriculture Commodity and Food Standards (ACFS).

ชุติมา แก้วพิบูลย์ และณวงศ์ บุนนาค. (2563). การประเมินฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของกระเทียมโทนดำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 29(1), 111-118.

เพ็ญขวัญ ชมปรีดา. (2550). การประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสและการยอมรับของผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อิศรพงศ์ พงษ์ศิริกุล. (2544). การวิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร. เชียงใหม่: ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รัตนันท์ พรรณนารุโณทัย. (2543). บทบาทของ Water activity ในอุตสาหกรรมอาหาร. วารสารจาร์พา, 56(7), 57-61.

Li, FM., Li, T., Li, W., and Yang, LD. (2015). Changes in antioxidant capacity, levels of soluble sugar, total polyphenol, oraganosulfer compound and constituents in garlic clove during storage. Industrial Crops and Products, 69, 137-142.