ระบบจัดเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีน

Main Article Content

ธีรพงศ์ สงผัด
รุ้งจิตรา ม่วงศรี
ธิดารัตน์ คำจันทร์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีนในโรงพยาบาล และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีน ผู้วิจัยได้เริ่มจากการศึกษาการทำงานของระบบเดิมของตู้เก็บวัคซีนและได้ค้นคว้ารวบรวมทฤษฎี สอบถามผู้เชี่ยวชาญและหลักการจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเพื่อนำข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ มาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา เพื่อให้ผู้ใช้งานได้ง่าย ออกแบบการใช้งานด้วยการควบคุมและการรับส่งข้อมูลผ่านเว็บเบราเซอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินงานตามขั้นตอนที่ออกแบบและพัฒนาไว้และได้ทำการทดสอบการใช้งานของระบบซึ่งระบบมีความสามารถในการรับและส่งข้อมูลระหว่างการทำงานของอุปกรณ์ควบคุมและเว็บเบราเซอร์ และพัฒนาระบบโดยมีองค์ประกอบหลัก 2 ส่วน ประกอบด้วยส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยส่วนของฮาร์ดแวร์จะใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นส่วนที่ใช้บริหารจัดการระบบแจ้งเตือน และในส่วนของซอฟต์แวร์โดยใช้โปรแกรม Visual Studio Code เขียนชุดคำสั่งขึ้นมา โดยใช้โปรแกรมเอ็กซ์เอเอ็มพีพี จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์เป็น  เว็บเซพเวอร์ และภาษาที่ใช้เขียนคือ พีเอชพี จาวาสคริปต์ และระบบจัดการฐานข้อมูลมายเอสคิวแอล ผลการวิจัยพบว่า 1) ระบบสามารถแจ้งเตือนผ่านเสียง เมื่ออุณหภูมิตู้เก็บวัคซีนมีปัญหา บันทึกข้อมูลอุณหูมิ   ตู้เก็บวัคซีนลงฐานข้อมูลได้ ทุก ๆ 30 วินาที  แสดงข้อมูลผ่านหน้าจอตามเวลาจริงได้และจัดการบริหารผู้ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลได้ และ  2) ระบบจัดเก็บข้อมูลและแจ้งเตือนอุณหภูมิตู้เก็บวัคซีน มีผลประเมินประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม 4.92

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ศศิประภา ชิตรัตถา. (2561). ความคงสภาพของยา (Drug stability). สืบค้น 3 ธันวาคม 2565, จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/.

พอพิศ วรินทร์เสถียร. (2559). การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นของคลังวัคซีนระดับอำเภอในประเทศไทย ปี 2558. วารสารควบคุมโรค, 42(3), 194-207.

สามารถ ยืนยงพานิช. (2557). ระบบควบคุมการเปิด-ปิดไฟ ผ่านเว็บเบราว์เซอร์. การประชุมวิชาการระดับชาติ นเรศวรวิจัย ครั้งที่ 12 เรื่อง วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ (น.197-203). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

เอกพันธุ์ คำปัญโญ. (2552). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ Systems analysis and design. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.

พนิตา พงษ์ไพบูลย์ เอมอัชนา นิรันตสุขรัตน์ และกุลชาติ มีทรัพย์หลาก. (2558). แพลตฟอร์มอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ฐานรากสำคัญสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัล. สืบค้น 3 ธันวาคม 2565, จาก https://btfp.nbtc.go.th/portfolio/2558/1185.aspx.

ชํานิ ใจประดิษฐ์ธรรม และวัลลภ เรืองด้วยธรรม. (2547). เครื่องมือตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นแบบพกพาเพื่อประหยัดพลังงานไฟฟ้า. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 42 สาขาวิศวกรรมศาสตร์ (น.231-238). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรวนา รัตนชูโชค. (2562). การพัฒนาระบบตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยใช้ IoT เพื่อติดตามคุณภาพน้ำผ่านแอปพลิเคชัน. วารสาร ศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11, 78-92.