ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของมะละกอเหลืองกระบี่ ที่ปลูกในกระถาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
มะละกอเป็นพืชที่เจริญเติบโตเร็ว ทำให้ไม่เหมาะแก่การนำมาทำเป็นไม้กระถางเพื่อการประดับ จึงได้ทดลองให้สารพาโคลบิวทราโซลกับต้นมะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ปลูกในกระถาง 10 นิ้ว เพื่อให้ทราบระดับปริมาณของสารพาโคลบิวทราโซลที่เหมาะสมต่อการชะลอการเจริญเติบโตของต้นมะละกอ วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ จำนวน 10 ซ้ำ ซ้ำละ 1 ต้น โดยให้สารปริมาณ 0 2 4 6 8 และ 10 มิลลิกรัม (a.i.)/ต้น ด้วยวิธีรดลงดิน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก ให้สารเมื่ออายุต้นได้ 45 วันหลังย้ายปลูก ครั้งที่ 2 ให้สารหลังจากให้สารครั้งแรกครบ 90 วัน บันทึกความสูงลำต้นความสูงทรงพุ่ม เส้นผ่านศูนย์กลางลำต้น ความยาวปล้องและความยาวก้านใบในระหว่างการให้สาร และบันทึกน้ำหนักสดส่วนต้น ราก และใบ พื้นที่ใบและค่าความเขียวใบหลังสิ้นสุดการให้สารครั้งที่ 2 แล้ว 13 สัปดาห์ พบว่า สารพาโคลบิวทราโซล มีผลต่อการลดความยาวปล้องและน้ำหนักสดส่วนราก (P ≤ 0.05) ส่วนลักษณะอื่น ๆ รวมทั้งความสูงต้นไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) นอกจากนี้ยังพบว่าสารพาโคลบิวทาโซลจะเริ่มหมดฤทธิ์ในสัปดาห์ที่ 9 หลังได้รับสารจึงมีข้อเสนอแนะว่าในการสารให้พาโคลบิวทราโซลสำหรับมะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่ที่ปลูกในกระถางเพื่อการประดับจึงควรมีระยะการให้สารห่างกันไม่เกิน 8 สัปดาห์
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กวิศร์ วานิชกุล ประภาพร ตั้งกิจโชติ และยศกร สายสร้อย. 2553. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการเติบโตทางกิ่งใบของมะละกอพันธุ์เม็กซิโก-เกษตร. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 41(3/1)(พิเศษ): 537-540.
โชตนา ลิ่มสอน. 2539. ผลของ paclobutrazol ต่อการเติบโตของมะละกอพันธุ์ Sunrise Solo. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณรงค์ รุจิเรขเสรีกุล. 2538. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อต้นฟิโลเดนดรอนเพื่อใช้เป็นไม้กระถาง. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐพงษ์ จรัสศิลปชีพ. 2562. ผลของพาโคลบิวทราโซลต่อการออกดอกของสับปะรดห้วยมุ่น (Smooth Cayenne). ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร กำแพงแสน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บุญลือ สุขเกษม. 2558. มะละกอเหลืองกระบี่ ผลสวย ดกดี ไม่มีโรค ทำเงินเร็ว. แหล่งข้อมูล https://www.rakbankerd.com/agriculture/print.php?id=8540&s=tblplant (25 มิถุนายน 2564).
ปิยวดี เสวตรนิสากร. 2550. ผลของแพคโคลบิวทราโซลต่ออายุการใช้งานไม้ใบสี 5 ชนิดเพื่อวางประดับภายในอาคาร. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท สาขาวิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พีรเดช ทองอำไพ. 2537. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. วิชัยการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2532. เทคโนโลยีการผลิตและธุรกิจไม้ตัดดอก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี, กรุงเทพฯ.
สุกิจ นาคกิตเศรษฐ. 2538. ผลของพาโคบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของต้นไทรย้อยใบแหลม. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เสริมศักดิ์ เมธะคานนท์. 2539. ผลของสารแพกโคลบิวทราโซลต่อการเจริญเติบโตของต้นเล็บครุฑกระจกในกระถางเพื่อใช้ประดับในอาคาร. ปัญหาพิเศษปริญญาตรี ภาควิชาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Kotur, S.C. 2011. Effect of paclobutrazol on rootactivity of mango (Mangigera indica). The Indian Journal of Agricultural Sciences 76(3): 143-144.
Rodriguez, M.C. and V. Galán. 1995. Preliminary study of paclobutrazol (PP333) effects on greenhouse papaya (Carica papaya L.) in the Canary Islands. International Symposium on Tropical Fruits 370(27): 167-172. Available: DOI:10.17660/ActaHortic.1995.370.27.
Weiland, W.F. and R.L. Wample. 1985. Effects of paclobutrazol on growth, photosynthesis and carbohydrate content of ‘Delicious’ apples. Scientia Horticulturae 26(2): 139-147. Available: https://doi.org/10.1016/0304-4238(85)90006-8.