ผลของการให้ขี้แดดนาเกลือและปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพทางเคมีกายภาพของผลฝรั่งพันธุ์กิมจู

Main Article Content

บุญชาติ คติวัฒน์
ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส
กิตติมา ลีละพงศ์วัฒนา

บทคัดย่อ

      ต้นฝรั่งต้องการปุ๋ยเคมีปริมาณมากที่ใช้ตั้งแต่ปลูกจนถึงก่อนเก็บเกี่ยว ปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้แดดนาเกลือ) ยังไม่ค่อยมีการใช้ในการปลูกฝรั่งและมีเอกสารที่เกี่ยวข้องน้อยมาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอิทธิพลของปุ๋ยอินทรีย์ (ขี้แดดนาเกลือ) และปุ๋ยเคมีต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลฝรั่งกิมจูสด วางแผนการทดลองแบบบล็อกสุ่มสมบูรณ์ที่มีการใส่ปุ๋ย 6 กรรมวิธี (T1: ควบคุม, ไม่ใส่ปุ๋ย; T2: ปุ๋ยเคมีตามแบบเกษตรกร; T3: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 750 กรัม/ต้น; T4: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,000 กรัม/ต้น; T5: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,250 กรัม/ต้น และ T6: ขี้แดดนาเกลืออัตรา 1,500 กรัม/ต้น) การตอบสนองที่ดีที่สุดสำหรับขนาดและน้ำหนักของผล คือ การได้รับปุ๋ยเคมีซึ่งช่วยให้ผลฝรั่งมีขนาดใหญ่ขึ้นและมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นพร้อมกับความแน่นเนื้อแน่นที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามน้ำหนักผลเฉลี่ยของการใช้ขี้แดดนาเกลือที่ 1,250 และ 1,500 กรัม/ต้น ใกล้เคียงกับการให้ปุ๋ยแบบดั้งเดิมซึ่งจัดอยู่ในชั้นมาตรฐานเดียวกัน การใช้ขี้แดดนาเกลือไม่มีผลเพิ่มกรดแอสคอร์บิกและความเป็นกรดที่ไทเทรตได้เมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี แต่เพิ่มความหวานอย่างมีนัยสำคัญซึ่งเป็นผลจากการปรับปรุงปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ที่อัตรา 1,500 กรัม/ต้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการเกษตร. 2557. ประกาศกรมวิชาการเกษตร:กำหนดเกณฑ์ปุ๋ยอินทรีย์ พ.ศ. 2557. กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นและนวัตกรรมด้านการเกษตร. 2564. ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร การผลิตเกลือ. กองวิจัยและพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร, กรุงเทพฯ.

จักรพงศ์ จิระแพทย์ ธนกฤต ใจดี และสุดารัตน์ พูลเทพ. 2564. อุณหภูมิและปริมาณน้ำฝนต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของฝรั่งพันธุ์กิมจู. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 13(2): 386-399.

จันทร์เพ็ญ สะระ ฉันทนา วิชรัตน์ ธีรนุช เจริญกิจ และแสงทอง พงษ์เจริญกิต. 2564. ความคงตัวทางพันธุกรรมของฝรั่ง. วารสารผลิตกรรมการเกษตร3(1): 87-97.

เจษฎา คตสำโรง. 2556. การพัฒนาการปลูกข้าวด้วยหัวเชื้อราอัดเม็ดราชมงคลธัญบุรีร่วมกับสารปรับปรุงดินชีวภาพ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ระบบสารสนเทศการผลิตทางด้านการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2565. รายงานสถิติทางการเกษตร กลุ่มไม้ผล ฝรั่งพันธุ์กิมจู. แหล่งข้อมูล https://production.doae.go.th/report (11 เมษายน 2566).

รุ่งเกียรติ แก้วเพชร อรประภา เทพศิลปะวิสุทธิ์ พักตร์เพ็ญ ภูมิพันธ์ และสมชาย ชคตระการ. 2561. แนวทางในการพัฒนากระบวนการผลิตฝรั่งอินทรีย์: กรณีศึกษาเกษตรกรผูป้ ลูกฝรั่ง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 26(4): 657- 668.

บุญวัฒน์ มหาทรัพย์ และสุริยันต์ สุภาพวานิช. 2559. ผลของการใช้กรดซาลิไซลิกต่อลักษณะปรากฏและการเปลี่ยนแปลงสีของฝรั่งพันธุ์กิมจู. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3: 120-125.

