สภาพปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี จังหวัดหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ 2) ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในการดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตป่าต้นน้ำ จำนวน 208 ครัวเรือน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ เพื่อสัมภาษณ์ประชาชนในพื้นที่ป่าต้นน้ำและใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่ามากที่สุด ค่าน้อยที่สุดค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูป่า โดยร่วมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 96.23 ในนั้นมากที่สุดคือ กิจกรรมการปลูกฟื้นฟูป่า ร้อยละ 98.10 ส่วนจำนวนครั้งที่เข้าร่วมเฉลี่ย 7.86 ครั้งต่อปี และปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการฟื้นฟูป่าประกอบมี 3 ด้าน คือ ขาดงบประมาณในการดำเนินงาน การเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า และปัญหาขาดเครื่องมือที่ใช้ในการฟื้นฟูป่า ส่วนแนวทางการแก้ไขปัญหา อุปสรรคในการดำเนินการฟื้นฟูป่าต้นน้ำแหล่งท่องเที่ยวตาดกวางชี คือการสนองงบประมาณ และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในการฟื้นฟูป่า
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงเกษตรกรรมและป่าไม้. 2548. ยุทธศาสตร์ป่าไม้ฮอด ปี คส 2020. เวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
กระทรวงเกษตรกรรมและป่าไม้. 2564. บทสรุปการดำเนินการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (2016-2020)แผนการ 5 ปี (2021-2025). เวียงจันทน์, สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.
กัลยา วานิชย์บัญชา. 2548. สถิติสำหรับงานวิจัยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. ศูนย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
คำผ่าน สีลาวี นิตยา เมี้ยนมิตร และพสุธา สุนทรห้าว. 2555. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการป่าผลิตเล่างาม จังหวัดสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารวนศาสตร์ไทย 31(2): 63-71.
นที บิณฑวิหค กิติชัย รัตนะ และสันต์ เกตุปราณีต. 2556. บทบาทของราษฎรในการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่เสี่ยงภัยลุ่มน้ำก้อ-น้ำชุน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวนศาสตร์ไทย 32(Supplementrary): 248-257.
เพชรอำไพ มงคลจิรเดช ศุภรานันท์ ดลโสภณ สุชาดา กิจเกิดแสง และพิทักษ์ ศิริวงศ์. 2557. กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในแผนฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารและป่าชุมชนเขื่อนศรีนครินทร์การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร(มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ) 7(1): 586-
วันทอง แพงวิจิด บุญถอง บัวหอม เวียงสะหวัน พิมพ์พะจันวงค์สด สีมร วงค์คำ มะโนลัก บุญสีหาลาด อาลุน พนวิไช และสินทะวงค์ สีลาวงค์. 2558. ยุทธศาสตร์การวิจัยวิทยาศาสตร์เกษตรและป่าไม้ จนถึงปี 2025 และวิสัยทัศน์จนถึงปี 2030. วารสารค้นคว้าเกษตรและป่าไม้ 33: 11-12. [สปป. ลาว]
สกุลเดช นันตา. 2559. ผลของการฟื้นฟูป่าต้นน้ำด้วยการปลูกไม้สนสามใบ และบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำกรณีศึกษาลุ่มน้ำแม่แรก อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
ส่งศรี ชมภูวงศ์. 2559. สถิติสำหรับการวิจัย. วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.
Forest Resource Management Sub-Division, L.P. 2019. The Forest reserved area in Luang Prabang Province. People’s Democratic Republic. LuangPrabang Province, Lao.
Upland Agriculture Research Center. 2018. The Results of the Survey in Kuang Si Forest Watershed at Luang Prabang District, Luang Prabang Province. Luang Prabang Provincial of Agriculture and Forestry, Lao.
Yamane, T. 1973. Statistics: An introductory analysis. Harper and Row, New York