Radiant Energy of Dry Evergreen Forest at Sakaerat Experiment Station Amphur Pakthongchai Nakornrajasimi

Authors

  • เกษม จันทร์แก้ว คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สามัคคี บุญยะวัฒน์ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

พลังงานความร้อนมีความสำคัญต่อสิ่งที่มีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืช ความร้อนนี้สิ่งที่มีชีวิตมีความต้องการในปริมาณแตกต่างกัน อาจจะเป็นเพราะว่าสิ่งที่มีชีวิตเหล่านั้นพยายามที่จะปรับตัวให้เข้าได้กับความร้อน ณ ที่นั้น ๆ ก็ได้ เพราะความร้อนในแต่ละแห่งจะมีปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงมักพบว่าสิ่งที่มีชีวิตแต่ละแห่งบนพื้นโลกมีลักษณะความหนาแน่นแตกต่างกันไปด้วย ความร้อนที่สำคัญที่โลกได้รับนั้น คือ ความร้อนจากดวงอาทิตย์ ความร้อนของดวงอาทิตย์เหล่านี้จะได้มาจากขบวนการแผ่รังสี อันเป็นขบวนการเคลื่อนที่ของความร้อนโดยการแผ่ออกไป ไม่มีตัวกลางหรือสารเป็นตัวนำความร้อนเลย เป็นการเคลื่อนที่ของความร้อนที่มีลักษณะเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ด้วยความเร็วเท่ากับอัตราความเร็วของแสง งานทางเกษตรกรรม และทางป่าไม้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องของพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์อย่างมาก เพราะพลังงานเหล่านี้มีบทบาทต่อสิ่งแวดล้อมที่จะให้ต่อการเจริญของต้นไม้ หรือพืชกสิกรรม เท่าที่ปรากฏให้เห็นแล้ว ชนิดพรรณไม้หรือพืชกสิกรรมจะมีความชอบในปริมาณและคุณภาพ ของรังสีดวงอาทิตย์ต่างกัน ดังจะพบว่า พื้นที่สองแห่งมีสิ่งแวดล้อมของท้องที่เหมือนกัน แต่มีปริมาณและคุณภาพของรังสีความร้อนแตกต่างกัน จึงทำให้มีพืชที่เกิดอยู่แตกต่างกันไปอย่างเห็นได้ชัด ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับปริมาณ และลักษณะของรังสีดวงอาทิตย์ จึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการปลูกป่าและขยายพันธุ์พืชเป็นอย่างยิ่ง

Downloads

Published

1975-07-01

How to Cite

จันทร์แก้ว เกษม, and บุญยะวัฒน์ สามัคคี. 1975. “Radiant Energy of Dry Evergreen Forest at Sakaerat Experiment Station Amphur Pakthongchai Nakornrajasimi”. Agriculture and Natural Resources 9 (2). Bangkok, Thailand:149-61. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240722.

Issue

Section

Research Article