The Utilization of Rice Strew by Water Buffalo When Supplemented with Molasses and Urea

Authors

  • Woraopong Suriyajuntratong สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น
  • Jinda Suksuchok สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น
  • Suvit Pollarp สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น
  • Caisang Sarapol สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น
  • Utai Pisone สำนักงานวิจัยเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ท่าพระ ขอนแก่น

Abstract

เนื่องจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง (ruminant) เช่น โค กระบือ สามารถใช้ประโยชน์จากอาหารพวกที่มีเยื่อใยสูงได้ดี โดยปฏิกิริยาของพวกจุลินทรีย์ (microorganism) ที่มีอยู่ในกระเพาะส่วน rumen ดังนั้น อาหารหยาบ (roughage) ต่าง ๆ จึงนับเป็นอาหารหลักสำหรับเลี้ยงสัตว์พวกนี้ ปัจจุบันนอกจากพืชตระกูลถั่วปละหญ้าที่ปลูกใช้เลี้ยงสัตว์โดยทั่วไปแล้ว ได้มีการพยายามใช้ผลผลิตพลอยได้จากการปลูกพืชต่าง ๆ นำมาใช้เลี้ยงสัตว์ เพื่อให้ได้ประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจยิ่งขึ้น ฟางข้าวจัดเป็นอาหารหยาบชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการปลูกข้าว และกสิกรไทยนิยมนำมาเลี้ยงโคกระบือกันมาก อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบทางเคมีของฟางข้าวพบว่า ฟางข้าวมีคุณค่าทางอาหารค่อนข้างต่ำ Morrison (12) และ Clawson and Garrett (7) กล่าวไว้ว่ามีปริมาณโปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ซัลเฟอร์ และพวก trace element บางอย่าง เช่น โคบอลท์และคอปเปอร์น้อยมาก แต่มีปริมาณเยื่อใยค่อนข้างสูง ข้อเสียอีกอย่างหนึ่งคือ มีเถ้า (ash) สูง และมากกว่า 2/3 ของเถ้าเป็นพวก silica ซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการย่อยอาหารของสัตว์ เช่น ทำให้การย่อยของสารพวกอินทรียวัตถุ (oganicmatter) ลดลงเป็นต้น (15) อย่างไรก็ตาม Clawson และ Garrett (7) ได้รายงานว่า ในฟางข้าวมีปริมาณลิกนินค่อนข้างน้อยและเยื่อใยในฟางข้าว สัตว์ย่อยได้ง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับหญ้าแห้งจากพืชบางชนิด ดังนั้นฟางข้าวจึงสามารถเป็นแหล่งพลลังงานได้ค่อนข้างดีสำหรับเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง

Downloads

Published

1974-07-01

How to Cite

Suriyajuntratong, Woraopong, Jinda Suksuchok, Suvit Pollarp, Caisang Sarapol, and Utai Pisone. 1974. “The Utilization of Rice Strew by Water Buffalo When Supplemented With Molasses and Urea”. Agriculture and Natural Resources 8 (2). Bangkok, Thailand:103-8. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240687.

Issue

Section

Research Article