การส่งบทความ
รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ
ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
กรุณาแนบ
1) ไฟล์ใบลงทะเบียน (PDF file) และ
2) ไฟล์บทความ MS Word
คำแนะนำผู้แต่ง
คำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับ
(สำหรับบทความที่ส่งตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2567 เป็นต้นไป)
หมายเหตุ : สำหรับคำแนะนำในการเตรียมต้นฉบับบทความที่ส่งมาก่อน วันที่ 16 มกราคม 2567 คลิกที่นี่
1. การพิมพ์
ต้นฉบับพิมพ์โดยโปรแกรมไมโครซอฟเวิร์ด ใช้รูปแบบฟอนท์ Cordia new ขนาด 16 points สำหรับชื่อเรื่อง และ 14 points สำหรับที่เหลือ พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 เว้นขอบทั้ง 4 ด้าน 2.5 ซม. ความยาวของบทความรวมทุกอย่างไม่เกิน 10 หน้า
2. การเรียงเนื้อหา เนื้อหาประกอบด้วยส่วนต่างๆ รวม 8 หัวข้อ ควรเรียงตามลำดับ ดังนี้
2.1 ชื่อเรื่อง (Title) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรสั้น กระชับและสื่อเป้าหมายหลักของการวิจัย ชื่อวิทยาศาสตร์ ใช้ตัวเอน และการพิมพ์ภาษาละติน เช่น in vivo, in vitro, Ad libitum, หรือ et al. ให้พิมพ์ด้วยตัวเอน ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ ให้ขึ้นต้นคำด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำบุพบท
2.2 ชื่อผู้เขียน (Authors) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนที่อยู่ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ให้ใส่เป็นเชิงอรรถที่ท้ายชื่อหากมีผู้แต่งมาจากหลายที่ โดยอธิบายเชิงอรรถไว้ในหน้าแรกของบทความ ที่อยู่ควรเป็นที่อยู่ที่ติดต่อได้ทางไปรษณีย์ รวมรหัสไปรษณีย์ด้วย ใส่เครื่องหมายดอกจัน (*) หลังชื่อคนที่รับผิดชอบบทความ (corresponding author) พร้อมอีเมล์ติดต่อ
2.3 บทคัดย่อ (Abstract) ควรสั้น กระชับ ได้ใจความในการทำวิจัย วิธีการ ผลการศึกษาและสรุป ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ควรเกิน 300 คำ ยกเว้นบทความภาษาอังกฤษ ไม่ต้องมีบทคัดย่อภาษาไทย
2.4 คำสำคัญ (Keywords) ให้ระบุคำสำคัญ ไม่เกิน 4 คำ ท้ายบทคัดย่อแต่ละภาษา โดยวางในตำแหน่งชิดด้านซ้ายของหน้ากระดาษ (บทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ หรือบทความปริทัศน์ ไม่ต้องมีบทคัดย่อ)
2.5 คำนำ (Introduction) แสดงเหตุผลหรือความสำคัญที่ทำวิจัย อาจรวมการตรวจเอกสารและวัตถุประสงค์ไว้ด้วย
2.6 อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods) รายละเอียดวัสดุ อุปกรณ์ วิธีการ และแบบจำลองการศึกษาที่ชัดเจน สมบูรณ์และเข้าใจง่าย
2.7 ผลการวิจัยและวิจารณ์ (Results and Discussion) อธิบายผลการทดลอง พร้อมเสนอข้อมูลในรูปแบบ ตาราง (Table) หรือภาพประกอบ (Figure) โดยตารางหรือภาพ ให้จัดทำเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมดและแทรกอยู่ในเนื้อหา คำอธิบายตารางให้อยู่เหนือตาราง ส่วนคำอธิบายภาพให้วางอยู่ใต้ภาพ หน่วยในตารางให้ใช้ตัวย่อ ในระบบเมตริก ส่วนวิจารณ์ผล ให้แสดงความคิดเห็นของผลการศึกษาโดยเชื่อมโยงกับสมมติฐานหรืออ้างอิงที่เชื่อถือได้ โดยไม่ต้องแยกเป็นอีกหัวข้อ
