การวางแผนความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม โดยประยุกต์ใช้วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสม กรณีศึกษา : ศูนย์กระจายสินค้าเครื่องดื่ม

Main Article Content

กนกกาญจน์ จิรศิริเลิศ
พิศาล สมบัติวงค์
ณัฐวุฒิ พลศรี

บทคัดย่อ

บทความนี้ศึกษาและประยุกต์ใช้วิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสม สำหรับการวางแผนความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำดื่ม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสม ของกรณีศึกษาศูนย์กระจายสินค้าเครื่องดื่ม  โดยประยุกต์ใช้วิธีการพยากรณ์แบบถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) และวิธีการพยากรณ์แบบปรับเรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียล (Single Exponential Smoothing) เพื่อพยากรณ์ความต้องการที่เหมาะสมของสินค้าเครื่องดื่ม จากผลการศึกษาพบว่าวิธีการพยากรณ์แบบถัวเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) โดยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบ 5 เดือน เป็นวิธีการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดเพื่อวางแผนความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำดื่มของกรณีศึกษา โดยให้ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAD) ที่น้อยที่สุดเท่ากับ 11,419 และค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ของความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (MAPE) ที่น้อยที่สุดเท่ากับ 0.60 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกาญจน์ มูลผาลา และเรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย. (2557). การศึกษาเทคนิคการพยากรณ์ยอดขายสินค้าอุปโภคที่เหมาะสมของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 3(1), 12-21.

ลักขณา ฤกษ์เกษม. (2558). การพยากรณ์ความต้องการสินค้า สำหรับการวางแผนการผลิต กรณีศึกษาการผลิตชุดสะอาด. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 28(3), 290-304.

ฉมาธร กุยศรีกุล นิธิศ ปุณธนกรภัทร์ และวุฒิกรณ์ จริยตันติเวทย์. (2561). การพยากรณ์การสั่งซื้อ กรณีศึกษาร้านค้าปลีก AAA. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, 18(2), 26-34.

ธีระพงษ์ ทับพร ยอดนภา เกษเมือง เอกพล ทับพร และภชรดิษฐ์ แปงจิตต์. (2561). การพยากรณ์ยอดขายและการบริหารสินค้าคงคลัง ของสินค้าคางหมึกยักษ์แช่แข็ง: บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด มหาชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 2(2), 28-41.

สรนันท์ ทัพนันท์ และสุภาวดี สายสนิท. (2562). การพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบสำหรับวางแผนการผลิตป็อปคอร์น กรณีศึกษา โรงภาพยนตร์ ABC. การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 และการประชุมระดับนานาชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 1, 26 – 28 มิถุนายน 2562. กรุงเทพมหานคร: โรงแรมรอยัลริเวอร์.

กิตติเทพ ไชยเทพ และไชยรัช เมฆแก้ว. (2566). การพยากรณ์การปริมาณส่งออกตู้คอนเทนเนอร์ไปประเทศอินโดนีเซีย ช่วงสถานการณ์โควิด-19 กรณีศึกษา: บริษัทเฟรทฟอเวิดเดอร์แห่งหนึ่ง. Journal of Digital Business and Social Science, 9(1), 1-18.

ชุมพล ศฤงคารศิริ. (2535). การวางแผนและควบคุมการผลิต. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2560). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครพนม. Naresuan University Journal: Science and Technology, 25(4), 124-137.