การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของบัวหลวงราชินีในจังหวัดเพชรบุรีด้วยวิธีแบบอาร์เอพีดี

Main Article Content

ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส
บุญชาติ คติวัฒน์

บทคัดย่อ

       การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของบัวหลวง จำนวน 19 ตัวอย่าง ซึ่งเก็บรวบรวมมาจากอำเภอต่างๆใน จังหวัดเพชรบุรี ตรวจสอบลายพิมพ์ดีเอ็นเอ ด้วยเทคนิค Random Amplified polymorphic DNA (RAPD) ใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอแบบอาร์เอพีดีจำนวน 159 เครื่องหมาย พบว่าไพรเมอร์ที่แสดงความแตกต่างระหว่างพันธุกรรมบัวหลวง จำนวน 17 ไพรเมอร์ จำนวน 40 ตำแหน่ง นำลายพิมพ์ดีเอ็นเอในแต่ละตำแหน่งมาเปรียบเทียบกัน โดยพิจารณาจากการปรากฏโดยให้สัญลักษณ์การปรากฏของแถบดีเอ็นเอ เป็น (1) และให้สัญลักษณ์การไม่ปรากฏของแถบดีเอ็นเอเป็น (0) ใน ตำแหน่ง Locus เดียวกันการวิเคราะห์ข้อมูลจากโปรแกรมสำเร็จรูป NTSYSpc version 2.01d โดยใช้ค่า Jaccard’s coefficient พบว่า ดัชนีความเหมือนทางพันธุกรรมของบัวทั้ง 19 สายพันธุ์ สามารถจัดแบ่งกลุ่มได้ทั้งหมด 3 กลุ่ม ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มนั้นมีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ระหว่าง 0.23 ถึง 1.00 โดยตัวอย่างที่ 7, 8, 11 และ  13 มีค่าดัชนีความเหมือนสูงสุด คือ 1.00 ซึ่งทั้ง 4 ตัวอย่างนี้น่าจะเป็นสายพันธุ์เดียวกันจัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ส่วนตัวอย่างที่มีค่าดัชนีความเหมือนต่ำสุดอยู่ที่ 0.23 ได้แก่ ตัวอย่างที่ 15 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 และตัวอย่างที่ 2 กับ  3 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 2 มีค่าดัชนีความเหมือนอยู่ที่ 0.67

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ แดงสวัสดิ์ วิภา หงษ์ตระกูล นิตย์ศรี แสงเดือน และนิรันดร์ จันทวงศ์. 2551. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของบัวหลวงโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดีและเอเอฟแอลพี. รายงานการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 46, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 29 กุมภาพันธ์ – 1 มกราคม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 128-134.

ดาราลักษณ์ เยาวภาคย์โสภณ อ้อมหทัย ดีแท้ และวิมลรัตน์ พจน์ไตรทิพย์. 2561. การวิเคราะห์ลายพิมพ์ดีเอ็นเอของพืชสมุนไพรบางชนิดในป่าชุมชนบ้านหัวทุ่งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่โดยใช้เทคนิค RAPD. รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 28, มหาวิทยาลัยทักษิณ 8-9 พฤษภาคม. มหาวิทยาลัยทักษิณ, จังหวัดสงขลา. น. 658-667.

นฤมล ธนานันต์ และธีระชัย ธนานันต์. 2550. การจำแนกพันธุ์บัวหลวงด้วยเครื่องหมายเอเอฟแอลพี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 15(3): 66-71.

นรารัตน์ วัฒนาพันธ์ และวุฒิชัย ศรีช่วย. 2561. การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวพื้นเมืองในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยใช้เทคนิค RAPD และเทคนิค HAT-RAPD. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 10(3): 206-217.

ปริมลาภ ชูเกียรติมั่น. 2555. การจำแนกจำพวกของบัวที่ปลูกเลี้ยงในประเทศไทย. ข่าวสารเกษตรศาสตร์ 57(3): 13-28.

พรเทพ เกียรติดำรงกุล สมชาติ หาญวงษา ยรรยง เฉลิมแสนและณวรรณพร จิรารัตน์. 2560. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของต้นสบู่ดำในประเทศไทย โดยเทคนิค Random Amplified Polymorphic DNA. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 25(3): 435-442.

ภาวิณี อินนาค. 2561. การประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลีลาวดีโดยใช้เทคนิค RAPD. รายงานการวิจัยการประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของลีลาวดีโดยใช้เทคนิค RAPD. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

เยาวมาลย์ น้อยใหม่ รุจิรา เดชสูงเนิน และกฤษณะ กลัดแดง. 2564. เปรียบเทียบลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของบัวหลวง 4 สายพันธุ์เพื่อการใช้ประโยชน์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 20(1): 53-67.

