ความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmers) ในภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การสื่อสารเป็นสิ่งพื้นฐานที่สำคัญในการส่งเสริมการเกษตร ซึ่งการส่งเสริมการเกษตรจำเป็นจะต้องเลือกใช้สื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคม 2) เพื่อศึกษาการรับข่าวสารทางการเกษตร 3) เพื่อศึกษาความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตร 4) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่ และ 5) เพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการสื่อสารด้านการเกษตรของเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบน โดยมีเกษตรกรรุ่นใหม่ในภาคเหนือตอนบนเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 270 คน เก็บรวบรวมข้อมูลในปี พ.ศ. 2565 โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรรุ่นใหม่ส่วนใหญ่เป็น เพศชาย มีอายุเฉลี่ย 37.66 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4 คน มีแรงงานทางการเกษตรเฉลี่ย 3 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 14.62 ไร่ มีรายได้จากการเกษตรเฉลี่ย 233,771.76 บาทต่อปี ใช้เงินลงทุนในการทำการเกษตรเฉลี่ย 120,674.01 บาทต่อปี เข้าร่วมโครงการ Young Smart Farmer เฉลี่ย 3 ปี ในปี พ.ศ. 2564 มีการเข้าร่วมอบรมและศึกษาดูงานในด้านการเกษตรเฉลี่ย 3 ครั้ง มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ใน 3 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ การแปรรูปผลผลิต การทำเกษตรในระบบ GAP และการตลาด เป็นสมาชิกกลุ่มหรือเครือข่ายเฉลี่ย 2 กลุ่ม มีแหล่งข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ย 3 แหล่ง มีความเชื่อถือต่อแหล่งข่าวสารอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.55) มีช่องทางการใช้สื่อในการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตรเฉลี่ย 14 ช่องทาง มีการรับรู้ข่าวสารทาง การเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.09) มีความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 4.05) โดยต้องการข่าวสารด้านการตลาด (ทักษะการเป็นผู้ประกอบการเกษตร) และต้องการสื่อเฉพาะกลุ่ม (ความร่วมมือจากมหาวิทยาลัย) มากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตร (P = 0.004) ระดับการศึกษา (P = 0.045) และช่องทางการใช้สื่อในการเปิดรับข่าวสารทางการเกษตร (P = 0.012) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในทางกลับกัน ระยะเวลาในการเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ (P = 0.034) มีความสัมพันธ์เชิงลบกับความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้เกษตรกรรุ่นใหม่มีปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสารด้านการเกษตรอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ย 3.10) ให้ความสำคัญไปที่ปัญหาด้านข้อมูลข่าวสาร โดยเฉพาะนโยบายภาครัฐไม่ตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกร ข่าวสารทางการเกษตรที่ทันสมัยมีจำนวนน้อย และขาดการให้ข้อมูลเชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรโดยเกษตรกรรุ่น ใหม่มีข้อเสนอแนะ เห็นควรให้ข่าวสารมีการคัดกรองความถูกต้องให้รายละเอียดครบถ้วน มีความน่าเชื่อถือและทันสมัย และควรมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเกษตรกรรุ่นใหม่กับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเพิ่มขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2560. Young Smart Farmer อนาคตและทิศทางภาคการเกษตรไทย เล่มที่ 2. ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.
จิตราพรรณ ทันห่วง. 2557. อิทธิพลของสื่อต่อการรับรู้และความต้องการข่าวสารเทคโนโลยีการเกษตรของเกษตรอำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชญาณ์พิมพ์ พรหมจันทร์. 2562. การรับสื่อทางการเกษตรของเกษตรกรในอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ณัฐชา อิสระกุล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2563. การเปิดรับสื่อสังคมออนไลน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 58, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 5-7 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 608-615.
ณัฐชา อิสระกุล และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2565. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์ของเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 40(1): 85-93.
นงลักษณ์ วิรัชชัย. 2555. การกำหนดขนาดตัวอย่างในการทดสอบสมมุติฐานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: กรุงเทพฯ.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. 2561. แนวคิด หลักการ และกระบวนการวิจัย: เชิงปริมาณ คุณภาพ และผสานวิธีการเขียนวิทยานิพนธ์. สำนักพิมพ์ปัญญาชน, กรุงเทพฯ.
พงศกร กาวิชัย สมคิด แก้วทิพย์ เฉลิมชัย ปัญญาดี และสุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. 2565. การวิเคราะห์นโยบายการพัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่สู่การปฏิบัติเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารพื้นที่ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 4(3): 75-92.
พิกุล ประวัติเมือง ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล สุรพล เศรษฐบุตร และทศพล มูลมณี. 2564. การปรับตัวของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในจังหวัดเชียงใหม่เพื่อรองรับผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรี. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 3(2): 43-55.
ภัสสรา สุขกาญจนะ. 2565. การรับรู้สารสนเทศทางการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรและส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วิทเอก สว่างจิตร. 2564. การพัฒนาสมรรถนะเกษตรกรสู่การเป็นผู้นำเกษตรกรรุ่นใหม่. วารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตร 38(1): 126-134.
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร. 2566. โครงการทุนปริญญาตรีเพื่อเกษตรกรรุ่นใหม่ (Smart Farmer). แหล่งข้อมูล https://www.arda.or.th/scholarship/?fbclid=IwAR1lbgB1BZ4s9zh9y4A0wceDrvGR7FlCrmo17sZGCnhZVO5 GNY6CEBfBkzg (11 มีนาคม 2566).
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 จังหวัดเชียงใหม่. 2565. สรุปจำนวน Young Smart Farmer ปี 2565. เอกสาร PDF. เชียงใหม่.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2562. แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ. 2560-2565 ฉบับทบทวน. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
อดิพล เอื้อจรัสพันธุ์. 2562. การใช้สื่อทางการเกษตรของเกษตรกรไทย. วารสารศาสตร์ 12(2): 124-164.
Cohen, J. 1977. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Academic Press, New York.
Faul, F., E. Erdfelder, A. Buchner and A.-G. Lang. 2009. Statistical power analyses using G*Power 3.1: Tests for correlation and regression analyses. Behavior research methods 41(4): 1149-1160. Available: https:// doi.org/10.3758/BRM.41.4.1149.
Likert, R. 1961. New Patterns of management. McGraw-Hill Book Company, New York.
Louangphan, J., P. Kruekum, P. Parapanya and K. Areesrisom. 2022. Factors Influencing Organic Agriculture Standards Practices of Organic Vegetable Farmers in Vientiane Capital, Lao People’s Democratic Republic. Maejo Journal of Agricultural Production 4(2): 116- 127.
Pattrawiwat, K., J. Poung-Ngamchuen and N. Seerasarn. 2019. Participatory Development of Young Smart Melon Growing Farmers Network, POSA Sub-District, Muang District, Angthong Province, Thailand. International Journal of Advances in Science Engineering and Technology 7(4): 49-53.