การเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพจากการเข้าร่วมธุรกิจเกษตรชุมชนในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

Main Article Content

ภัทราวดี กันตี
บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล
นัทธมน ธีระกุล
ประทานทิพย์ กระมล

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทุนดำรงชีพของเกษตรกรจากการเข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นเกษตรกรจากอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน จำนวน 225 ราย ประกอบด้วย เกษตรกรจำนวน 111 ราย ที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน และเกษตรกรจำนวน 114 รายที่ไม่ได้ร่วมกลุ่ม เกษตรกรทั้งสองกลุ่มจะถูกประเมินทุนดำรงชีพแสดงโดยใช้พื้นฐานทุนดำรงชีพ 5 ด้าน คือ ทุนทางมนุษย์ ทุนทางการเงิน ทุนทางธรรมชาติ ทุนทางสังคม และทุนทางกายภาพ ทั้งในปี พ.ศ. 2558 (ก่อนการเข้าร่วมกลุ่ม) และปี พ.ศ. 2562 (หลังการเข้าร่วมกลุ่ม) การศึกษามีการจัดกลุ่มเกษตรกรที่มีลักษณะพื้นฐานของครัวเรือนที่คล้ายคลึงกันไว้ด้วยกันโดยใช้วิธี Two Step Cluster Analysis วัดระดับทุนดำรงชีพด้วยมาตรวัด Likert scale 5 ระดับ และวิเคราะห์ภาพรวมทุนดำรงชีพแต่ละด้านด้วยค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (Weighted Mean Score) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชนมีทุนดำรงชีพทุกด้านในอดีต (2558) ต่ำกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่ในปัจจุบัน (2562) เกษตรกรที่เข้าร่วมและไม่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชนมีระดับทุนดำรงชีพทุกด้านใกล้เคียงกันอยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของทุนดำรงชีพในแต่ละด้านในอดีตและปัจจุบัน พบว่า เกษตรกรที่เข้าร่วมกลุ่มธุรกิจเกษตรชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมากกว่าเกษตรกรที่ไม่เข้าร่วมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการศึกษาการเข้าร่วมกลุ่ม     มีส่วนสำคัญช่วยให้เกษตรกรมีทุนดำรงชีพเพิ่มขึ้นในทุนทุกด้าน โดยเฉพาะทุนทางสังคมในการเข้าร่วมกลุ่มของเกษตรกรที่สร้างโอกาสให้เกิดการพัฒนาด้านความรู้ ความสามารถ และทักษะในการจัดการระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เขมรัฐ เถลิงศรี และสิทธิเดช พงศ์กิจวรสิน. 2560. ธุรกิจการเกษตรบนพื้นที่สูงกับความยั่งยืน บทเรียนและข้อเสนอในการพัฒนา. สถาบันคลังสมองของชาติ, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สวก.), กรุงเทพฯ.

จิรวรรณ กิจชัยเจริญ พรสิริ สืบพงษ์สังข์ ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ และพนมศักดิ์ พรหมบุรมย์. 2558. การวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง จังหวัดน่าน. Consultative Group on International Agricultural Research. เชียงใหม่.

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล ชาญชัย แสงชโยสวัสดิ์ ประทานทิพย์ กระมล กุศล ทองงาม และฐากูร ปัญญาใส. 2561. โครงการสนับสนุนและพัฒนาเพื่อการขับเคลื่อนระบบเกษตรและพืชอาหารทางเลือกโดยชุมชนท้องถิ่น. ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล ประทานทิพย์ กระมล และฐากูร ปัญญาใส. 2565. โครงการพัฒนาศักยภาพกลุ่มเกษตรกรสู่ธุรกิจชุมชนพึ่งพาตนเอง อำเภอนาน้อยจังหวัดน่าน. รายงานฉบับสมบูรณ์, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ.

เบญจพรรณ เอกะสิงห์ ประทานทิพย์ กระมล นัทธมน ธีระกุล และพิมพิมล แก้วมณี. 2559. โครงการศึกษาการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของชุมชนบนพื้นที่สูง. รายงานฉบับสมบูรณ์, สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน).

