การตรวจสอบการตอบสนองความยาววันต่อการชักนำและพัฒนาตาดอกของเบญจมาศ

Main Article Content

สุภชัย สุรณาภรณ์ชัย
ธีรนิติ พวงกฤษ
นฤมล เข็มกลัดเงิน
ปฏิภาณ สุทธิกุลบุตร
เฉลิมศรี นนทสวัสดิ์ศรี

บทคัดย่อ

     เบญจมาศเป็นพืชวันสั้น ในการผลิตนอกฤดูจึงจำเป็นต้องควบคุมความยาววันให้สั้นเพื่อชักนำให้เกิดดอก ด้วยการคลุมด้วยผ้าหรือพลาสติกทึบแสง ซึ่งภายใต้ผ้าคลุมจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูง ทำให้ง่ายต่อการเกิดโรคและ การแพร่ระบาดของแมลง จึงต้องใช้สารเคมีในการควบคุม ส่งผลให้ต้องมี แรงงานในการดูแลการผลิตมาก  เป็นเหตุให้การผลิตเบญจมาศนอกฤดูมีต้นทุนสูง หากมีพันธุ์ที่สามารถผลิตได้ในแต่ละฤดู ต้นทุนในการผลิตอาจลดลง การศึกษานี้ ได้ทำการศึกษาเบญจมาศจำนวน 22 จีโนไทป์ ปลูกเลี้ยงในความยาวช่วงแสงต่อวันจำนวน 3 ช่วง คือ 11 ชั่วโมงต่อวัน (สภาพวันสั้น) 13 ชั่วโมงต่อวัน (สภาพวันยาว) และ 24 ชั่วโมงต่อวัน (สภาพวันยาวต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง) พบว่า ที่ความยาวช่วงแสง 11 ชั่วโมงต่อวัน ทุกจีโนไทป์สามารถเกิดตาดอก และสามารถพัฒนาไปจนกระทั่งดอกบานได้ทั้งในฤดูและนอกฤดู สำหรับการได้รับความยาวช่วงแสง 13 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า การปลูกในฤดู ทุกจีโนไทป์สามารถเกิดตาดอกและพัฒนาจนบานดอกได้ แต่มีจีโนไทป์ 1, 2, 4, 5, 8, 10, 16, 22, 26, 31, 32, J, K และ KF เท่านั้นที่สามารถเกิดตาดอกและพัฒนาจนบานดอกได้ ส่วนการปลูกนอกฤดู พบว่า จีโนไทป์ 1, 2, 4, 5, 8, 10, 15, 16, 17, 22, 26, 27, 31, 32, 33, 35, 37, J และ KF สามารถเกิดตาดอกได้ แต่มีเพียงจีโนไทป์ 16 และ J เท่านั้นที่พัฒนาจนบานดอกได้ และ เมื่อได้รับความยาวช่วงแสง 24 ชั่วโมงต่อวัน พบว่า การปลูกในฤดูจีโนไทป์ 1, 16, 17, 26 และ J สามารถเกิดตาดอกได้ แต่มีเพียงจีโนไทป์ J เท่านั้นที่สามารถพัฒนาดอกบานได้ ส่วนการปลูกนอกฤดู พบว่า จีโนไทป์ 1, 2, 8, 10, 15, 16, 17 and 32 สามารถเกิดตาดอกได้ แต่ไม่มีจีโนไทป์ใดที่สามารถพัฒนาไปเป็นดอกที่บานได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ดวงกมลวรรณ กบกันทา. 2561. เบญจมาศตัดดอก. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2562/75-76.pdf (22 กันยายน 2565).

ดวงกมลวรรณ กบกันทา. 2563. เบญจมาศตัดดอก. แหล่งข้อมูล http://www.agriman.doae.go.th/home/news/2563/67-68.pdf (22 กันยายน 2565).

รัตนะ บัวระวงค์ และอดิศร กระแสชัย. 2547. การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของชนิดหลอดไฟต่อการยับยั้งการเกิดตาดอกของเบญจมาศโดยวิธีการให้แสงแบบ Night Break. วารสารเกษตร 20(3): 236-242.

ราชบัณฑิตยสถาน. 2538. อนุกรมวิธานพืช อักษร ก ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เพื่อนพิมพ์. กรุงเทพฯ.

สุภาพร สัมโย และอำนวย อรรถลังรอง. 2563. สถานการณ์การผลิตเบญจมาศ. สถาบันวิจัยพืชสวน. กรมวิชาการเกษตร. แหล่งข้อมูล http://www.doa.go.th/hort/wp-content/uploads/2020/10/ (18กันยายน 2565).

Anderson, N.O. and P.D. Ascher. 2001. Selection of day-neutral, heat-delay-insensitive Dendranthem Xgrandiflora genotypes. Journal of the American Society for Horticultural Science 126(6): 710-721.

Cockshull, K.E. 1985. Chrysanthemum morifolium, pp. 238-257. In: A.H. Halvey (eds.). CRC handbook of flowering. vol. 2. CRC Press, Boca Raton, Florida.

Nakano, Y., Y. Higuchi, K. Sumitomo and T. Hisamatsu. 2015. Flowering retardation by high temperature in chrysanthemums: involvement of FLOWERING LOCUS T-like 3 gene repression. Journal of Experimental Botany 64(4): 909-920.

Nozaki, K. and S. Fukai. 2008. Effects of high temperature on floral development and flowering in spray chrysanthemum. Journal of Applied Horticulture 10(1): 8-14.

Oda, A., T. Narumi, T. Li, T. Kando, Y. Higuchi, K. Sumitomo, S. Fukai and T. Hisamatsu. 2012. CsFTL3, a chrysanthemum FLOWERING LOCUS T-like gene, is a key regulator of photoperiodic flowering in chrysanthemums.Journal of Experimental Botany 63(3): 1461-1477.

Okada, M. 1957. Classification of chrysanthemum varieties in view of their environmental responses to flowering. Journal of the Japanese Society for Horticultural Science 26(1): 59-72.

Sharathkurmar, M., E. Heuvelink, L.F. Marcelis and W. Van leperen. 2021. Floral induction in the short day plant chrysanthemum under blue and red extended long-days. Frontiers in Plant Science journal 11: 1-13

Sun, J., H. Wang, L. Ren, S. Chen, F. Chen and J. Jiang. 2017. CmFTL2 is involved in the photoperiod and sucrose-mediated control of flowering time in chrysanthemum. Horticulture Research 4: p.11701.