วารสารผลิตกรรมการเกษตร หรือ Journal of Agricultural Production (JAP) จัดทำโดยคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านการเกษตรหรือที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ของนักศึกษา คณาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการทั้งในและนอกสถาบัน มีกำหนดตีพิมพ์เผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ โดยกำหนดออกในเดือนเมษายน สิงหาคม และ ธันวาคมของทุกปี โดยเริ่มตีพิมพ์ฉบับแรก (ปีที่ 1 ฉบับที่ 1) ในเดือนเมษายน 2562

          รับบทความวิชาการด้านการเกษตร หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการเกษตร เป็นต้น ตีพิมพ์ในรูปแบบ บทความวิจัยเต็มรูปแบบ (Full length article) แบบเนื้อหาสั้น (Short communication) รวมถึงบทความประมวลความรู้เชิงวิเคราะห์ (Review article) หรือบทความปริทัศน์ โดยบทความดังกล่าวจะต้องไม่เคยได้รับการตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน บทความอาจจะเขียนโดยใช้ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ แต่บทคัดย่อจะต้องมีทั้งสองภาษา บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารจะต้องส่งในรูปแบบการเขียนตามที่กำหนด(ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคำแนะนำการเตรียมต้นฉบับสำหรับตีพิมพ์) ทุกบทความที่จะได้รับการตีพิมพ์จะทำการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ท่าน และเมื่อผ่านการประเมินแล้วกองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิมพ์ตามที่เห็นสมควร และไม่รับพิจารณาต้นฉบับที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์การตีพิมพ์ของวารสาร สำหรับผู้สนใจบทความสามารถเข้าถึงเนื้อหาผลงานตีพิมพ์ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (Open access) มีค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ 3,500 บาท ทั้งนี้ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ดังกล่าว จะไม่ได้รับคืนไม่ว่าจะเป็นกรณีใดๆ และไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาคุณภาพเพื่อตอบรับการตีพิมพ์เนื้อหาบทความในวารสารนี้ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียน โดยผ่านความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจอ่าน คณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและมิใช่ความรับผิดชอบของคณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้


อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ

ค่าธรรมเนียม แบบปกติ แบบเร่งด่วน (Fast Track)
อัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ
วารสารผลิตกรรมการเกษตร
3,500 7,000
(ชะลอการรับบทความ)

***เริ่มต้นเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับบทความที่ส่งเข้ามาหลังวันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป***

ประกาศมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เรื่อง กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความ

ประกาศชะลอรับการประเมินบทความประเภทเร่งด่วน (Fast Track)

2023-09-06

     เนื่องจากในปี พ.ศ. 2567 วารสารผลิตกรรมการเกษตรวางแผนในการเข้ารับการประเมินเพื่อเข้าสู่ฐาน TCI 1 รอบปี 2568-2572 ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ทาง TCI ได้กำหนดขึ้นมาใหม่นั้น วารสารฯ จึงขอชะลอรับการประเมินบทความประเภทเร่งด่วน (Fast Track) ออกไปก่อน มีผลตั้งแต่วันที่ 10 กันยายน 2566 จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง


     ขอขอบพระคุณ
     วารสารผลิตกรรมการเกษตร

ประกาศ เรื่อง การรับบทความวิจัยแบบเร่งด่วน ของวารสารผลิตกรรมการเกษตร

2022-12-19

     เนื่องด้วย มีผู้แต่งส่งบทความวิจัย เพื่อให้วารสาร ฯ พิจารณาในช่องทางแบบเร่งด่วนจำนวนมาก จนเกรงว่าจะไม่สามารถทำงานคุณภาพได้ตามมาตรฐานที่กำหนด เพื่อให้ทางวารสารผลิตกรรมการเกษตรสามารถบริหารจัดการบทความได้อย่างมีคุณภาพ จึงขอกำหนดจำนวนในการรับพิจารณาบทความวิจัยแบบเร่งด่วน จำนวน 6 เรื่อง/เดือน  ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ. 2566 เป็นต้นไป  ทั้งนี้  สำหรับบทความในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 ได้รับครบตามกำหนดแล้ว จึงขอปิดรับพิจารณาบทความแบบเร่งด่วนก่อน  

     ขอขอบพระคุณ
     วารสารผลิตกรรมการเกษตร


ประกาศเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการของวารสารผลิตกรรมการเกษตร

2022-10-18

วารสารผลิตกรรมการเกษตร กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ ดังนี้

  1. การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชการแบบปกติ อัตราเรื่องละ 3,500 บาท (สามพันห้าร้อยบาทถ้วน)
  2. การเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการแบบเร่งด่วน (Fast Track) อัตราเรื่องละ 7,000 บาท (เจ็ดพันบาทถ้วน)

       เมื่อผู้เขียนบทความได้รับแจ้งผลการพิจารณากลั่นกรองบทความ (ขั้นต้น) แล้ว ให้ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมตามอัตราดังกล่าวให้ครบถ้วนก่อน จึงดำเนินการส่งบทความความให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาประเมินต่อไป ทั้งนี้ ค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ 

       ทั้งนี้ มีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป 

       ประกาศเก็บอัตราค่าธรรมเนียมการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความทางวิชาการของวารสารผลิตกรรมการเกษตร

ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 (2023): พฤษภาคม - สิงหาคม 2566

เผยแพร่แล้ว: 2023-08-28

ผลของอุณหภูมิ ต่อ ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในชาใบหม่อน และการผลิตชาใบหม่อนผง

มาดีนา น้อยทับทิม, วรรษมน วัฑฒนายน, สิรินาถ ชูประจง, ตัซนีม สมวงค์, วุฒิชัย ศรีช่วย

1-9

การศึกษาสิ่งแปลกปลอมในข้าวสารของประเทศไทย

ขันทอง เพ็ชรนอก, ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์, กนกวรรณ ตุ้นสกุล

39-45

การประเมินความสัมพันธ์ขององค์ประกอบและคุณภาพผลผลิตของหม่อนผลพันธุ์ผสมเปิด

วัฒวาทิตย์ ไชยแสนท้าว, ชลธิรา แสงศิริ, เนตรนภา อินสลุด, ธนพร ขจรผล

56-66

อิทธิพลของน้ำหมักชีวภาพต่อการปลดปล่อยธาตุอาหารพืชจากฟางข้าว

ชนากานต์ แย้มฎีกา, ผานิตย์ นาขยัน, สาวิกา กอนแสง, ภาวิณี อารีศรีสม, วีณา นิลวงศ์

67-78

โมเดลการส่งเสริมการปลูกผักในเมืองเพื่อสุขภาวะของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร

เสาวรัจ นิลเนตร, บำเพ็ญ เขียวหวาน, เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, ทิพวรรณ ลิมังกูร

114-124

ดูทุกฉบับ