การศึกษาดินในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบดินในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรือง เพื่อให้เป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีการปลูกดาวเรือง ทำการทดลองที่แปลงเกษตร คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD) จำนวน 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 กระถาง โดยปลูกดาวเรืองพันธุ์ดับเบิ้ล อีเกิ้ล (Double eagle) ทำการเปรียบเทียบดินที่แตกต่างกันทั้งหมด 5 แหล่ง ดังนี้ 1) ชุดควบคุม 2) ดินในอำเภอท่ายาง 3) ดินในอำเภอบ้านลาด 4) ดินในอำเภอเมือง และ 5) ดินในอำเภอบ้านแหลม จากการศึกษาพบว่า อัตราการรอดตายของต้นดาวเรืองที่ย้ายปลูก 49 วัน ในสัปดาห์ที่ 1 ร้อยละการรอดตายเท่ากับ 100 เมื่อต้นกล้าดาวเรืองสัปดาห์ที่ 2 ร้อยละการรอดตายเท่ากับ 44 และดาวเรืองที่ปลูกด้วยดินในอำเภอบ้านแหลม หลังย้ายปลูกมีอัตรา การรอดตายได้เพียง 7 วัน ดาวเรืองที่ปลูกด้วยดินในอำเภอเมือง มีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด ในด้านความสูง ความกว้างทรงพุ่ม และจำนวนดอก (70.11 เซนติเมตร 33.44 เซนติเมตร และ 5.44 ดอก ตามลำดับ) ดังนั้นดินในอำเภอเมือง มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของดาวเรืองมากที่สุด สามารถเป็นแนวทางในการส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ให้มีการปลูกดาวเรืองตัดดอก
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กลุ่มส่งเสริมไม้ดอกและไม้ประดับ. 2564. ดาวเรือง. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2565/41marigold.pdf (3 มิถุนายน 2566).
กองสำรวจดินและวิจัยทรัพยากรดิน. 2557. แผนที่และสารสนเทศดิน เพื่อการใช้และบริหารจัดการที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด. แหล่งข้อมูล http://oss101.ldd.go.th/web_thaisoilinf/central/Phetchaburi/pb_prov.html (3 มิถุนายน 2566).
กรมพัฒนาที่ดิน. 2553. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการวิเคราะห์ตรวจสอบดินทางเคมี. สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.
กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2558. คู่มือการพัฒนาที่ดินสำหรับหมอดินอาสาและเกษตรกร. กรมพัฒนาที่ดิน กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดินกลุ่มวิจัยและพัฒนาหมอดินอาสาและบริหารจัดการเครือข่าย, กรุงเทพฯ.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. องค์ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสู่การเป็น smart officer ไม้ดอกไม้ประดับ. กลุ่มส่งเสริมการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร.
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. เทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ. นิวธรรมดาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
คณาจารย์ภาควิชาปฐพีวิทยา. 2541. ปฐพีวิทยาเบื้องต้น. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เจริญ ชาญวิศณุรักษ์ สุรวิช วรรณไกรโรงน์ และอำไพวรรณ ภราครนุวัฒน์. 2541. ไม้ดอกกระถาง. เอกสารประกอบการฝึกอบรมศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.
ทวีพงศ์ สุวรรณโร เอกวัฒน์ จันทรวงศ์ เรณู ดอกไม้หอมและรุจิพร จารุพงศ์. 2545. คำแนะนำที่ 109 เรื่องการปลูกดาวเรือง. กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.
นพดล เรียบเลิศหิรัญ. 2538. การปลูกพืชไร้ดิน. สำนักพิมพ์ รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
ผการัตน์ รัตน์เขต. 2535. ดินป่าไม้. ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
พรชัย ปรีชาปัญญา. 2544. ภูมิปัญญาพื้นบ้านเกี่ยวกับระบบนิเวศวนเกษตรบนแหล่งต้นน้ำลำธารในภาคเหนือ. ธนบรรณการพิมพ์, เชียงใหม่.
ภัทราวุธ พุสิงห์. 2555. คู่มือการจัดการดินและการอนุรักษ์ดิน. สำนักพิมพ์กรมพัฒนาที่ดินและสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, กรุงเทพฯ.
ทองเฉลิม. 2559. เทคนิคการปลูกเมล็ดพันธุ์ดาวเรืองทองเฉลิมในช่วงฤดูหนาว. แหล่งข้อมูล https://www.thongchalerm.com/Files/Name2/CONTENT1323905427557.pdf (20 กุมภาพันธ์ 2562).
ยงยุทธ โอสถสภา. 2543. ธาตุอาหารพืช. ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
รุ้งเพ็ชร วิลาวัณย์วจี. 2547. การศึ กษาความเป็นไปได้ของการลงทุนปลูกดาวเรืองในจังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัลลภ พรหมทอง. 2541. ไม้ดอกยอดฮิต ตระกูลคอมโพซิเต้. สำนักพิมพ์มติชน, กรุงเทพฯ.
วุฒิชาติ สิริช่วยชู และคณะ. 2548. มหัศจรรย์พันธุ์ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ดิน, กรุงเทพฯ.
สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2558. ชนิดของดาวเรือง. แหล่งข้อมูล http://www3.rdi.ku.ac.th/?p=18937 (3 มิถุนายน 2566).
สมชาย องค์ประเสริฐ. 2531. เอกสารคำสอนปฐพีศาสตร์เบื้องต้น . ภาควิชาดินและปุ๋ย คณะผลิตกรรมการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้, เชียงใหม่.
สมเพียร เกษมทรัพย์. 2524. ดาวเรือง ไม้ตัดดอกเศรษฐกิจ. วารสารพืชสวน 16(2): 25-31.
โสระยา ร่วมรังษี. 2544. การผลิตพืชสวนแบบไม่ใช้ดิน. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี. 2566. ทรัพยากรธรรมชาติ. แหล่งข้อมูล http://www.phetchaburi.doae.go.th/introduction/intro4.htm (13 มกราคม 2566).
Bray II, R.H. and L.T. Kurtz. 1945. Determination of Total Organic and Available Forms of Phosphorus in Soils. Soil science 59(1): 39-45. Available: DOI:10.1097/00010694-194501000-00006.
Jackson, M.L. 1958. Soil Chemical Analysis. Prentice Hall Inc. Englewood Cliffs, NJ 498(1958): 183- 204. Available: https://doi.org/10.1002/jpln.19590850311.
Peech, M. 1965. Hydrogen-ion activity. Methods of Soil Analysis: Part 2 Chemical and Microbiological Properties 9: 914-926. Available: https://doi.org/10.2134/agronmonogr9.2.c9.
Rayment, G.E. and D.J. Lyons. 2011. Soil Chemical Methods-Australasia. Csiro Publishing, Australia.
Scott, B.J. and A.D. Robson. 1990 b. Distribution of magnesium in subterrancan clover in relation to suppy. Aust. Australian Journal of Agricultural Research 41(3): 499-510. Available: https://doi.org/10.1071/AR9900499.
Walkley, A. 1947. A Critical Examination of a Rapid Method for Determining Organic Carbon in Soils: Effect of Variations in Digestion Conditions and of Inorganic Soil Constituents. Soil science 63(4): 251-264. Available:DOI:10.1097/00010694-194704000-00001.