Effects of Some Toxic Substances on Tilapia nilotica Linn. And Aquatic Environment
Abstract
ปัจจุบันประชาชนได้หันมาใช้สารเคมีชนิดใหม่กันอย่างกว้างขวาง ทั้งในการเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ เคหะสถานบ้านเรือน ตลอดจนสถานที่ราชการ ดังเช่น ผงซักฟอก น้ำมันชนิดต่างๆ ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าวัชพืช ยาฆ่าเชื้อรา ยาฆ่าไรแดง ยาดับกลิ่น และอื่นๆ ซึ่งสารต่างๆเหล่านี้หลังจากการใช้แล้วก็มักจะมีการถ่ายเทลงน้ำ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม จนทำให้เกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งที่มีชีวิตทั้งน้ำทั้งพืชและสัตว์ ตลอดจนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางชีววิทยา และสิ่งแวดล้อมอื่นๆในน้ำ ทั้งนี้เพราะสารเคมีต่างๆ ที่ถ่ายเทลงไปในน้ำนั้นยังมีพิษเหลืออยู่ ในปี 1941 Liebmann (1) รายงานว่า น้ำเสียที่ถ่ายเทออกจากโรงงานกระดาษ เส้นใย ทอผ้า ปอ ฝ้าย และอื่นๆ จะทำให้น้ำขาดออกซิเจน และปลาจะตายในที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในน้ำเสียที่มีสารประกอบของ sulphite ผสมอยู่ ต่อมาในปี 1948 Steinmann (6) รายงานไว้ว่า น้ำเสียจะเป็นตัวการทำให้ปลาอ่อนแอ ปรับตัวให้กับสิ่งแวดล้อมได้ช้าและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ Turnbull และผู้ร่วมงาน (7) ได้กล่าวไว้ในปี 1954 ว่าน้ำเสียที่ถ่านเทออกจากโรงงานและบ้านเรือนต่างๆ จะเป็นตัวการทำให้การเพิ่มจำนวน และการเจริญเติบโตของปลาหยุดชะงักลง ซึ่งความรุนแรงของสารพิษแต่ละชนิดนั้นจะทำให้เกิดเป็นอันตรายมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ ส่วนประกอบและชนิดสารต่างๆ รวมทั้งสภาพของสิ่งแวดล้อม
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.