Sulfide Formation and Rice Yield in Ongkarak Soil
Abstract
ดินองครักษ์ส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา ผลผลิตของข้าวที่ได้มักอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการ เช่น ความเป็นกรดของดินสูง ความเป็นพิษเนื่องจากอลูมินั่ม (2,10) เหล็กและแมงกานีส (7) โดยเหตุที่ดินนี้มีกำมะถันสะสมอยู่ในปริมาณมาก (1,3) ดังนั้นผลผลิตต่ำจึงอาจเนื่องมาจากความเป็นพิษของกำมะถันด้วย โดยเฉพาะในรูปของซัลเฟต (Sulfate) และซัลไฟด์ (Sulfide) ซัลไฟด์นั้นถ้าอยู่ในรูปของแก๊สไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) ในสารละลายดิน สามารถที่จะทำให้เป็นพิษกับข้าวได้เป็นอย่างมาก แม้จะทีเพียงระดับต่ำ จากการทดลองของ Mitsui และ Kumazawa (5) พบว่าถ้าซัลไฟด์ในสารละลายดินมีความเข้มข้น 0.17 ppm และ 2 ppm ซึ่งปรากฏอยู่นาน 90 และ 48 ชั่วโมงตามลำดับ ก็จะก่อให้เกิดความเป็นพิษต่อข้าวได้ สำหรับความเป็นพิษที่เกิดขึ้นนั้นเชื่อกันว่า ซัลไฟด์เข้าไปในรากและต้นข้าวแล้วทำให้ขบวนการทางชีวเคมีบางอย่างหยุดชะงักหรือเกิดได้ไม่เต็มที่ (9) นอกจากนี้ซัลไฟด์ที่อยู่ในบริเวณรอบรากพืชอาจแก่งแย่งออกซิเจนจากรากพืช ทำให้อัตราการหายใจของข้าวลดลงหรือหยุดชะงักได้ (6) และเนื่องจากอิทธิพลของซัลไฟด์ดังกล่าวนี้ จะทำให้ข้าวไม่สามารถดูดธาตุอาหารบางชนิดใช้ได้ตามปกติ ซึ่งในที่สุดจะทำให้ข้าวเกิดอาการที่เรียกว่า อะกิโอชิ (Akiochi) และเกิดโรคจุดสีน้ำตาล เป็นผลทำให้ข้าวเจริญไม่ดีและให้ผลผลิตต่ำ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.