การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร

Main Article Content

กฤษณา ชูเสน
กมลรัตน์ ลุนพิลา
อนุชธิดา ชาลี

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคปอดอักเสบชุมชนในผู้ใหญ่ ผู้ร่วมวิจัยมี 2 กลุ่ม คือ ผู้พัฒนารูปแบบ 19 คน เลือกแบบเจาะจง และผู้ประเมินรูปแบบเลือกทุกคนที่เข้าตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น ผู้ปฏิบัติ 31 คนและเวชระเบียนผู้ป่วย 144 คน ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 15 กันยายน – 31 ธันวาคม 2566 การพัฒนามี 2 วงรอบ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ สังเกตการณ์ และการสะท้อนผล รวบรวมข้อมูลโดยศึกษาเอกสาร แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นสำคัญ


            ผลการวิเคราะห์สถานการณ์พบว่าแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่มียังไม่ได้นำลงสู่การปฏิบัติ ทำให้มีความหลากหลายในการดูแลผู้ป่วย เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะระบบหายใจล้มเหลวในอัตราสูงและมีผู้ป่วยเสียชีวิต นำไปสู่การจัดตั้งทีมพัฒนาแนวทางการดูแล โดยร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพทบทวนและปรับแนวทางการดูแลผู้ป่วย จัดประชุมชี้แจงทำความเข้าใจแนวทางที่พัฒนาขึ้น และกำกับติดตามการปฏิบัติตามแนวทาง ผลของการพัฒนาพบว่าทุกตัวชี้วัดผ่านตามเกณฑ์ โดยผู้ปฏิบัติมีความคิดเห็นและความพึงพอใจต่อแนวทางการดูแลผู้ป่วยในระดับมากที่สุด การปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยเพิ่มขึ้น อัตราการติดเชื้อในกระแสเลือดและภาวะระบบทางเดินหายใจล้มเหลวลดลง อัตราการส่งต่อผู้ป่วยเป็นไปตามเกณฑ์ และไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต ทั้งนี้สรุปรูปแบบเป็น 6Cs คือ (1) การตั้งทีมพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วย (Core team) (2) ทบทวนและปรับปรุงแนวทางการดูแลผู้ป่วย (CPG) (3) การพัฒนาสมรรถนะบุคลากร (Competency) (4) สื่อสารกับผู้เกี่ยวข้อง (Communication) (5) การกำกับการปฏิบัติตามแนวทางและตัวชี้วัด (Check) และ (6) ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง (Continuous) สรุปได้ว่ารูปแบบการดูแลที่พัฒนาขึ้นส่งผลให้ผลลัพธ์ต่อผู้ป่วยดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง

Aujesky, D., Auble, TE., Yealy, DM., et al. (2005). Prospective comparison of three validated prediction rules for prognosis in community-acquired pneumonia. Am J Med, 118(4), 384-92.

Best, J. (1970). Research in education. New Jersy: Printice-Hall.

Charles, PG., Wolfe, R., Whitby, M., et al. (2008). SMARTCOP: a tool for predicting the need for intensive respiratory or vasopressor support in community acquired pneumonia. Clin Infect Dis, 47, 375-8.

Fally, M., Von Plessen, C., Anhøj, J., et al. (2020). Improved treatment of community-acquired pneumonia through tailored interventions: Results from a controlled, multicentre quality improvement project. PLoS One, 15(6), e0234308.

Garcia-Vidal, C., Fernandez-Sabe, N., Carratala, J., et al. (2008). Early mortality in patients with community acquired pneumonia; cause and risk factors. Eur Respir J, 32, 733-9.

Kemmis, S., & McTaggart R. (1988). The action research planner (3rded.). Victoria: Deakin University Press.

Klaipim, C. (2020). Risk factors of early mortality in community acquired pneumonia in Chaophya abhaibhubejhr hospital. Thai J Tuberc Chest Dis Crit Care, 39(3), 92-9. (In Thai)

Levy, PS., & Lemshow, S. (2013). Sampling of population: Methods and applications. (4thed.) New York: John Wiley & Sons.

Limsirichaiyaku, J. (2010). The Effectiveness of antibacterial treatment in referred septicemia patients at Sawanpracharak hospital. Sawanpracharak Medical Journal, 7(2), 151-63. (In Thai)

Montull, B., Menéndez, R., Torres, A., et al. (2016). Predictors of Severe Sepsis among Patients Hospitalized for Community-Acquired Pneumonia. PLOS ONE, 11(1), e0145929.

Prombutr, R., Payarang, J., & Nawasamut, W. (2020). Effectiveness of caring practice guidelines in traumas to reduce risk of bleeding due to abdominal trauma. Journal of Health Research and Innovation, 3(1), 46-58. (In Thai)

Putsa, B., Prommasaka Na Sakonnakhon, N., & Kaewkerd, O. (2022). Development of a care model for severe pneumonia in adults by the FASTHUG and SAR assessment in the respiratory intensive care unit, Sakon nakhon hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 25(3), 85-98. (In Thai)

Seanpook, W., Srisong, S., & Sansuriwong, P. (2020). The Development of the care model for children with pneumonia. Journal of Nursing Division, 47(1), 153-172. (In Thai)

Thoracic Society of Thailand under Royal Patronage. (2001). Thai guidelines for the management of adults with community-acquired pneumonia. Bangkok: SD printing. (In Thai)

บุคลานุกรม

พยาบาล ก (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤษณา ชูเสน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 และ 14 ธันวาคม 2566.

พยาบาล ข (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤษณา ชูเสน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 และ 14 ธันวาคม 2566.

นายแพทย์ ก (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤษณา ชูเสน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566.

นายแพทย์ ค (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤษณา ชูเสน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566.

พยาบาล ง (ผู้ให้สัมภาษณ์). กฤษณา ชูเสน (ผู้สัมภาษณ์). ที่ โรงพยาบาลค้อวัง อำเภอค้อวัง จังหวัดยโสธร 35160. เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2566.