ความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

เหมือนฝัน อุประ
ณฐิตากานต์ พยัคฆา
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
ฟ้าไพลิน ไชยวรรณ

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) ศึกษาระดับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง 3) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักของเกษตรกรที่มี ต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่แจ่ม จำนวน 191 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัม ภาษณ์ระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 - เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 44.26 ปี จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ มีประสบการณ์ทำการเกษตรเฉลี่ย 21.05 ปี เกษตรกร มีรายได้ทั้งหมดในครัวเรือนเฉลี่ย 75,607.85 บาทต่อปี มีภาระหนี้สินคงค้างเฉลี่ย 70,088.48 บาท ทั้งนี้เกษตรกรมีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงเฉลี่ย 2.40 ครั้งต่อเดือน มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เกษตรเฉลี่ย 1.32 ครั้งต่อปี และเกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเฉลี่ย 0.67 ครั้งต่อปี นอกจากนั้นเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงอยู่ในระดับสูง คะแนนเฉลี่ย 16.95 โดยภาพรวมเกษตรกรมีความตระหนักต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูงอยู่ในระดับเฉย ๆ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความตระหนักของเกษตรกรต่อปัญหาการใช้ที่ดินเพื่อการเพาะปลูกบนพื้นที่สูง ได้แก่ เพศ และอายุ มีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และการรับรู้ข่าวสารมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. 2564. โครงการอนุรักษ์ดินและน้ำ:บริบทแห่งการพัฒนาพื้นที่สูงที่ยั่งยืน. แหล่งข้อมูล https://e-library.ldd.go.th/library/Ebook/bib10332.pdf (10 มกราคม 2565).

กุลนันทน์ จากศรีพรหม วรทัศน์ อินทรัคคัมพร ดุษฎี ณ ลำปาง และเสาวลักษณ์ แย้มหมื่นอาจ. 2563. ความรู้และการปฏิบัติในการใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชของผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่. แก่นเกษตร 47(พิเศษ1): 179-184.

ชวลิต กอสัมพันธ์. 2562. รายงานผลการวิจัยปลูกป่าเศรษฐกิจพิชิตหมอกควันพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง. คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. เจริญผล, กรุงเทพฯ.

บุญสิริมา วิเชียรวรรธนะ และจิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2554. ความรู้และความตระหนักของอาสาสมัครเกษตรที่มีต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมทางการเกษตรในจังหวัดภูเก็ต. วารสารเทคโนโลยีสุรนารี 5(1): 21-32.

วาสนา ศิริมงคล. 2556. ความตระหนักเกี่ยวกับปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเซรามิก จังหวัดลำปาง. วารสารวิทยบริการ 24(1):29-39.

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2562. การปรับปรุงดินบนพื้นที่สูง. แหล่งข้อมูล https://www.hrdi.or.th/Articles/Detail/35 (5 มีนาคม 2564).

สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน). 2562. เกี่ยวกับสภาพพื้นที่สูง.

แหล่งข้อมูล https://www.hrdi.or.th/About/Highland (4 กันยายน 2565).

สิริกัลยา คำนาน. 2552. ความตระหนักของเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปลูกข้าวโพดในตำบลป่าแลวหลวง อำเภอสันติสุข จังหวัดน่าน. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและพัฒนาชนบท, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Yamane, T. 1967. Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Edition, Harper and Row, New York.