ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวาน ที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้

Main Article Content

ธนพร แก้วเนตร

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลโพธิ์ไทร อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี จำแนกเป็น กลุ่มทดลองจำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ และแบบสอบถาม ระยะเวลาในการวิจัย 12 สัปดาห์ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ค่าดรรชนีความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์และคำถาม (IOC) เท่ากับ 0.94 ความเชื่อมั่นของตัวแปร (Reliability) ด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟา ของ Cronbrach’s Alpha Coeffiicient เท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณณาได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ Independent t–test อนุมานใช้ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าของคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน พฤติกรรมของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ สูงกว่ากลุ่มควบคุม และระดับน้ำตาลในเลือดลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ P-value < .05  (95%CI 3.16 - 7.84, 6.33 - 10.36, 1.69 – 6.56 ตามลำดับ) สรุปได้ว่า โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ ทำให้ระดับคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวานและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยดีขึ้นส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง จึงควรนําโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพนี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้สุขศึกษากับผู้ป่วยคนอื่น ๆ เช่น การจัดโปรแกรมสุขศึกษาในกิจกรรมการให้บริการในสถานบริการเพื่อเป็นการให้ความรู้ การให้สื่อสารในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมเพื่อเป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

World Health Organization. (2022). World health statistics 2019: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. Retrieved 10 May 2022, from https://apps.who.int/iris /bitstream/ handle/10665/ 324835/978924

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ตามนโยบาย กรมควบคุมโรค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: กองแผนงาน กรมควบคุมโรค.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). สถานการณ์โรคใบไม้ตับจังหวัดอุบลราชธานี ปี พ.ศ. 2563. อุบลราชธานี: กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

Grey, M., Schuman-Green, D., Knafl, K., and Reynolds, NR. (2015). The revised self-and family management Framework. Nursing Outlook, 63(2), 162-70.

UCSF. Clinical & Translational Science Institute. (2021). Sample Size Calculaters. Retrieved 10 May 2022, from https://www.sample-size.net

Best, JW. & Kahn, JV. (2006). Research in Education. 10th Edition, Pearson Education Inc., Cape Town.

Cronbach, LJ. (1984). Essential of psychology testing. New York: Harper.

แสงอรุณ สุรวงศ์. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของบุคคลและครอบครัวต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 16(1), 104-116.

ญณัช บัวศรี. (2561). ผลของโปรแกรมการจดัการตนเองและครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.

Jalilian, F., Motlagh, FZ., Solhi, M., and Gharibnavaz, H. (2014). Effectiveness of self-management promotion educational program among diabetic patients based on health belief model. Journal of Education and Health Promotion, 22(3), 98-116.

Aklima, A., Charuwan, K., and Ploenpit, T. (2012). Development of family-base dietary self-management support program on dietary behaviors in patients with type 2 diabetes mellitus in Indonesia: A literature review. Nurse Media Journal of Nursing, 2(2), 357 - 370