จำนวนบักทีเรียของปลาทูสดระหว่างการขนถ่าย

Authors

  • ประเสริฐ สายสิทธิ์ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

ความสัมพันธ์ระหว่างปลาที่มีชีวิตกับบักทีเรียนั้นพบว่ามีมาแต่ตามธรรมชาติ ปลาบางอย่างเลี้ยงเชื้อบักทีเรียไว้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง เช่น ปลาที่อาศัยอยู่ในท้องทะเลลึก (3) บนผิวหนังจะมีรอยสำหรับเป็นที่อาศัยของ Iuminous bacteria ฉะนั้น ขณะที่ปลาว่ายไปมาจะเกิดมีแสงเรือง ซึ่งมองเห็นได้ในที่มืด ประโยชน์ของแสงเรืองบนตัวปลาเหล่านี้ยังไม่มีใครทราบแน่นอน แต่จะบอกได้ว่าลักษณะของจุลกำเนิดแสงบนตัวปลา แต่ละชนิดนั้นแตกต่างกัน และปลาเกือบทุกชนิดที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกนั้นมีแสงสว่างอยู่บนตัว สำหรับปลาที่อาศัยอยู่ในที่ตื้นขึ้นมาความต้องการที่จะสร้างแสงสว่างก็หมดไป เพราะอาศัยแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ แต่บักทีเรียก็ยังคงพบมีอยู่กับปลาเช่นเดิม แต่แทนที่จะเรืองแสงได้อย่างที่พบอยู่บนตัวปลาน้ำลึกก็เป็นแต่เพียงบักทีเรียธรรมดา ประโยชน์ของบักทีเรียพวกหลังนี้ยังไม่มีใครทราบแน่นอน จากการค้นคว้าของนักวิทยาศาสตร์พบแต่เพียงว่า ชนิดของบักทีเรียที่อาศัยอยู่เป็นส่วนมากบนตัวปลานั้น แตกต่างกันออกไปตามแต่ชนิดและแหล่งที่อาศัยของปลา เช่น ปลาคอด พบมีชนิดของบักทีเรียอาศัยอยู่ด้วยดังนี้ Arctic North Sea Pseudomonas 40% 10% Micrococcus 5% 30% Achromobacter 50% 50%

Downloads

Published

1963-12-01

How to Cite

สายสิทธิ์ ประเสริฐ. 1963. “จำนวนบักทีเรียของปลาทูสดระหว่างการขนถ่าย”. Agriculture and Natural Resources 3 (2). Bangkok, Thailand:79-91. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240109.

Issue

Section

Research Article