Phytophthora Foot Rot of Roselle
Abstract
กระเจี๊ยบแดง (Hibiscus sabdariffa) เป็นพืชสำคัญทางเศรษฐกิจของไทย ทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยมีผู้นิยมบริโภคผลิตภัณฑ์กระเจี๊ยบแดงกันมาก โดยเฉพาะในรูปแบบของน้ำกระเจี๊ยบและแยมกระเจี๊ยบ (1) แต่การปลูกกระเจี๊ยบแดงมักมีปัญหาเรื่องโรคและแมลงเป็นประจำ โรคของต้นกระเจี๊ยบแดงนั้นมีหลายชนิด มีทั้งเป็นที่ใบ ลำต้น และราก โรคที่เป็นลำต้นเป็นโรคที่สำคัญมาก เพราะทำให้ทุกส่วนของพืชตาย และทำลายพืชทุกระยะการเจริญเติบโต โรคนี้จึงสำคัญกว่าศัตรูอย่างอื่น แต่โรคที่เป็นกับลำต้นเกิดจากเชื้อหลายชนิด ชนิดที่เป็นที่โคนต้นแล้วลุกลามขึ้นสู่ส่วนบนของลำต้น คือ โรคโคนเน่า ซึ่งมีชื่อเรียกได้ต่าง ๆ กัน คือ footrot, collar rot, basal rot และ stem rot โรคโคนเน่า สังเกตโดยใบจะเริ่มเหี่ยวและมีสีเหลือง ร่วงหล่นเสมือนพืชแสดงอาการขาดน้ำ เมื่อตรวจดูที่โคนต้นจะพบว่า มีอาการเน่าดำลุกลามจากโคนต้นระดับดินขึ้นสู่ส่วนบนของลำต้น อาการเน่าดำนี้จะลุกลามได้รวดเร็วมากในสภาพความชื้นสูง และมักมีปุยขาว ๆ ของเชื้อราอยู่บนโคนต้นที่เน่า ในระยะที่เป็นมากอาการเน่าดำจะลุกลามถึงกลางลำต้นจนถึงยอด ส่วนโคนต้นเนื้อเยื่อหุ้มลำต้นจะเปื่อยยุ่ยจนเห็นเนื้อไม้สีขาว เมื่อผ่าลำต้นตามยาวจะพบเปลือกลำต้นและเนื้อไม้ถูกทำลายเป็นสีน้ำตาล และต้นกระเจี๊ยบที่พบมักยืนต้นตาย จากการสำรวจในท้องที่บางเขน พบโรคนี้เป็นกับต้นกระเจี๊ยบแดงที่กำลังออกดอกออกผลยืนแห้งตาย เมื่อถอนต้นที่เป็นโรคดูจะพบว่า ระบบรากเน่าดำและรากสั้น
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
online 2452-316X print 2468-1458/Copyright © 2022. This is an open access article under the CC BY-NC-ND license (http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/),
production and hosting by Kasetsart University of Research and Development Institute on behalf of Kasetsart University.