การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl.) ในธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน

Main Article Content

ต่อลาภ คำโย
แหลมไทย อาษานอก
คนิติน สมานมิตร
วิภาภรณ์ ใบยา

บทคัดย่อ

     การศึกษาวิจัย เรื่อง การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการจำแนกศักยภาพถิ่นที่ขึ้นของต้นชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis Hemsl.) ในธรรมชาติบริเวณอุทยานแห่งชาติดอยภูคา จังหวัดน่าน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะสังคมพืชในถิ่นที่ขึ้นของต้นชมพูภูคาในธรรมชาติ 2) เพื่อสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและคุณสมบัติดินทางเคมีบางประการกับการปรากฏของต้นชมพูภูคาในธรรมชาติ และ 3) เพื่อประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์จำแนกศักยภาพความเหมาะสมของถิ่นที่ขึ้นของต้นชมพูภูคาในธรรมชาติ โดยการนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์และปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ มาวิเคราะห์เพื่อนำมาสร้างแบบจำลองศักยภาพของพื้นที่ที่เหมาะสมของต้นชมพูภูคา ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคา
     ผลการศึกษา พบว่า ต้นชมพูภูคาที่ขึ้นกระจายอยู่ในธรรมชาติส่วนใหญ่พบขึ้นอยู่ในป่าดิบเขา ซึ่งมีความหลากหลายของพรรณไม้ที่พบจำนวนทั้งหมด 18 วงศ์ (Families) 26 สกุล (Genera) และ 28 ชนิด (Species) พรรณไม้ที่มีดัชนีความสำคัญในสังคม 5 ลำดับแรก ได้แก่ เต้าเลื่อม (Macaranga enticulate) ชมพูภูคา (Bretschneidera sinensis) มะมุ่น (Elaeocarpus braceanus) ทะโล้ (Schima wallichii) และ หว้าหิน (Syzygium helferi) โดยมีค่าดัชนีความสำคัญเท่ากับ 62.25, 41.85, 25.71, 22.90 และ 16.52 ตามลำดับ แสดงให้เห็นถึงการรบกวนพื้นที่ป่าเนื่องจากชนิดไม้เด่นที่พบทั้งเต้าเลื่อมและทะโล้นั้นเป็นกลุ่มไม้เบิกนำในป่าดิบเขา ผลการสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของปัจจัยสิ่งแวดล้อมกับการปรากฏของต้นชมพูภูคา พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ในถิ่นที่ขึ้นของต้นชมพูภูคา ที่ระดับความถูกต้องร้อยละ 51 ประกอบด้วย ความลาดชัน ระดับความสูง ระยะห่างจากแหล่งน้ำ ทิศด้านลาด อนุภาคดินทราย อนุภาคดินร่วนอนุภาคดินเหนียว ความเป็น
กรดด่าง อินทรียวัตถุ ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม การจำแนกศักยภาพของถิ่นที่ขึ้นของไม้ชมพูภูคาด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมมาก เท่ากับ 315,532.81 ไร่ หรือ 504.85 ตารางกิโลเมตร พื้นที่เหมาะสมปานกลาง เท่ากับ 448,798.44 ไร่ หรือ 718.08 ตารางกิโลเมตร และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมน้อย เท่ากับ 294,029.68 ไร่ หรือ 470.45 ตารางกิโลเมตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Blakemore, L.C., P.L. Searle and B.K. Daly. 1987. Methods for Chemical Analysis of Soils. NZ Soil Bureau Scientific Report 80. Lower Hutt, New Zealand.

Chitale, V.S., M.D. Behera and P.S. Roy. 2014. Future of endemic flora of biodiversity hotspots in India. PLoS ONE 9(12): 1-15

Development Core Team. 2010. R Development Core Team R: a language and environment for statistical computing 3-900051-07-0, R Foundation for Statistical Computing. Vienna, Austria. Available: http://www.R-project.org/

Hu, Z.Y., L. Lin, J.F. Deng and S.H. Wang. 2014. Genetic diversity and differentiation among populations of Bretschneidera sinensis (Bretschneideraceae), a narrowly distributed and endemic species in China, detected by inter-simple sequence repeat (ISSR). Biochemical Systematics and Ecology 56: 104-110.

Kamyo, T. 2016. Geo-Informatics Modeling on Tropical Seasonal Forest Dynamics in Mae Klong Watershed Research Station, Kanchanaburi Province. Ph.D. dissertation, Department of Forest Biology, Faculty of Forestry Kasetsart University Bangkok.

Kamyo, T., K. Samanmit and A. Chuapaiboon. 2016. Application of Geographic Information Systems for Tectona grandis L.f. Natural Potential Site Identification in Mae Yom National Park Phrae Province. Journal of Science and Technology Nakhon Sawan Rajabhat University 8: 61-72.

Kamyo, T., K. Samanmit and S. Chantophas. 2017. Appropriate area forecasting of ma Kuen (Zanthozylum limonella Alston) in nature in Mae Charim National Park, Nan Province by using a species distribution model. plant. Journal of Science and Technology 9(1): 432-438.

Kamyo, T., S. Pattanakiat, L. Asanok, K. Samanmit, A. Cherpaiboon, S. Thinkamphaeng and D. Marod. 2021. Predicting the Natural Suitability of Teak (Tectona grandis L.f.) at Mae YomNational Park, Phrae Province, Thailand Using Logistic Regression Model. Journal of Environmental Science and Management 24(2): 48-53.

Marod, D. and U. Kutintara. 2009. Forest ecology. Siam Print, Bangkok. Nan Provincial Office. 2020. Briefing of Nan Province for the year 2020. Available: http://www.nan.go.th/upload/1617260755.pdf (Jan 10, 2022).

National Park Office. 2022. Phu Hin Rong Kla National Park. Available: http://park.dnp.go.th/visitor/nationparkshow.php?PTA_ CODE=1048 (Jan 10, 2022).

Office of Environmental and Pollution Control 13. 2018. Forest resources. Available: http://reo13.mnre.go.th/th/news/detail/9367 (Jan 10, 2022).

Office of the plant. 2019. Plant classification guide. Available: https://www.dnp.go.th/botany/PDF/publications/Plant_Identification_ Handbook2.pdf (Jan 10, 2022).

Royal Forest Department. 2017. Guidelines for forest area management in the case of Nan Province. Available: https://www.forest.go. th/nursery/wp-content/uploads/sites/.pdf (Jan 10, 2022).

Santisuk, T. 2005. Endemic and rare plants of Thailand: criteria for status analysis and conservation guidelines. Forest and Wildlife Biodiversity Workshop: Progress of Research Results and Activities Yearly. Date 21-24 August 2005, Regent Cha-am Hotel, Phetchaburi Province.

Seub Nakhasathien Foundation. 2020. Report on the situation of Thai forests for the year 2019-2020. Available: https://www.seub. or.th/document (Jan 10, 2022).

Wang, M.N., L. Duan, Q. Qiao, Z.F. Wang, E.A. Zimmer, Z.C. Li and H.F. Chen. 2018. Phylogeography and conservation genetics of the rare and relict Bretschneidera sinensis (Akaniaceae). PLoS ONE 13(1): 1-17.

Whittaker, R.H. 1970. Communities and Ecosystems. Macmillan, London.