Daylength and Temperature in Relation to Flowering of Rhynchostylis gigantean
Abstract
จากเอกสารเลขที่ 885 เดือนตุลาคม 2495 เรื่อง Day Length and Temperature in Relation to Growth and Flowering of Orchids เขียนโดย Gavino B. Rotor Jr. สถานีทดลองพืชกรรมแห่งมหาวิทยาลัย Cornell, New York รายงานว่า กล้วยไม้สามารถที่จะมีดอกเร็วหรือช้าผิดฤดูกาลได้ โดยการทำให้มี photoperiod และอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้นั้นๆ สำหรับกล้วยไม้ช้างซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Rhynchostylis gigantea เป็นพืชที่มี flowering bud โผล่ให้เห็นตั้งแต่เดือนมิถุนายนเป็นต้นไป และมีการเจริญช้ามาก จากการสังเกตแทบจะไม่เห็นการเจริญเติบโตเลยจนกว่าจะถึงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ซึ่งเป็นฤดูหนาวมีอุณหภูมิต่ำ กลางวันสั้น กลางคืนยาว ช่อดอกจะยาวขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2-4 สัปดาห์ดอกจะบาน เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพืชต่างชนิดกันถ้าดอกบานไม่พร้อมกัน ก็ไม่มีโอกาสจะผสมพันธุ์กันเพื่อทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ ถ้าเราสามารถบังคับกล้วยไม้ช้างให้บานผิดฤดูกาลได้ โดยให้บานพร้อมกับกล้วยไม้ชนิดอื่นๆก็จะเปิดโอกาสที่จะผสมพันธุ์ทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ที่ดี ให้ดอกปีละหลายหนก็ได้ เป็นสิ่งที่ควรจะทดลองดูกันบ้าง ประโยชน์อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อการค้าโดยตัดดอกขาย คิดว่าคงจะได้ราคาดีดังนั้นเมื่อมีรายงานการค้นคว้าแสดงอย่างเด่นชัดว่า โดยการทำให้มี photoperiod และอุณหภูมิเหมาะสม ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของช่อดอกซึ่งหมายถึงการเร่งเวลาให้ออกดอกผิดฤดูกาลด้วย ช้างก็เป็นกล้วยไม้ชนิดหนึ่งจึงเป็นสิ่งที่น่าคิดและเชื่อว่าต้องทำให้นักเลี้ยงกล้วยไม้ตื่นเต้นและใคร่ที่จะเห็นผลการทดลองนี้ โดยการทำให้กลางวันสั้นกลางคืนยาว และมีอุณหภูมิต่ำ คือ ทำให้มีสภาพเช่นเดียวกับฤดูหนาว จะช่วยเร่งการเจริญเติบโตของช่อดอกของช้างเช่นเดียวกับกล้วยไม้อื่นๆบ้าง
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.