รัชนีกร พรสมบัติ กรกนก โมกไธสง กนิษฐา เทียบพระ ฉันทนา เคนศรี และวิไลลักษณ์ สุดวิไล. 2564. ความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของสับปะรดไร่ม่วง อำเภอเมือง จังหวัดเลย ดว้ ยเครื่องหมายอารเ์ อพีดี. รายงานการประชุม วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 3, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 26 มีนาคม. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, จังหวัดเลย. น.161-16.

วริสรา แทนสง่า เปรมณัช ขุนปักษี ธีระชัย ธนานันต์ และนฤมล ธนานันต์. 2556. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืชในวงศ์จำปาด้วยเทคนิคแฮตอาร์เอพีดี. การประชุมวิชาการพันธุศาสตร์แห่งชาติครั้งที่ 18, 7 กรกฎาคม 2556 – 19 กรกฎาคม 2556, โรงแรมแอมบาสเดอร์ สุขุมวิท, กรุงเทพฯ. น. 210-213.

วรรณอุษา ผาคำ. 2563. สัณฐานวิทยาและความหลากหลายทางพันธุกรรมมะม่วงโดยใช้เทคนิค RAPD. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ศาสตรา ลาดปะละ พรอนันต์ บุญก่อน และหฤทัย ไทยสุชาติ. 2561. ความหลากหลายทางพันธุกรรมของข้าวเหนียวดำในจังหวัดลำปางโดยใช้เทคนิคRAPD. แก่นเกษตร 1(2561): 468-477.

ศรัณยา กิตติคุณไพศาล. 2566. บัวหลวงราชินี. ดอกบัวแสนสวย. แหล่งข้อมูล https://www.gotoknow.org/posts/450088 (30 มีนาคม 2566).

สุจิตรา จางตระกูล. 2551. การศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมโดยใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอและไอโซเอนไซม์ยีนเพื่อการประเมินสถานภาพแหล่งทรัพยากรทางพันธุกรรมป่าไม้. แหล่งข้อมูล https://www.dnp.go.th/geneticsgroup/genetic (30 มีนาคม 2566).

สุรินทร์ ปิยะโชคณากุล. 2552. เครื่องหมายดีเอ็นเอ: จากพื้นฐานสู่การประยุกต์. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Doyle, J.J. and J.L. Doyle. 1987. A rapid DNA isolation procedure for small quantities fresh leaf tissue. Phytochemical bulletin 19(1): 11-15.

Hu, J., L. Pan, H. Liu, S. Wang, Z. Wu, W. Ke and Y. Ding. 2012. Comparative analysis of genetic diversity in sacred lotus (Nelumbo nucifera Gaertn.) using AFLP and SSR markers Molecular Biology Reports 39: 3637-3647. Available: https://doi.org/10.1007/s11033-011-1138-y.

Kubo, N., M. Hirrai, A. Kaneko, D. Tanaka and K. Kasumi. 2009. Development and characterization of simple sequence repeat (SSR) markers in the water lotus (Nelumbonucifera). Aquatic Botany 90(2): 191-194. Available: https://doi.org/10.1016/j.aquabot.2008.06.006.

Li, Y., F.L. Zhu, X.W. Zheng, M.L. Hu, C. Dong, Y. Diao, Y.W. Wang, K.Q. Xie and Z.L. Hu. 2020. Comparative population genomics reveals genetic divergence and selection in lotus, Nelumbo nucifera. BMC Genomics 21: 1-13. Available:https://doi.org/10.1186/s12864-019-6376-8.

Li, J.K. and S.Q. Haung. 2009. Effective pollinators of Asian sacred lotus (Nelumbo nucifera): Contemporary pollinators may not reflect the historical pollination syndrome. Annals of Botany 104(5): 845-851. Available: https://doi.org/10.1093/aob/mcp173.

Liu, X., J. Cheng, Z. Mei, C. Wei, M. A. Khan, J. Peng, and J. Fu. 2020. SCAR marker for identification and discrimination of specific medicinal Lycium chinense Miller from Lycium species from ramp-PCR RAPD fragments. Biotech10: 1-7. Available: https://doi.org/10.1007/s13205-020-02325-y.

Na, A. N., H.B. Guo and W.D. KE. 2009. Genetic variation in rhizome lotus (Nelumbo nucifera Gaertn. ssp. nucifera) germplasms from China assessed by RAPD markers Agricultural Sciences in China 8(1): 31-39. Available: https://doi.org/10.1016/S1671-2927(09)60006-7.

Tian, H., X. Chen, J. Xue, J. Wen, G. Mitchell and S. Zhou. 2008. Development and characterization of microsatellite loci for lotus (Nelumbo nucifera). Conservation Genetics 9: 1385-1388. Available: https://doi.org/10.1007/s10592-007-9503-z.

Yang, L., S. Fu, M.A. Khan, W. Zeng and J. Fu. 2013. Molecular cloning and development of RAPD-SCAR markers for Dimocarpus longan variety authentication. SpringerPlus 2: 1-8. Available: https://doi.org/10.1186/2193-1801-2-501.