2.8 สรุปผลการวิจัย (Conclusion) สรุปผลที่ได้ว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่
3. กิตติกรรมประกาศ
อาจมีหรือไม่มีก็ได้ เป็นการแสดงความขอบคุณผู้ที่มีส่วนร่วมในการวิจัย เช่น แหล่งทุน แต่ไม่ได้มีชื่อร่วมวิจัย
4. เอกสารอ้างอิง
4.1 ในเนื้อหา ระบบที่ใช้อ้างอิงคือ ระบบชื่อและ ปี (Name-and-year System) ในเอกสารภาษาไทยใช้ชื่อตัวและปี พ.ศ. เช่น
4.1.1 คนเดียว ใช้รูปแบบ Yong (1996) หรือ .... (Yong, 1996)
4.1.2 สองคน ใช้คำเชื่อม and เช่น Young and Smith (2000) หรือ ....(Young and Smith, 2000)
4.1.3 มากกว่า 2 คนขึ้นไป ใช้ Young et al. (2005) หรือ ..... (Young et al., 2005) แต่ในส่วนบัญชีเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ ให้ใช้ชื่อผู้เขียนเต็มทุกคน
4.2 ในบัญชีเอกสารอ้างอิง ให้เรียงลำดับชื่อตามตัวอักษร ตามรูปแบบการเขียนดังนี้
4.2.1 วารสาร (Academic Journal)
Kositsakulchai, E., S. Yodjaroen and Y. Phankamolsil. 2018. Assessment of
the impact of land use change on runoff in Lam Phachi basin using
Satellite data and SWAT model. Journal of Science and Technology7(3):
1-16. [in Thai]
Shternshi, M., O. Tomilova, T. Shpatova and K. Soytong. 2005. Evaluation of
ketomium-mycofungicide on siberian isolates of phytopathogenic
Fungi. Journal of Agricultural Technology 1(2): 247-253.
4.2.2 หนังสือ หรือตำรา (Books/ Textbook) ไม่ต้องระบุจำนวนหน้า
Chantawankun, P. 2018. Manual of Beekeeping. Chotana Print, ChiangMai
CompanyLimited. [in Thai]
Steel, R.G.D., J.H. Torrie and D.A. Dickie. 1997. Principal and procedures of
atatistic-abiometric approach. 3rd Edition. McGraw-Hill Publishing
Company, Toronto.
4.2.3 เรื่องย่อยในหนังสือหรือตำราที่มีผู้เขียนแยกบทและมีบรรณาธิการ (Section in Books with Editors)
Kubo, T. 2003. Molecular analysis of the honeybee socially. pp. 3-20. In: T. Kikuchi,
N. Azuma and S. Higashi (eds.). Gene, Behaviors and Evolution of Social Insects.
Hokkaido University Press, Sapporo.
Ongprasert, S. 2000. Giving longan water. pp. 44-49. :In N, Charasamrit, P. Manochai,
N. Topunyanon, T. Chandrachit, W. Wiriya-alongkorn, P. Somboonwong (eds.).
Longan production. Sirinat Phim, Chiang Mai. [in Thai]
4.2.4 วิทยานิพนธ์ (Thesis)
Chantrachit, T. 1994. Anaerobic conditions and off-flavor development in ripening
banana (Carvendishii spp.). M.S. Thesis in Horticulture, Oregon State University.
Sayan, M. 2011. Proocess of participatory management for sustainable highland
groundwater resources: a care study of royal project development center,
Nonghoi, Maerim district Chiangmai province. Master of Science in Geosocial
Based Sustainable Development. Faculty of Agricultural Production, Maejo University.
