ปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา

Main Article Content

ชินอิศเรศ ฐิติชาตินันท์
ปิยะ พละปัญญา
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 2) ศึกษาการปฏิบัติการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกร 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร และ 4) ศึกษาปัญหา และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ เกษตรกรผู้ผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ในอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา ซึ่งได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยทราบขนาดประชากรโดยใช้สูตร Yamane (1973) ได้จำนวน 125 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า


     ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 59.23 ปี ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมรส จบการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4 คน มีจำนวนแรงงานเฉลี่ย 4 คน มีพื้นที่ผลิตข้าว เฉลี่ย 6.01 ไร่ ในปี พ.ศ. 2564 เกษตรกรมีรายได้จากการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 30,732.46 บาท มีหนี้สินในครัวเรือน เฉลี่ย 232,581.94 บาท มีประสบการณ์ในการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 7 ปี เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์เฉลี่ย 87 ครั้งต่อปี โดยรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการผลิตข้าวอินทรีย์จากสื่อโทรทัศน์เป็นหลัก ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ติดต่อกับกลุ่มผู้ผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ทั้งในกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่มเฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี เข้าร่วมอบรมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์เฉลี่ย 2 ครั้งต่อปี ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน ไม่มีตำแหน่งทางสังคม และเกษตรกรมีการปฏิบัติในการผลิตข้าวอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุการเข้าร่วมอบรมการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ สำหรับปัญหาในการผลิตข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรที่สำคัญ คือ ระบบการบันทึกข้อมูลยุ่งยาก ปัญหาโรค แมลงและวัชพืช และราคาข้าวต่ำ ซึ่งเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดทำแบบบันทึกข้อมูลที่ง่ายและสะดวกต่อเกษตรกร อบรมให้ความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวในระบบเกษตรอินทรีย์ และช่วยพยุงราคาข้าวอินทรีย์เพื่อจำหน่ายได้ในราคาสูงกว่าราคาข้าวที่ปลูกแบบทั่วไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกกานต์ วงค์ษา พุฒิสรรค์ เครือคำ นคเรศ รังควัต และ สายสกุล ฟองมูล. 2564. การปฏิบัติในการปลูกข้าวตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2, มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่. น. 805-815.

กรมการข้าว. 2558. ข้าวมีสีข้าวมีค่าที่คู่ควร. ข้าวไทย 7(1): 41-49.

เจริญ ดาวเรือง ชวสรรค์ เครือคำ พหล ศักดิ์คะทัศน์ และ นคเรค รังควัต. 2559. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพล ต่อการยอมรับมาตรฐานเ กษตรอินทรีย์ของเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ในอำเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 11(2): 51-66.

ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. 2559. การพัฒนาเครือ ข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์: กรณีศึกษาตำบลวังกะพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 5(2): 116-132.

ศานิต ปิ่นทอง นิรันดร์ ยิ่งยวด และวรรณี เนียมหอม. 2564. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการผลิตมะพร้าวอินทรีย์ของเกษตรกร อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย 12(1): 192-211.

สายฝน ซอพิมาย เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และบำเพ็ญ เขียวหวาน. 2560. ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารอินทรีย์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ของเกษตรกรจังหวัดสระแก้ว. แก่นเกษตร 45 ฉบับพิเศษ 1: 1605-1610.

สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. 2565. ประวัติจังหวัดพะเยา. แหล่งข้อมูล http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER66/DRAWER028/GENERAL/DATA0000/00000005.PDF (23 สิงหาคม 2565).

อาจรีย์ วันเมือง วรทัศน์ อินทรัคคัมพร ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล และแสงทิวา สุริยงค์. 2564. ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารผลิตกรรมการเกษตร 3(3): 57-66.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd. New York: Harper and Row Publications.