ไพรัช พงษ์วิเชียร. 2560. การเกษตรในพื้นที่ดินเค็มของประเทศไทยเพื่อรับมือกับความต้องการทางอาหาร. กองวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

ภาสุรี ฤทธิเลิศ. 2564. การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตมะม่วงหาวมะนาวโห่แช่อิ่มอบแห้ง. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า 39(3): 239-247.

ศุภสิทธิ์ สิทธาพานิช พรทิพย์ ศรีมงคล วิมลนันทน์ กันเกตุ และพุทธิภณ ศิริมูล. 2561. อิทธิพลของปุย๋ โพแทสเซียมต่อผลผลิตและองค์ประกอบผลผลิตของข้าวเหนียวที่ปลูกในสภาพดินเค็ม. แก่นเกษตร 46(4): 739-748.

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. 2553. มาตรฐานสินค้าเกษตร: ฝรั่ง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2562. แนะพืชทางเลือกน่าสนใจ กำไรดี ทดแทนนาข้าวไม่เหมาะสมพื้นที่ปทุมธานี. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.

สำนักวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ดิน. 2547. คู่มือการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ ปุ๋ย พืช วัสดุปรับปรุงดินและการวิเคราะห์เพื่อตรวจรับรองมาตรฐานสินค้า, กรุงเทพฯ.

สรณพงษ์ บัวโรย สมบัติ บุตรฉุย สรุริยา หรือประเสริฐ เรืองเดช เกิดจงรักษ์ สมทรง แสงตะวัน นัฐยา เพชรพุ่ม ชิษณุวัฒน์ มณีศรีขำ มนู บุญเสริม และบุญปรอด เจริญฤทธิ์. 2545. โครงการศึกษาคุณสมบัติและการใช้ประโยชน์ขี้แดดนาเกลือ ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

โสฬส แซ่ลิ้ม. 2559. ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรียวัตถุ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน, กรุงเทพฯ.

AOAC. 2000. Official Methods of Analysis. 17th Edition. The Association of Official Analytical Chemists, Washington, DC.

Bogha, T.T., A.R. Sawate, R.B. Kshirsagar and S.S. Bochare. 2020. Studies on physical, chemicaland mineral evaluation of guava (Psidiumguajava L.). Pharma Innovation Journal 9(3): 117-119.

Hassan, M.H.M., Y. Awang, J.N. Jaafar, Z. Sayuti, M.N.O. Ghani, Z.H.M. Sabdin and M.H. Nazli. 2022. Effects of salinity sources on growth, physiological process, yield, and fruit quality of grafted rock melon (Cucumis melo L.). Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science 45(4): 919-941. Available: DOI:https://doi.org/10.47836/pjtas.45.4.05.

Jain, N., K. Dhawan, S. Malhotra and R. Singh. 2003. Biochemical of fruit ripening of guava (Psidium guajava L.): compositional and enzymatic changes. Plant Foods for HumanNutrition 58: 309-315. Available: https://doi. org/10.1023/B:QUAL.0000040285.50062.4b.

Kaur, H. and G. Kaur. 2017. Effect of inorganic and organic fertilizers on fruit quality and yield attributes in guava cv. Sardar. International Journal of Advanced Research 5(12): 1346- 1351. Available: DOI:10.21474/IJAR01/6093.

Kumar, G.N.K., V.S. Vani, A.V.D.D. Rao, P. Subbaramamma and R.V. Sujatha. 2017. Effect of foliar sprays of urea, potassium sulphate and zinc sulphate on quality of guava cv. Taiwan pink. International Journal of Chemical Studies 5(5): 680-682.

Mercada-Silva, E., P. Benito-Bautista and M.D.L.A. Garcia-Velasco. 1998. Fruit development, harvest index and ripening changes of guavas produced in central Mexico. Postharvest Biology and Technology 13(2): 143-150. Available: https://doi.org/10.1016/S0925-5214(98)00003-9.

Mohamed, M.H.M., S.A. Petropoulos and M.M.E. Ali. 2021. The application of nitrogen fertilization and foliar spraying with calcium and boron affects growth aspects, chemical composition, productivity and fruit quality of strawberry plants. Horticulturae 7(8): 257-273. Available: https://doi.org/10.3390/horticulturae7080257.

Sharma, R., P.K. Jain and T.R. Sharma. 2016. Improvement in productivities and profitability in high density orchard of mango (Mangifera indica L) cv. Amrapali through integrated nutrient. Economic Affairs 61(3): 533-538. Available: DOI:10.5958/0976-4666.2016.00067.X.