การพัฒนาศักยภาพสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน กรณีศึกษาศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชในปัจจุบันของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ตำบลกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 2) ทราบความต้องการการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 3) พัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน และ 4) ประเมินผลการพัฒนาศักยภาพในการบริหารจัดการศัตรูพืชของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยเป็นสมาชิกกลุ่มไมต่ำกวา่ 1 ปี และสมัครใจเข้าร่วม จำนวน 32 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบ สอบถาม แบบทดสอบความรู้และทักษะวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ T-test ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกผู้เข้าร่วมพัฒนาศักยภาพส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเกือบทั้งหมดเป็นสมาชิกมากกว่า 9 ปี มีอายุเฉลี่ย 61 ปี มีการปลูกมังคุดเป็นหลัก ศักยภาพ ในปัจจุบันก่อนการพัฒนา พบว่า ความรู้และทักษะด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน อยู่ในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.38 และ 2.83) ด้านสำรวจและติดตามสถานการณ์ศัตรูพืช มีความรู้ระดับน้อย และทักษะระดับน้อยมาก (ค่าเฉลี่ย 2.44 และ 1.77) และด้านการผลิตขยายศัตรูธรรมชาติชีวภัณฑ์เพื่อใช้ควบคุมศัตรูพืช มีความรู้และทักษะในระดับน้อย (ค่าเฉลี่ย 2.47 และ 2.46) สมาชิกมีมติเลือกพัฒนาศักยภาพด้านการเกษตรเพื่อการบริหารจัดการศัตรูพืชได้อย่างยั่งยืน โดยใช้กระบวนการโรงเรียนเกษตรกรในพระราชดำริ และการมีส่วนร่วมถ่ายทอดความรู้ 4 หัวข้อ ได้แก่ การจัดทำปฏิทินการดูแลมังคุดตลอดระยะ 1 ปี การจำแนกศัตรูพืชศัตรูธรรมชาติเบื้องต้น การจัด การศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน และการวิเคราะห์ระบบนิเวศเกษตร โดยเรียนรู้ภาคทฤษฎีและมีการฝึกปฏิบัติควบคู่กัน ศักยภาพหลังการพัฒนาด้านการบริหารจัดการศัตรูพืชอย่างยั่งยืน สมาชิกมีความรู้และทักษะ ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.34 และ 3.76) การเปรียบเทียบผลการพัฒนาพบว่า สมาชิกมีความรู้และทักษะหลังการพัฒนาเพิ่มขึ้นจากก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ (P<0.05)
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. คู่มือโรงเรียนเกษตรกรเพื่อการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสาน ฉบับปรับปรุง. นิวธรรมดาการพิมพ์, กรุงเทพฯ.
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย. 2561. คู่มือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน (ศจช.). กลุ่มพัฒนาสื่อส่งเสริม สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี, กรมส่งเสริมการเกษตร.
กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย. 2565. สรุปผลการจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ปี 2565. [เอกสารคัดสำเนา]. กรมส่งเสริมการเกษตร.
ปาริชาติ อาภรณ์วิชานพ. 2555. ความคิดเห็นของคณะกรรมการต่อการดำเนินงานศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พนิดา นันต๊ะหน้อย. 2557. การจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของสมาชิกศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐยา กลั่นจุ้ย. 2556. การดำเนินงานของศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร, สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ไวพจน์ บรรจง. 2553. การพัฒนาเกษตรกรแบบมีส่วนร่วมกรณีศึกษาโรงเรียนเกษตรกรตำบลมะเกลือใหม่ อำเภอ สูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการการเกษตร, สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศักรินทร์ ชนประชา. 2557. ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่: สิ่งที่ครูสอนผู้ใหญ่ต้องเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ 25(2): 13-23.
สยามรัฐออนไลน์. 2561. ประเทศแห่งสารพิษ. แหล่งข้อมูล https://siamrath.co.th/n/31128 (15 กุมภาพันธ์ 2564).
สำนักพัฒนาการถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมส่งเสริมการเกษตร. 2558. การจัดการศัตรูพืชในงานส่งเสริมการเกษตร. แหล่งข้อมูล https://k-station.doae.go.th/?p=1661 (12 กันยายน2562).