[in Thai]
4.2.5 ประชุมวิชาการ (Proceeding/ Conference)
Nitichai, C., S. Thinkamphaeng and D. Marod. 2022. The dynamics of dry evergreen
forest restoration by Acacia auriculiformis planting at Sakaerat Environmental
Research Station, Nakhon Ratchasima Province. In Proceedings of Thai Forest
Ecological Research Network Conference, T-FERN 11, January 20-21, 2022,
Faculty of Forestry, Bangkok, Thailand pp.119-126. [in Thai]
Yamagishi, Y., H. Mitamura, N. Arai, Y. Mitsunaga, Y. Kawabata, M. Khachapicha,
and T. Viputhamumas. 2005. Feeding habits of hatchery-reared young
Mekong giant catfish in fish pond and Mae Peum reservoir. Proceeding
of the 2nd Internationl Symposium on SEASTAR 2000 and Asian
Bio-Logging Science, Kyoto. pp. 17-22.
4.2.6 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Internet)
Linardakis, D.K. and B.I. Manois. 2005. Hydroponics culture of strawberries
in Perlite. Available: http://www.schunder.com/strawberries.html
(April 21, 2005.)
Nakhon Nayok Provincial Agriculture and Cooperative Office. 2019. Nakhon Nayok
marian plum production planning. Available
https://www.opsmoac.go.th/nakhonnayok-dwl-files-412791791913
(March 23, 2021). [in Thai]
4.2.7 รายงานประจำปี (Annual report)
Khush, G. S. 1989. Multiple disease and insect resistance for increased yield
stability in rice. pp. 79-92. In Progress in irrigated rice research. Manila:
International Rice Research Institute.
Parnpeachra, S. 2015.Indigenous knowledgeof organic agriculture in
Chachoengsao Province. 72 p. In Research Reports. Bangkok: Dhurakij
Pundit University. [in Thai]
5. ตัวอย่างรูปแบบและคำแนะนำที่เป็นภาษาอังกฤษ
ตัวอย่างรูปแบบและคำแนะนำ ศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju/download
6. การส่งบทความ
6.1. การชำระเงิน
เมื่อได้รับการแจ้งจากวารสาร ให้ผู้แต่งโอนเงินเข้า ธนาคารกรุงเทพ เลขที่บัญชี 678-0-04800-2 ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (เงินรายได้) พร้อมแนบ แบบแจ้งการโอนเงิน (วผก. 05) และหลักฐานการโอนเงิน (Slip) มายังอีเมล jap@mju.ac.th
6.2. ช่องทางการส่ง
ThaiJo https://li01.tci-thaijo.org/index.php/japmju
เบอร์โทรติดต่อ +66 5387 3618
ที่อยู่ติดต่อวารสาร สำนักงานวารสารผลิตกรรมการเกษตร อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี
คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
63 หมู่ 4 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 50290
หมายเหตุ ทุกช่องทางการส่งบทความ ให้ส่ง ใบลงทะเบียนส่งบทความ (แบบฟอร์ม วผก.1)
ที่กรอกเอกสารเรียบร้อยแล้ว แนบไปพร้อมกับบทความทุกครั้ง
7. การตรวจแก้ไขและการยอมรับการตีพิมพ์
- การติดต่อผู้เขียนจะติดต่อผ่านอีเมล ตามที่อยู่ของ corresponding author หรือหากจำเป็นเร่งด่วนจะติดต่อทางเบอร์โทรศัพท์หรือไปรษณีย์ตามที่อยู่ที่ติดต่อได้
- เรื่องที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน จึงจะได้รับให้ลงตีพิมพ์ในวารสาร โดยจะตอบรับการตีพิมพ์หรือปฎิเสธบทความ ภายใน 120 วัน หลังวันรับลงทะเบียนบทความ
- กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งตีพิมพ์ทุกเรื่องตามที่เห็นสมควร ในกรณีที่จำเป็นจะต้องส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้วคืนให้ผู้เขียน เพื่อความเห็นชอบอีกครั้งก่อนตีพิมพ์
Flowchart ขั้นตอนการพิจารณาบทความของวารสารผลิตกรรมการเกษตร