Nematode Hypocotyl Brown Rot of Durian

Authors

  • อรุณ จันทนโอ แผนกวิชากีฏวิทยาและโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

จากการสำรวจโรคพืชซึ่งเกิดจากไส้เดือนฝอยในบริเวณตำบลคลองหลวง อำเภอรังสิต จังหวัดพระนคร เมื่อปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2506 พบว่า ต้นทุเรียน (Durio zibelhinus Linn.) ปลูกอยู่ในบริเวณนั้นซึ่งยังมีขนาดเล็กอยู่ คือมี อายุประมาณ 2 ปี มีอาการแคระแกร็นไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร มีบริเวณใบน้อยและมีขนาดเล็กกว่าปกติโดยไม่ปรากฏว่ามีโรคพืชหรือแมลงสัตรูพืชรบกวน เมื่อนำดินและรากพืชไปตรวจดูได้พบไส้เดือนฝอยศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก แต่อาการของโรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดนี้ที่น่าสนใจ คือ ไส้เดือนฝอยทำให้ป่องต้นทุเรียนอ่อนเน่า โดยที่มันเข้าไปอาศัยหากินอยู่ภายในเนื้อของต้นอ่อนของทุเรียนที่ชาวสวนทุเรียนเรียกว่า “ป่อง” หรือตรงกับส่วนที่ทางพฤกษศาสตร์ เรียกว่า “ไฮโปโคทิล” (hypocotyl) ซึ่งเป็นส่วนของต้นอ่อนทุเรียนที่งอกขึ้นมาจากเมล็ดที่อยู่ระหว่างใบเลี้ยงคู่แรกกับส่วนราก ส่วนป่องนี้เป็นบริเวณที่มีเซลล์อ่อนและเป็นที่สะสมอาหารสำหรับเลี้ยงต้นอ่อน ชาวสวนทุเรียนนิยมใช้ต้นอ่อนทุเรียนนี้ทาบกับต้นทุเรียนในสวน เพื่อเสริมรากให้ต้นทุเรียนนั้นมีมากขึ้นเพื่อช่วยในการหาอาหาร ไส้เดือนฝอยดังกล่าวจะทำลายส่วนนี้ทำให้เซลล์พืชตายเน่าเป็นสีน้ำตาลเข้ม ต้นอ่อนทุเรียนนั้นก็จะตายลง ทำให้การเสริมรากไม่ได้ผลตามต้องการ อาการเน่าของป่องทุเรียนอ่อน ก็คือ ป่องทุเรียนโดยปกติมีลักษณะอวบเต่งและมีสีเขียวอ่อน เมื่อไส้เดือนฝอยเข้ากินทำลายเนื้อเยื่อภายใน ป่องนั้นจะมีผิวเป็นสีน้ำตาลคล้ำและเหี่ยวเป็นรอยย่นไม่อวบเต่งเหมือนในต้นที่เป็นปกติ เมื่อบีบป่องด้วยนิ้วมือจะรู้สึกหยุ่นเนื้อไม่แน่น ถ้าผ่าป่องนั้นดูจะพบว่าเนื้อภายในมีสีน้ำตาลดำ มีลักษณะช้ำคล้ายฟองน้ำและเป็นน้ำชื้น ซึ่งผิดกับต้นที่ไม่เป็นโรคโดยที่เนื้อของป่องมีสีขาวและมีเนื้อแน่น นอกจากส่วนแกนกลางของต้นที่เป็นโรคเท่านั้นที่ไม่เน่ายังคงมีสีขาวเหมือนต้นปกติ เมื่อนำเอาเนื้อของป่องส่วนที่เน่าดำนี้ไปตรวจดูด้วยกล้องขยายแบบสเตอริโอ จะพบไส้เดือนฝอยอยู่ภายในเนื้อของป่องทุเรียนนี้เป็นจำนวนมาก

Downloads

Published

1964-01-01

How to Cite

จันทนโอ อรุณ. 1964. “Nematode Hypocotyl Brown Rot of Durian”. Agriculture and Natural Resources 4 (1&2). Bangkok, Thailand:56-60. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240117.

Issue

Section

Research Article