ผลของการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพผลส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง

Main Article Content

อำพล สอนสระเกษ
นพพร บุญปลอด
ระพีพันธ์ แดงตันกี
Wolfram Spreer
ประนอม ยังคำมั่น
ดรุณี นาพรหม

บทคัดย่อ

     การศึกษาผลของการตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใช้อนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพผลส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง วางแผนการทดลองแบบ 2×3 Factorial in Completely Randomized Design ปัจจัยแรกประกอบด้วย การตัดแต่งกิ่ง และการไม่ตัดแต่งกิ่ง ปัจจัยที่ 2 ประกอบด้วย การฉีดซิลเวอร์นาโน 3 แบบ 1. ฉีดเพียง 1 ครั้ง 2. ฉีด 2 ครั้งห่างกัน 7 วัน และ3. ฉีด 2 ครั้งห่างกัน 14 วัน ผลการทดลอง พบว่า การตัดแต่งกิ่งส่งผลให้ผลส้มมีอัตราการร่วงน้อยกว่าการไม่ตัดแต่งกิ่งโดยมีค่าเฉลี่ยเพียง 8.68 เปอร์เซ็นต์ และมีปริมาณวิตามินซีสูงถึง 21.25 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมน้ำหนักสด เมื่อพิจารณาอิทธิพลร่วมระหว่างปัจจัยพบว่า การตัดแต่งกิ่งร่วมกับการใช้ซิลเวอร์นาโนไม่มีผลต่อการร่วงของผล เส้นรอบวง ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ อัตราส่วนของแข็งที่ละลายได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ และปริมาณปริมาณวิตามินซี แต่การตัดแต่งกิ่งร่วมกับการฉีดซิลเวอร์นาโนจำนวน 1 ครั้ง มีผลทำให้ผลให้ผลผลิตส้มหลังการเก็บเกี่ยว มีปริมาณน้ำหนักสดสูงสุดคือ 76.36 กรัมต่อผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กวิศร์ วานิชกุล. 2546. การจัดทรงต้นและการตัดแต่งกิ่งไม้ผล. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

จุฬาลักษณ์ จึงเจริญ. 2530. การศึกษาปริมาณธาตุอาหารในส้มเขียวหวานและอิทธิพลของการใช้ปุ๋ยและระยะการเจริญเติบโตก่อนการเปลี่ยนแปลงระดับธาตุอาหารในใบส้ม. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) ภาควิชาปฐพีวิทยาคณะเกษตร. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ฉลองชัย แบบประเสริ ฐ. 2533. การปฏิบัติบำรุงสวนมะม่วง. ใน: ไพบูลย์ ไพรีพ่ายฤทธิ์ การทำสวนมะม่วง. ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน, นครปฐม.

ทะนุพงศ์ กุสุมา ณ อยุธยา. 2556. ทำนอกฤดูด้วยการตัดแต่งกิ่งเคล็ดไม่ลับ...ชาวสวนส้มโอ ที่แม่กลอง. วารสารเทคโนโลยีชาวบ้าน 26(564): 50-54.

ธัญญกาญจน์ สีผึ้ง สมยศ มีทา สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รำไพ นามพิลา พงษ์ศักดิ์ ยั่งยืน และสังคม เตชะวงค์เสถียร. 2560. ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตของสม้ โอพันธุม์ ณีอีสาน. แก่นเกษตร 45(1): 331-335.

นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2536. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว. กรุงเทพฯ.

นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2558. ข้อห่วงใยและคำแนะนำในการใช้สารปฏิชีวนะกับการรักษาโรคกรีนนิ่งของส้ม.วารสารเคหการเกษตร 39(10): 118-122.

ปรารถนา จันทร์ทา พัชราพรรณ คงเพชรศักดิ์ และสุกานดาดอกสันเทียะ. ม.ป.ป. ฮอร์โมนพืช. แหล่งข้อมูล http://mylesson.swu.ac.th/syllabus/doc_4720040331150456.pdf (25 มกราคม 2565).

ปวีณา ปรวัฒน์ มณฑกานต์ ทองสม พรไพลิน ขาวสุข และ ตอยิบ๊ะ ดอเลาะหมิ. 2559. การสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนแบบเคมีสีเขียวโดยสารสกัดจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 35(1): 26-40.

พีรเดช ทองอำไพ. 2529. ฮอร์โมนพืชและสารสังเคราะห์:แนวทางการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย = Plant hormones and the synthetics: potential use in Thailand. ไดนามิคการพิมพ์. กรุงเทพฯ.

ไมตรี พรหมมินทร์. 2548. โรคกรีนนิ่งหรือโรคใบเหลืองต้นโทรม. วารสารเคหการเกษตร 29(11): 126-135.วรวรรณ แผ่นรุ่งรัตน์. 2527. การตัดแต่งกิ่งไม้ผล. วารสารเคหการเกษตร 7(93): 26-27.

วาสนา พิทักษ์พล วชิราภรณ์ ตรีริยะ ปวีณพล คุณารูป และ สมสุดา วรพันธุ์. 2563. ผลของการตัดแต่งกิ่งต่อการออกดอกและคุณภาพของผลมะเกี๋ยง. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 51(1): 243-248.

ศรัญญู ใจเขื่อนแก้ว อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ และศรีเมฆ ชาวโพงพาง. 2559. โรค Huanglongbing ของส้มโอและการใช้สารปฏิชีวนะเพื่อการควบคุมโรค: กรณีศึกษาในส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา จังหวัดชัยนาท. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 54, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 กุมภาพันธ์-4 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ, น. 108-115.

สายชล เกตุษา. 2531. คุณภาพของผลส้มเขียวหวานจากแหล่งปลูกต่าง ๆ. วารสารเกษตรศาสตร์ (วิทย์) 22(4): 279-283.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2564. ส้มเขียวหวาน. แหล่งข้อมูล: https://1th.me/9vgUA (30 มกราคม 2565).

อรพรรณ วิเศษสังข์. 2559. โรคกรีนนิ่งของส้มกับการใช้สารปฏิชีวนะ. วารสารเคหการเกษตร 40(5): 171-174.

Chiti, S., C. Sunti and K. Yuttana. 2006. Effects of fruit loading and pruning during fruit retention (summer pruning) on growth water consumption and nutrient uptake of longan (Dimocarpus longan) cultivar Dow grown in Lysimeter III. Agricultural Science Journal 37(6): 549-552.

Embleton, T.W., W.W. Jones and A.L. Page. 1966. Potassium deficiency in Valencia oranges tree in California. HortScience 1: 92-93.

Saleem, B.A., A.U. Malik., M.A. Pervez., A.S. Khan. and M.N. Khan. 2008. Spring application of growth regulators affects fruit quality of ‘Blood red’ sweet orange. Pakistan Journal of Botany 40: 1013-1023.

Stephano-Hornedo, J.L., O. Torres-Gutiérrez., Y. Toledano-Magaña., I. Gradilla-Martínez., A. Pestryakov., A. Sánchez-González. and N. Bogdanchikova. 2020. Argovit™ silver nanoparticles to fight Huanglongbing disease in Mexican limes (Citrus aurantifolia Swingle). RSC Advances 10(11): 6146-6155.