กลสมบัติของไม้ยางอาบน้ำยา

Authors

  • ตระกูล อร่ามรักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • สมนึก ลิ้มทองสิทธิคุณ นิสิตปริญญาโท บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Abstract

ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างชนิดหนึ่ง แบ่งออกเป็นไม้เนื้ออ่อนและไม่เนื้อแข็ง ไม้เนื้ออ่อนมีหลายชนิด เช่น ยาง กระบาก และไม้เบญจพรรณ ไม้เนื้อแข็ง มี เต็ง รัง ตะเคียนทอง เคี่ยม เป็นต้น ปกติแล้วโครงสร้างไม้ นิยมใช้ไม้เนื้อแข็งเพราะให้กำลังและความแข็งแรงที่สูงกว่าทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศดีกว่า และให้ความสวยงามมากกว่า โดยโครงสร้างที่ใช้ไม้เนื้ออ่อน ได้แก่ อาคารชั่วคราว ไม้ค้ำยัน ไม้แบบ และส่วนปรกอบของโครงสร้างที่ไม่สำคัญ ปัจจุบัน ไม้เนื้อแข็งหายาก มีราคาแพงเพราะไม้เนื้อแข็งเป็นไม้เจริญเติบโตช้า อายุของไม้เนื้อแข็งที่นำมาใช้งานได้ มีอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป จึงเติบโตไม่ทันกับการตัดและการปลูกขึ้นมาใหม่ ไม้เนื้ออ่อนจึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะราคาถูกและหาง่าย แต่ไม้เนื้ออ่อนที่นำมาใช้ทดแทนไม้เนื้อแข็งในโครงสร้าง ต้องผ่านการอาบน้ำยาเสียก่อน เพื่อให้ทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ ไม้เนื้ออ่อนที่นิยมมาใช้งานโครงสร้างมากที่สุด คือ ไม้ยาง การอาบน้ำยาไม้มีหลายวิธีและน้ำยาหลายชนิด น้ำยา Tanalith-C เป็นชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ การอาบด้วยน้ำยาชนิดนี้มี 2 วิธี คือ การอาบโดยการแช่ไม้ในน้ำยา และการอาบน้ำยาโดยใช้ความดันเข้าช่วย ตามมาตรฐานของกรมป่าไม้ การอาบน้ำยาไม้มีหลายขั้น จำนวนขั้นแบ่งโดยใช้จำนวนเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาที่เข้าไปในเนื้อไม้ ขั้นที่สูงกว่า จะมีจำนวนเปอร์เซ็นต์ของน้ำยาที่เข้าไปในเนื้อไม้ มากกว่า และมีความทนทานต่อดินฟ้าอากาศได้ดีกว่า ดังนั้น การนำไม้อาบน้ำยาไปใช้งาน จึงขึ้นอยู่กับชนิดของขั้นในการอาบด้วย

Downloads

Published

1981-01-01

How to Cite

อร่ามรักษ์ ตระกูล, and ลิ้มทองสิทธิคุณ สมนึก. 1981. “กลสมบัติของไม้ยางอาบน้ำยา”. Agriculture and Natural Resources 15 (2). Bangkok, Thailand:21-29. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/anres/article/view/240852.

Issue

Section

Research Article