ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรเพื่อสร้างนวัตกรรมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมของประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมของเกษตรกรในพื้นที่ประเทศไทย และ 3) ความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมต่อระดับการปฏิบัติมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรเพื่อการสร้างนวัตกรรมในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมพื้นที่ประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 53.26 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา มีสถานะสมรสเป็นส่วนใหญ่ จำนวนสมาชิกในครัวเรือน 1-4 คน ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 10.85 ปี พื้นที่ปลูกมะพร้าวน้ำหอม 1-10 ไร่ ผลผลิตจากการปลูกเฉลี่ย 4,959.78 ลูก/ไร่/ปี รายได้จากการจำหน่ายมะพร้าวน้ำหอมเฉลี่ย 42,706.52 บาท/ไร่/ปี ส่วนใหญ่การใช้แรงงานในครอบครัว แหล่งเงินทุนส่วนตัวมีช่องทางรับข่าวสารจากบุคคล/เพื่อน/ญาติ และความรู้ในการปลูกมะพร้าวน้ำหอมในระดับมาก ผลการทดสอบสมมุติฐานการวิจัยพบว่า เกษตรกรมีระดับการศึกษา และสถานภาพ มีการใช้มาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างนวัตกรรมการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนการใช้มาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างนวัตกรรมการปลูกมะพร้าวน้ำหอมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ปัญหาที่พบเรื่องโรค และแมลงศัตรูมะพร้าวน้ำหอมและขาดแคลนแรงงานในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม สำหรับมาตรฐานการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรยังจำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือในการปลูกมะพร้าวน้ำหอม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมวิชาการเกษตร. 2555. มะพร้าว การผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์. สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, กรุงเทพฯ.
กาญจน์กนก วิหาละ พุฒิสรรค์เครือคำ สายสกุล ฟองมูล และอรพินธุ์ สฤษดิ์นำ. 2564. การปฏิบัติตามระบบมาตรฐานเกษตรที่ดีและเหมาะสมของเกษตรกรผู้ปลูกมะม่วง อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 3(3): 105-116.
จอห์นนี่ หลวงผ่าน พุฒิสรรค์ เครือคำ ปิยะ พละปัญญา และกอบลาภ อารีศรีสม. 2564. การปฏิบัติตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ปลูกผักอินทรีย์ ในนครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 4(2): 116-127.
มนัสวิน ตันวีนุกูล ชลาธร จูเจริญ และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. 2562. การผลิตมะพร้าวน้ำหอมเพื่อการส่งออกของเกษตรกร อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 50(3): 299-308.
สุรินทร์ นิยมางกูร. 2556. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และสถิติที่ใช้. บุ๊คส์ ทู ยู, กรุงเทพฯ.
Brown, K., J. Schirmer and P. Upton. 2021. Regenerative farming and human wellbeing: Are subjective wellbeing measures useful indicators for sustainable farming systems. Science Direct. Environmental and Sustainability Indicators 11: 100132. Available: https://doi.org/10.1016/j.indic.2021.100132.
Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit: GIZ. 2021. Regenerative Coconuts Agriculture Project (ReCAP). Available: https://www.thai-germancooperation.info/en_US/recap/ (April 15, 2022).
Regenerative Organic Certification. 2018. Framework for Regenerative Organic Certified. Available: https://regenorganic.org/wp-content/uploads/2018/06/ROC-Framework-1-May-2018.pdf (February 1, 2021).
Rodale, R. 1989. Sustainable and regenerative. Available: https://rodaleinstitute.org/whyorganic/organic-basics/regenerative organicagriculture/ (November 21, 2022).
Methamontri, Y., T.W. Tsusaka, F. Zulfiqar, Y. Vimolwan, and A. Datta. 2022. Factors influencing participation in collective marketing through organic rice farmer groups in northeast Thailand. Heliyon 8(11): e11421. Available: https://doi.org/10.1016/j.heliyon.2022.e11421.