Morphology Development and Pathogenicity of Downy Mildew Fungus of Dichanthium caeicosum (Linn.) A. Camus.

Authors

  • Pranee Watanavanich
  • Udom Pupipat
  • Tharmmasak Sommartaya
  • Kitt Choonhawongse
  • Chiradej Chamswarng

Abstract

โรคราน้ำค้างของข้าวโพดในประเทศไทย เกิดจากเชื้อรา Sclerospora sorghi Weston & Uppal โรคนี้สามารถลดผลิตผลในแปลงข้าวโพดของกสิกรได้ 88.5 เปอร์เซ็นต์ (7) ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับอยู่ข้ามฤดูของเชื้อบนพืชอาศัยชนิดต่าง ๆ กว่า 90 ชนิด พบว่ามี teosinte (Euchlaena Mexicana Schrad) และข้าวฟ่างเท่านั้นที่เกิดโรคราน้ำค้างได้ (1) ต่อมา ธรรมศักดิ์ สมมาตย์ ได้สำรวจพบโรคราน้ำค้างบนหญ้าหนวดเจ้าชู้หรือหญ้าแหวน (Dichantium caricosum (Linn.) A. Camus) เมื่อปี พ.ศ. 2517 ในเขตตำบลบ้านนาน้อย อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี ท้องที่ที่พบโรคนี้เป็นนาข้าว ซึ่งได้รับคำบอกเล่าจากกสิกรว่า เดิมในบริเวณตำบลบ้านาน้อยเคยปลูกข้าวโพดกันมาก่อน แต่ได้รับความเสียหายจากโรคราน้ำค้างมาก ทำให้ต้องเปลี่ยนมาปลูกข้าวแทน จึงได้ข้อคิดว่า โรคราน้ำค้างที่พบบนหญ้าหนวดเจ้าชู้นี้ อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อราชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคราน้ำค้างแก่ข้าวโพดก็ได้ดังนั้น จึงมุ่งศึกษารายละเอียดบางประการของเชื้อราที่เป็นสาเหตุโรคราน้ำค้างของหญ้าดังกล่าว เพื่อเป็นแนวทางให้ทราบว่า โรคที่พบกับหญ้าและข้าวโพดนั้น เกิดจากเชื้อสาเหตุชนิดเดียวกันหรือไม่ อันจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันกำจัดโรคนี้ต่อไป

Downloads

Published

1976-01-01

How to Cite

Watanavanich, Pranee, Udom Pupipat, Tharmmasak Sommartaya, Kitt Choonhawongse, and Chiradej Chamswarng. 1976. “ Camus”. Agriculture and Natural Resources 10 (1). Bangkok, Thailand:25-31. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240727.

Issue

Section

Research Article