ผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสร้างสุขภาพจิต ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน

Main Article Content

ปราณี ศรีบุญเรือง
จุฑามาศ แก้วจันดี
วัณยรัตน์ คุณาพันธ์
อธิวัฒน์ สายทอง
เมธาวุฒิ พงษ์ธนู
ธรรญญพร เพ็งสีแสง
วารี นันทสิงห์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานี ที่พบอัตราภาวะน้ำหนักเกินสูงสุดของจังหวัด และมีภาวะน้ำหนักเกิน (ดัชนีมวลกาย ≥ 23 kg/m2) เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดศรีสะเกษ ที่พบอัตราภาวะน้ำหนักเกินสูงสุดของจังหวัด และมีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิต เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการทดลองจากแบบประเมินดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย เปอร์เซ็นต์มวลกล้ามเนื้อ และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร กิจกรรมทางกาย และภาวะซึมเศร้า (9Q) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติอนุมานใช้ Independent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนหลังการทดลองพบว่า กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันในร่างกาย และภาวะซึมเศร้า ต่ำกว่ากลุ่มควบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 และเปอร์เซ็นต์มวลกล้ามเนื้อ ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย การปฏิบัติตัวเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร และกิจกรรมทางกาย สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value <0.05 ดังนั้นจึงควรนำโปรแกรมการบริโภคอาหาร กิจกรรมทางกาย และการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะน้ำหนักเกิน นี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมกับกลุ่มที่มีภาวะน้ำเกินกลุ่มอื่นในพื้นที่อื่น ๆ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ayanan, P., Chomchuen, T., & Tangkawanic, T. (2016). Factors Related Obesity Behavior of Senior High School Students in Muang District, Chiang Rai Province. Journal of Health Research and Development Nakhon Ratchasima Public Health Provincial Office, 7(1), 75-89. (In Thai)

Best, JW., & Kahn, JV. (1997). Research in Education. 8th Edition. Boston: Allyn & Bacon.

Bloom, BS. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Bureau of Nutrition, Department of Health. (2019). Obesity and overweight in Thailand [Online]. Retrieved August 1, 2023, from: https://nutrition2.anamai.moph.go.th/web-upload/6x22caac0452648c8dd1f534819ba2 f16c/202205/m_news/37262/209779/file_download/3796cd9543ac569b6087a749b1c8a3ae.pdf

Daniel, TM. (2006) History of Mental Health. Respiratory Medicine, 100, 1862-1870.

Department of Disease Control. (2020). Know Your Numbers & Know Your Risks [Online]. Retrieved July 11, 2023, from: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/ 1064820201022081932.pdf

Department of Health. (2020a). Manual for controlling and preventing overnutrition. 4th Edition. Nonthaburi: Military Welfare Organization. (In Thai)

Department of Health. (2020b). 3A2S: Disease prevention code [Online]. Retrieved July 9, 2023, from: https://multimedia.anamai.moph.go.th/ infographics/info_190-protect/

Department of Mental Health. (2020). Depression assessment form 9 questions (9Q) [Online]. Retrieved July 9, 2023, from: https://dmh.go.th/test/download/files/2Q%209Q%208Q%20(1).pdf

Jugsingto, C., (2017). Effectiveness of health behavior modification program in high risk group for diabetes hypertension and obesity. Master of Public Health Thesis. Chachoengsao: Rajabhat Rajanagarindra University. (In Thai)

Khunwichit, P. (2016). Factors influencing obesity risk behavior in school-age children. Prachinburi Province. Nakhon Pathom: Mahidol University (In Thai)

Panidchakul, K., & Samranbua, A. (2013). An application of transtheoretical model to promote exercise. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima, 19(1), 66-75. (In Thai)

Regional Health Promotion Center 10. (2023). Thai School Lunch Program on Nutritional Status of School-Aged Children: Case Study of Anuban Ubon Ratchathani [IOnline]. Retrieved July 11, 2023, from: https://hpc10.anamai.moph.go.th/th/dbresearch-hpc10/download?id=107527&mid=37940&mkey= mdocument &lang=th&did=40094

Saad, MF., Cheah, WL., & Hazmi, H. (2021). The effects of a 7000-step goal and weekly group walking program for overweight and obese elderly people in Sarawak, Malaysia: a quasi-experimental study. Journal of Preventive Medicine and Public Health, 54(3), 199.

Srithanya, S. (2018). The effects of a planned behavior program on the eating behavior and physical activity behavior of late primary school-aged children. Master thesis (Master of Nursing Science). Bangkok: Faculty of Nursing, Thammasat University. (In Thai)

Suksai, P., & Jaruchart, T. (2022). Knowledge, Attitude, and Health Behaviors and Obesity of Students in Muang District, Phitsanulok Province. Christian University Journal, 28(3), 20-35. (In Thai)

Suksong, N. (2022). The effects of a walking physical activity enhancement program on self-efficacy, physical activity and physical fitness in overweight students. Master thesis (Master of Science). Faculty of Physical Education, Srinakharinwirot University. (In Thai)

Thungtong, S., & Khanom, S. (2021). The Effectiveness of a Health Behavior Modification Program on Risk Factor Reduction in Patients with Chronic Non-Communicable Diseases Attending at Tambon Health Promotion Hospital in the Southern Thailand. Journal of Health Sciences and Pedagogy, 1(2), 1-15. (In Thai)

University of California San Francisco. (2021). Sample Size Calculators for designing clinical research [Online]. Retrieved September 10, 2023; Available from: https://sample-size.net/

World Health Organization. (2021). Obesity and overweight [Online]. Retrieved August 1, 2023, from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight