ผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

จตุรพล ภิรมย์อัครเดช
พหล ศักดิ์คะทัศน์
ปิยะ พละปัญญา

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคม ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 2) ผล จากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิต 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากการระบาดของ COVID-19 ของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่วิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 170 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน และคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตร Taro Yamane ที่ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ 0.05 และใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามได้ค่า Cronbach’s Alpha Coefficient 0.813 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ ถดถอยพหุแบบคัดเลือกเข้า (Enter multiple regressions analysis) โดยเก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม พ.ศ. 2564 
      ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 62.54 ปี ระดับประถมศึกษา สถานภาพสมรส จำนวนแรงงานในครัวเรือนและว่าจ้างทำเกษตรเฉลี่ย 5.90 คน มีที่ดินในการปลูกข้าวเฉลี่ย 8.25 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกข้าวเฉลี่ย 39352.94 บาท ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรมีรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 3,852.94 บาทต่อเดือน รายจ่ายในครัวเรือนเฉลี่ย 10,035.88 บาทต่อเดือน เงินทุนที่ใช้ปลูกข้าวเฉลี่ย 27,567.05 บาทต่อครั้ง โดยเป็นแหล่งเงินทุนส่วนตัวในการปลูกข้าว ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรเข้าร่วมอบรมดูงานด้านเกษตรเฉลี่ย 1.14 ครั้งต่อปี ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 31.61 ปี เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตร 1 กลุ่ม ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 เฉลี่ย 43.89 ครั้งต่อเดือน การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตรจากสื่อต่าง ๆ เฉลี่ยอยู่ที่ 7.75 ครั้งต่อเดือน เกษตรกรได้รับผลจากการระบาดของ COVID-19 ที่มีต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตโดยรวมอยู่ในระดับน้อยที่สุดค่าเฉลี่ย 1.25 เช่น ด้านแรงงาน และด้านเงินทุน เป็นต้น สำหรับปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการจัดหาปัจจัยการผลิตจากการระบาดของ COVID-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (sig. <0.05) ได้แก่ จำนวนแรงงานการทำการเกษตร (sig.=0.030) รายจ่ายครัวเรือน (sig.=0.022) แหล่งเงินทุนที่ใช้ปลูกข้าว (sig.=0.011) ประสบการณ์ในการปลูกข้าว (sig.=0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโรคโควิด 19 (sig.=0.000)    

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คมชัดลึก. 2564. เชียงใหม่สั่ง “ปิด 3 หมู่บ้าน” ในพื้นที่อ.เชียงดาว-อ.แม่ริม หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดแพร่ระบาดในหมู่บ้าน “คลัสเตอร์โป่งแยง” ทะลุ100 คน ต้องเปิด รพ.สนามเฉพาะกิจรองรับ. แหล่งข้อมูล http://www.komchadluek.net/news/474634 (9 กันยายน 2564).

ณัฐพงษ์ ขอดใจ. 2560. ปัจจัยด้านประสบการณ์การทำงานที่มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ในองค์กรเอกชน. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป, คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ภูวนัย เพ็ชรไปร่. 2565. ความร่วมมือของภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนตามมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย์วิทยาเชิงพุทธ 7(2): 483-498.

วลัยพร รัตนเศรษฐ และสมศักดิ์ วานิชยาภรณ์. 2564. บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 4(2): 171-187.

ศศินันท์ ศาสตร์สาระ. 2564. การเข้าถึงแหล่งเงินทุนและปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ 8(3): 298-313.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. 2564. ลดบาดเจ็บผลกระทบโควิด เร่งฉีดวัคซีน-เยียวยาแรงงาน. แหล่งข้อมูล htpp//tdri.or.th/2021/05/covid3.reliefmeasures-thai-workers/ (28 พฤศจิกายน 2564).

สาคร ศรีมุข. 2563. การส่งออกผลไม้ของประเทศไทยในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(Covid-19). บทความวิชาการ. สำนักงานวิชาการ, สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

สุจิตรา ตรีรัตนนุกูล. 2562. การพัฒนากิจกรรมเรียนรู้เชิงประสบการณ์ สำหรับส่งเสริมกรอบความคิดด้านเชาวน์ปัญญาของนักศึกษาระดับอาชีวศึกษา.วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, คณะวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุพัตรา รุ่งรัตน์ ซูลฟีกอร์ มาโซ และยุทธนา กาเด็ม. 2563. ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลาจังหวัดยะลา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 8(2): 160-174.

สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม. 2564. ระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรกลาง กรมส่งเสริมการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่: สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ริม, จังหวัดเชียงใหม่.

เสาวลักษณ์ กิตติประภัสร์ ธรรมวิทย์ เทิดอุดมธรรม พราวภวินท์ พักตร์ธนาปกรณ์ และพัชราภรณ์ ศอกจะบก. 2563. ผลกระทบทางสังคมจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และวิกฤติเศรษฐกิจ. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรุงเทพฯ.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. S.I. Harper International, New York.