การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของมะเกี๋ยงอินทรีย์ในพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
โครงการศึกษาพัฒนาการปลูกพืชมะเกี๋ยงในสภาพพื้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เริ่มปลูกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 ระยะเวลา 12 ปี พื้นที่แปลงปลูกมะเกี๋ยงทำหน้าที่เพื่อเป็นแปลงอนุรักษ์ พัฒนาพืชมะเกี๋ยง เป็นแหล่งเรียนรู้ เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการลงทุนในการปลูกมะเกี๋ยง โดยใช้เครื่องมือทางในการวิเคราะห์คือ ต้นทุน-ผลตอบแทนมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนภายใน อัตราส่วนผลตอบ แทนต่อต้นทุน ระยะเวลาคืนทุน ผลการวิจัยพบว่าต้นทุน -ผลตอบแทน ต้นทุนรวมในปีที่ 1-3 อยู่ในช่วง 1,000-1,200 บาท/ปี เริ่มให้ผลผลิตตั้งแต่ปีที่ 4 ขึ้นไป มีต้นทุนการผลิตรวมอยู่ในช่วง 3,900-4,560 บาท/ปี ผลตอบแทนสุทธิที่ได้รับในช่วงเริ่มให้ผผลผลิตประมาณ 6,550-6,950 บาท/ปี และเมื่อต้นโตเต็มที่ในปีที่ 10-11 ได้ผลตอบแทนสุทธิประมาณ 21,000-23,000 บาท/ปี เมื่อวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ด้านการลงทุน พบมูลค่าปัจจุบันสุทธิผลตอบแทนของการผลิตมะเกี๋ยงเท่ากับ 7,927.32 บาท/ปีอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่าเท่ากับ 1.32 แสดงว่าการผลิตมะเกี๋ยงมีความคุ้มค่าที่จะลงทุน และระยะเวลา 5 ปี จะได้คืนทุนจากการผลิต ดังนั้น มะเกี๋ยงสามารถเป็นพืชทางเลือกที่มีศักยภาพด้านเศรษฐกิจที่สามารถปลูกและให้ผลตอบแทนคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นแนวทางช่วยประกอบการตัดสินใจในการวางแผนของเกษตรกร อพ.สธ. หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อแนะนำส่งเสริมการเพาะปลูกมะเกี๋ยงให้เพิ่มขึ้น สำหรับการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับเป็นพืชทางเลือกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กมลพัฒน์ เจริญวงศ์ สันติ สุขสอาด ทรงกลด จารุสมบัติ ศุภศิษย์ ศรีอักขรินทร์ และชนิษฐา จันทโชติ. 2565. การประเมินผลผลิตและการวิเคราะห์ทางการเงินของไม้สะเดา ในสถานีวนวัฒนวิจัยประจวบคีรีขันธ์,จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารเศรษฐศาสตร์และกลยุทธ์การจัดการ 9(1): 50-65.
กิติพงษ์ วุฒิญาณ อนุวัฒน์ จรัสรัตนไพบูลย์ ศรายุทธ ตรีรัตน์ ตะวัน ฉัตรสูงเนิน และปิยะพิศ ขอนแก่น. 2565. ปัจจัยการตัดแต่งกิ่งที่มีผลต่อการออกดอกและคุณภาพผลของมะเกี๋ยง กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 4(2): 92-103.
จารุวรรณ เอกสะพัง และอมรรัตน์ ชวลิต. 2563. การศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงจระเข้บ่อเดียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต กรณีศึกษาในเขตอำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม. วารสารศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ 7(2): 88-97.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. 2565. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้. แหล่งข้อมูล https://www.bot.or.th/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx (9 ธันวาคม 2565).
ธนวัฒ์ ชูวัน. 2563. การศึกษาความคุม้ คา่ ทางเศรษฐศาสตร์ต่อการนำระบบไร้กระดาษ (Paperless) มาใช้ในบริษัท พี.ซี.ทาคาชิมา (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธีรภัทร ทรัพย์ประเสริฐ และนิภาวรรณ กุลสุวรรณ. 2563. การประเมินต้นทุนและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ของการทำเกษตรกรรมในพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม:กรณีศึกษาชุมชนลุ่มน้ำแม่พร่อง ตำบลแม่พูล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วิศวกรรมสาร มก. 33(109): 91-106.
นพพร บุญปลอด และดรุณี นาพรหม. 2559. รายงานผลการวิจัยเรื่องการจัดการ การเขตกรรมและการพัฒนาคุณภาพผลผลิตมะเกี๋ยง. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, จังหวัดเชียงใหม่.
นิติกร พงษ์ไพบูลย์. 2560. ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน จากการทำเกษตรอินทรีย์: กรณีศึกษาสามพรานโมเดล. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พาวิน มะโนชัย ธีรนุช เจริญกิจ จิรนันท์ เสนานาญ ทรงศักดิ์ ธรรมจำรัส และสิริวัฒนิ์ กุมภิรัศมิ์. 2554. การตัดแต่งกิ่งไม้ผล: ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง. เกษตรก้าวหน้า 24(2): 28-31.
มานพ ชุ่มอุ่น และอาชวิน ใจแก้ว. 2563. การออกแบบตราสินค้า โมเดลธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดเชิงสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์จากมะเกี๋ยงในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 12(4): 13-29.
ศานิต ปิ่นทอง นิรันดร์ ยิ่งยวด และวรรณี เนียมหอม. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 12(1): 192-211.
ศูนย์ประสานงาน อพ.สธ.-มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. 2558. มะเกี๋ยง พืชอนุรักษ์ อพ.สธ. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สนองพระราชดำริโดย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, จังหวัดอุตรดิตถ์.
สมเกียรติ ชัยพิบูลย์. 2559. ประสิทธิภาพการผลิตและระยะเวลาคืนทุนการปลูกลำไยในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 35(6): 35-49.
สคราญนิตย์ เล็กสุทธิ์ และพงศ์ศิริ ปิตุรัตน์เจริญกุล. 2563. การพัฒนารูปแบบการตลาดเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน จังหวัดลำพูน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 14(2): 76-87.
สุเมธ อ่องเภา. 2558. รายงานโครงการวิจัยการปรับปรุงพันธุ์มะเกี๋ยงเพื่อการแปรรูปเป็นน้ำผลไม้พร้อมดื่ม. กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.