ประทานทิพย์ กระมล นัทธมน ธีระกุล บุศรา และพีรพงษ์ ปราบริปู. 2563. การจัดการการเงินของครัวเรือนเกษตรกรในภาคเหนือตอนบนของไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปรียานุช ชื่นสิน. 2564. ทุนในการดำรงชีพและปัจจัยที่สนับสนุนการทำเกษตรทางเลือกที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการระบบเกษตร (หลักสูตรนานาชาติ), คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). 2559. คู่มือการส่งเสริมการพัฒนา “ระบบเศรษฐกิจฐานราก”. แหล่งข้อมูล https://web.codi.or.th/wp-content/uploads/2019/05/Guide_economic_280959.pdf (19 กุมภาพันธ์ 2566).

สำนักงานเกษตรจังหวัดน่าน. 2562. ข้อมูลการเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.nan.doae.go.th/page.php?dp=8 (15 พฤษภาคม 2562).

องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. 2561. ข้อมูลการดำเนินการกลุ่มและวิสาหกิจชุมชนตำบลบัวใหญ่. องค์การบริหารส่วนตำบลบัวใหญ่, จังหวัดน่าน.

อนุสรา จันทะสุวรรณ์ บุศรา ลิ้มนิรันดร์กุล รุจ ศิริสัญลักษณ์ และประทานทิพย์ กระมล. 2562. การเปลี่ยนแปลงทุนในระบบการปลูกพืช อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. แก่นเกษตร 47(1): 233-240.

อนุสรา จันทะสุวรรณ์. 2562. ผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตพืชเชิงเดี่ยวต่อวิถีชีวิตเกษตรกรในอำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ ดุษฎี ณ ลำปาง รำไพพรรณ อภิชาติ พงศ์ชัย นริศ ยิ้มแย้ม และธีระเดช พรหมวงศ์. 2542. แนวทางในการพัฒนาองค์กรและเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกและผลิตลำไย. เอกสารงานวิจัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

Abenakyo, A., P. Sanginga, J.M. Njuki, S. Kaaria and R.J. Delve. 2007. Relationship between social capital and livelihood enhancing capitals among smallholder farmers in UgandaAfrican Association of Agricultural Economists (AAAE) 2007 Second International Conference, August 20-22, 2007, Accra, Ghana. pp. 539- 541.

DFID. 1999. Sustainable Livelihood Guidance Sheets. Available: https://www.unscn.org/layout/modules/resources/files/Sustainable_livelihoods_guidance_sheets_methods.pdf (Feb 20, 2023).

Dorward, A., N. Poole, J. Morrison, J. Kydd and I. Urey. 2003. Markets, institutions and technology: Missing links in livelihoods analysis. Development policy review 21(3): 319-332. Available: https://doi.org/10.1111/1467-7679.00213.

Israel, G. D. 1992. Sampling the evidence of extension program impact. Gainesville, FL: University of Florida Cooperative Extension Service, Institute of Food and Agriculture Sciences, Florida.

Liu, M., D. Rao, L. Yang and Q. Min. 2021. Subsidy, training or material supply? The impact path of eco-compensation method on farmers’ livelihood assets. Journal of Environmental Management 287: 112339. Available: https:// doi.org/10.1016/j.jenvman.2021.112339.

Naithani, S and A.K. Saha. 2021. Social capital and livelihood strategies in response after 2013 Kedarnath disaster (India). Disaster Prevention and Management: An International Journal 30(2): 179-193.

Norušis, M. J. (2009). PASW statistics 18 statistical procedures companion. Prentice Hall, American.

Pretty, J and H. Ward. 2001. Social capital and the environment. World development 29(2): 209-227. Available: https://doi.org/10.1016/S0305-750X(00)00098-X.

Wolz, A., J. Fritzsch and K. Reinsberg. 2005. The impact of social capital on farm and household income: Results of a survey among individual farmers in Poland. European Association of Agricultural Economists (EAAE) 94th Seminar From households to firms with independent legal status: the spectrum of institutional units in the development of

European agriculture’, April 9-10, 2005, Ashford, UK. pp. 1-17.