การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

ภิราภรณ์ บุตรซอ
อรยา อินต๊ะขิล
เนตรดาว โทธรัตน์
พิมาย วงค์ทา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ วัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการทดลองใช้ระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มลูกค้าทั่วไป จำนวน 30 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการพัฒนาระบบฯ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบตามขั้นตอน SDLC (System Development Life Cycle) และใช้ MySQLในการจัดการฐานข้อมูล ผลการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อจัดจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มผลิตหมวกยางพารา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง พบว่าเป็นระบบสารสนเทศที่ทำงานอยู่บนเว็บไซต์ ประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่ 1) ผู้ดูแลระบบ จัดการข้อมูลระบบหลังร้าน คือข้อมูลสินค้า ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อของลูกค้า การจัดส่งสินค้า 2) ผู้ใช้ทั่วไปหรือลูกค้า สามารถดูรายลเอียดสินค้าและสั่งซื้อสินค้า ผลการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่าความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (𝑥̅=4.60, S.D. = 0.06)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เพชรา บุดสีทา. (2564). การพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายโดยใช้การตลาดดิจิทัลเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับผลิตภัณฑ์วิสาหกิจชุมชน ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 8(2), 48-59.

แสงเพ็ชร พระฉาย ศรายุทธ เนียนกระโทก สุระ วรรณแสง และประภานุช ถีสูงเนิน. (2562). การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อสนับสนุนรูปแบบเทคโนโลยีดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 5(1), 88-100.

พัชราภรณ์ หงส์สิบสอง. (2565). ระบบสารสนเทศเพื่อกาจัดการข้อมูลวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอ จังหวัดน่าน. Journal of Information and Learning, 33(2), 98-107.

สมทบ แก้วเชื้อ บัณฑิต ผังนิรันดร์ และธนพล ก่อฐานะ. (2565). ปัจจัยความสำเร็จของผู้ประกอบการธุรกิจออนไลน์ในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม, 15(2), 33-44.

พรรณ์ธิกา เหล่าพวงศักดิ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจชุมชนในพื้นที่ภาคตะวันตก (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

John, BW. (1997). Research in Education. Boston MA.: Allyn and Bacon.

บุษราภาณ์ มหัทธนชัย. (2555). วิจัยเรื่องการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์ OTOP ของตำบลสะลวง อำเภอ แม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 13(1), 41-49.

ชุติมา นิ่มนวล. (2560). การพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนของจังหวัดพรนครศรีอยุธยา. วารสารราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 19(2), 58-64.

ประทินร์ ขันทอง และธนากร ธนาธารชูโชติ. (2562). รูปแบบการตลาดธุรกิจสินค้าออนไลน์ในประเทศไทย. วารสาร มจร พุทธปัญญาทริทรรศน์, 4(2), 45-56.

ชัยนันท์ ปัญญาวุทโส และ สันติพงศ์ ตั้งธรรมกุล. (2559). การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสำหรับผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) จังหวัดสงขลา กรณีศึกษา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสุชาวดี (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

สุขสวรรค์ คำวงศ์ และเมตตา ตาละลักษณ์. (2557). การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(3), 305-311.

ชุติมา นิ่มนวล. (2562). การปฏิบัติการวิจัยอย่างมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาช่องทางจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 37(1), 67-77.