Natural Regeneration after Clear Felling in Dry Teak Forest
Abstract
การศึกษาครั้งนี้เป็นการดำเนินงานตามแผนการทดลองเกี่ยวกับระบบวัฒน์ในป่าสาธิต จังหวัดลำปาง โดยมร กรมป่าไม้ คณะวนศาสตร์ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ร่วมมือในการทดลอง ระบบวนวัฒน์ที่ศึกษานี้เป็นระบบตัดหมด ทั้งนี้โดยอาศัยสมมุติฐานว่าป่ารุ่นใหม่ที่เกิดขึ้นภายหลังการตัดฟันแบบนี้ จะมาจากแหล่งใหญ่ 3 ประการคือ จากลูกไม้ของไม้มีค่าที่มีอยู่ก่อนตัดฟัน จากเมล็ดของไม้มีค่าที่ถูกตัดฟันลง และปรายสุดท้ายจากหน่อใหม่ที่แตกจากตอของไม้ที่ตัดฟัน ตามปกติแล้วระบบวนวัฒน์ที่สามารถใช้กับป่าสักนั้นมีอยู่หลายวิธีด้วยกัน Kadambi (4) ได้บรรยายระบบวนวัฒน์ที่ใช้กับป่าสักว่ามีถึง 4 วิธีใหญ่ ๆ คือ ระบบเลือกตัด (selection system) ระบบตัดหน่อให้แดกหน่อ (coppice system) ระบบตัดหมด (clear felling system) และ modified uniform system ในประเทศอินเดีย พม่า และไทย ระบบเลือกตัดนี้ใช้กันมาตั้งแต่ยุคเริ่มแรกของการจัดการป่าสัก แต่ระบบที่เรียกกันว่าเลือกตัดนี้ไม่เหมือนกับระบบเลือกตัดที่ใช้กันในประเทศยุโรป กล่าวคือเพียงแต่ตัดฟันไม้ที่ถึงขนาดที่กำหนดไว้ ซึ่งในจำนวนไม้ที่ถึงขนาดจำกัดนี้อาจถูกตัดฟันหมดหรือถูกตัดฟันแต่เพียงบางส่วน การดำเนินการตัดฟันมักจะไม่คำนึงถึงหลักการที่จะก่อให้เกิดความสมบูรณ์ (normality) ของป่า ไม่มีหลักประกันในเรื่องการสืบพันธ์ที่จะมาทดแทน และมักจะไม่คำนึงถึงลักษณะทางวนวัฒน์วิทยาของพรรณไม้ ฉะนั้นนักวิชาการป่าไม้บางท่านจึงเรียกระบบเลือกตัดเช่นนี้ว่าเป็น ระบบ mining system ระบบเลือกตัดนี้ได้รับดารพัฒนาบ้างโดยผสมการตัดไม้บำรุงป่า (selection – cum – improvement)
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.