Fusarium Wilt of Tomato in Thailand

Authors

  • เสน่ห์ นิลมณี คณะกสิกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุดม ภู่พิพัฒน์ คณะกสิกรรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

โรคเหี่ยวของมะเขือเทศเกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum f. lycopersici(Sacc.) Snyder and Hansen. เป็นโรคที่ร้ายแรงโรคหนึ่งซึ่งทำความเสียหายให้กับมะเขือเทศในประเทศไทยในท้องที่ที่มีการปลูกมากจากบันทึกครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ของแผนกโรควิทยา กองพืชพันธุ์ กรมกสิกรรมพบว่าโรคนี้มีระบาดที่จังหวัดพระนคร ธนบุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงราย ส่วนจังหวัดอื่นๆเข้าใจว่าคงจะมี แต่ยังไม่มีใครสำรวจพบในต่างประเทศได้มีรายงานพบครั้งแรกที่เกาะ Channel ในช่องแคบอังกฤษ เมื่อราวปี ค.ศ. 1892 – 1893 (2) โรคนี้เป็นที่รู้จักกันดีในแถบอบอุ่นของโลก และมีผู้สนใจทดลองค้นคว้ากันอย่างกว้างขวางมาก Moore และ Chupp (1) ได้ศึกษาทางสรีรของเชื้อรานี้พบว่าสามารถใช้ธาตุคาร์บอนจาก Carbon source ต่างๆย่อยแป้งและใช้ ammonium-ion ได้ ใช้ไนโตรเจนจาก nitrogen source จำพวก nrea, peptone, proteose-peptone และ asparagine ได้ แต่ไม่สามารถสร้างสารอินโดลจาก tryptophan หรือซัลไฟด์จากกำมะถันที่มีอยู่ในโปรตีนและยังสามารถย่อยเจลาติน reduced pectate และทำให้ caseine ตกตะกอนได้ Walker (2) กล่าวว่าเชื้อรานี้เจริญได้ดีที่สุดในอาหารที่มี pH 3.6 – 8.0 ในดินที่เป็นกรด pH ดีเหมาะแก่การงอกของสปอร์บนอาหารมีอยู่ 2 ระยะ คือ ประมาณ 4.5 และ 7.0 อาหารที่มีธาตุโปแตสเซียมต่ำ และไนโตรเจนสูงจะทำให้เกิดการเจริญของเชื้อราเพิ่มขึ้น และเขายังกล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้เกิดการเหี่ยวว่า เนื่องจากเชื้อรานี้ทำให้การเคลื่อนที่ของน้ำและธาตุอาหารในลำต้นไม่สะดวก หรือหยุดชงักลงโดยเมื่อเชื้อราเข้าไปอยู่ในท่ออาหารแล้วจะสร้าง enzyme พวก pectin methyl-esterese (PME) และ depolymerase (DP) enzymes ทั้งสองชนิดนี้จะทำลาย pectic substances ที่อยู่ในผนังเซลล์แล้วเข้าไปใน xylem parenchyma และในท่อ xylem แล้วจะเกิด colloidal mass อุดอยู่ ในระยะนี้จะเกิดการเหี่ยวขั้นแรก คือ ต้นมะเขือเทศจะเหี่ยวในเวลากลางวันที่มีแดดร้อนและจะฟื้นในเวลากลางคืนที่มี น้ำค้าง หรืออากาศ เย็น เรียกว่า “temporary wilting” ต่อไปเชื้อราจะสามารถสร้างสาร lycomarasmin และ fusaric acid ขึ้น ทำให้เกิดอาการเหี่ยวตลอดไป เรียกว่า “permanent wilting”

Downloads

Published

1964-07-01

How to Cite

นิลมณี เสน่ห์, and ภู่พิพัฒน์ อุดม. 1964. “Fusarium Wilt of Tomato in Thailand”. Agriculture and Natural Resources 4 (3&4). Bangkok, Thailand:79-87. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240122.

Issue

Section

Research Article