การใช้แก๊สเมทิลโบรไมด์รมแปลงเพาะกล้ายาสูบ

Authors

  • ประพัฒน์ สิทธิสังข์ สถานีทดลองส่วนไร่ โรงงานยาสูบ แม่โจ้ เชียงใหม่
  • มานพ แก้วกำเนิด สถานีทดลองส่วนไร่ โรงงานยาสูบ แม่โจ้ เชียงใหม่

Abstract

ศัตรูปัจจุบันที่สำคัญจัดตามลำดับคือ วัชพืช, โรค, แมลง, ไส้เดือนฝอย การใช้แก๊สเมทิล-โบรไมด์กับแปลงเพาะนิยมกันมากในสหรัฐอเมริกาเพราะให้ผลดีต่อการกำจัดศัตรูกล้ายาสูบทั้ง 4 ชนิด ดังกล่าว ยานี้เริ่มใช้ในฝรั่งเศสราวปี 2475 ใช้รมฆ่าแมลง ส่วนสหรัฐอเมริกานั้นรู้จักใช้กับแปลงเพาะยาสูบราวปี พ.ศ. 2487 เมืองไทยเริ่มใช้กับแปลงเพาะยาสูบปี 2500 ชีวัน ณรงคะชวนะได้เขียนเรื่องการใช้แก๊สนี้ก่อนผู้อื่น คือเมื่อปี 2497 ดร. เอียน ขัมพานนท์ เป็นผู้สั่งมาใช้กับแปลงเพาะยาสูบเมื่อปี 2500 ก่อนจะมีการใช้อย่างกว้างขวางทางสถานีทดลองยาสูบได้ทำการศึกษาหาวิธีใช้ที่เหมาะสมสภาพการเพาะยาสูบในบ้านเราเพราะเป็นยาอันตรายและผู้ใช้ยังไม่คุ้นเคยกับยานี้ พนักงานกีฏวิทยาและผู้บ่มอิสระหลายนายได้ช่วยกันปรับปรุงวิธีการใช้จนได้ผลเป็นที่พอใจแต่อย่างไรก็ตามการใช้ยานี้ในบ้านเรายังมีอุปสรรคอยู่บ้างหลายประการ อาทิเช่น : 1. ลักษณะแปลงเพาะยาสูบมาตรฐาน 111 ม. ยังขัดกับการใช้ยานี้เพราะขนาดแปลงเล็กไปทำให้การลงทุนแพงขึ้น เช่นต้องขุดดินรอบแปลงมากกว่า 2. จำนวนแปลงเพาะที่จะต้องรมแก๊สมากมายหลายแห่งสถานีเดียวมีถึง 2,000 แปลง 3. วัชพืชในบ้านเราบางชนิดไม่ตาย 4. ประเทศเราไม่ได้ผลิตยาเมทิลโบรไมด์เองยานี้เมื่อเก็บไว้นานในกระป๋องเหล็กยามักเสื่อมคุณภาพไม่มีผลดีเท่าที่ควร 5. การให้น้ำกล้ายาสูบโดยนำน้ำจากที่ๆไหลผ่านป่าหญ้า, โรคมรดกกล้าอีก 6. ราคายายังแพงไป เพราะขนาดบรรจุเล็กไปและต้องสั่งจากต่างประเทศ 7. ผ้าคลุมปลาสติคมีขนาดไม่พอเหมาะกับแปลงมาตรฐาน 8. ถ้ามุ่งแต่กำจัดวัชพืชอาจได้ผลดีเฉพาะวัชพืชบางชนิด ไส้เดือนฝอยและโรคได้ผลน้อยเกินไป 9. แก๊สนี้รั่วไหลง่ายต้องระมัดระวังขณะใช้อยู่มาก ถ้าผ้าปลาสติคที่ใช้คลุมมีรูรั่วไม่ได้ผล

Downloads

Published

1963-01-01

How to Cite

สิทธิสังข์ ประพัฒน์, and แก้วกำเนิด มานพ. 1963. “การใช้แก๊สเมทิลโบรไมด์รมแปลงเพาะกล้ายาสูบ”. Agriculture and Natural Resources 3 (1). Bangkok, Thailand:1-6. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240096.

Issue

Section

Research Article