Sclerospra sorghi Weston & Uppal Histology of Corn Seeds and Plant Parts Infected by Sclerospora sorghi Weston & Uppal
Abstract
การนำเมล็ดข้าวโพดติดเชื้อ ไปทำพันธุ์ปลูกนั้นจะเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่ทำให้โรคแพร่ระบาดไปสู่แหล่งปลูกที่มีอยู่เดิม และแหล่งปลูกที่บุกเบิกใหม่เพิ่มขึ้น ในกรณีโรคราน้ำค้างของข้าวโพดที่พบในประเทศไทย เกิดจากเชื้อ Sclerospora sorghum Weston & Uppal ซึ่งเป็นที่เข้าใจว่า สามารถถ่ายทอดติดไปกับเมล็ดได้ด้วยแล้ว เมื่อนำเมล็ดที่เป็นโรคไปปลูก ก็จะทำให้เชื้อแพร่ขยายและระบาดติดต่อไปยังต้นอื่น ๆ ทำให้ข้าวโพดได้รับความเสียหายมาก การศึกษาครั้งนี้จึงเป็นการมุ่งที่จะนำเอาเมล็ดข้าวโพดที่เก็บจากต้นที่เป็นโรค มาตรวจสภาพเชื้อรา S. sorghi ที่อาศัยอยู่ในเมล็ด การเจริญสืบต่อของเชื้อไปสู้ต้นอ่อน และการแพร่ขยายของเชื่อไปยังส่วนต่าง ๆ ของต้นข้าวโพดที่เป็นโรคเป็นสำคัญ จากการที่เชื้อโรคราน้ำค้าง สามารถดำรงชีพอยู่ในเมล็ดข้าวโพดได้ จึงทำให้มีผู้พยายามที่จะศึกษาว่าเชื้อราอยู่ในเมล็ดข้าวโพดลักษณะไร และบริเวณไหน เช่น Purakusumah (8) ในปี 1955 ได้พบเส้นใยของ S. maydis ในบริเวณฝัก funiculus และ seed coat ของข้าวโพดพันธุ์ metro, Ullstrup (13) รายงานในปี 1969 ว่า Sclerophthora macrospore มักจะมีเส้นใยใน embryo ของเมล็ด ในปี 1972 Jones กับคณะ (4) ยังได้รายงานว่า aleurone layer เป็นชั้นของเนื้อเยื่อที่ป้องกันไม่ให้เชื้อราเจริญเข้าไปยังส่วน embryo ได้
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.