การวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา

Main Article Content

อัญชลี ปัญญากวาว
ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล
สุรพล เศรษฐบุตร
วรทัศน์ อินทรัคคัมพร

บทคัดย่อ

     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพด้านการบริหารจัดการของกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในอำเภอจุน จังหวัดพะเยา ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างคือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ จำนวน 191 ราย ซึ่งได้จากคำนวณโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 0.05 และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลากรายชื่อ เก็บรวบ รวมข้อ มูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีความเชื่อมั่นที่ 0.99 ร่วมกับการจัดสนทนากลุ่มตัวแทนกลุ่มเกษตรกร และการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ วิเคราะห์ข้อ มูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาร่วมกับการใช้เทคนิค SWOT analysis ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรมีจุดแข็ง คือ การมีโครงสร้างการบริหารงานที่ชัดเจนมีการสร้างค่านิยมการออมทรัพย์ให้กับสมาชิก และมีการใช้กลยุทธ์ตลาดนำการผลิต จุดอ่อน คือ คณะกรรมการส่วนใหญ่ขาดความรู้ในการบริหารจัดกลุ่ม และผลผลิตข้าวอินทรีย์ ของเกษตรกรบางรายยังไม่ผ่านการรับรองมาตร ฐานข้าวอินทรีย์ โอกาสพบว่าจังหวัดพะเยากำหนดยุทธศาสตร์ให้อำเภอจุนเป็นแหล่งการผลิตข้าวอินทรีย์เพื่อการส่งออก ตลอดจนความต้องการข้าวอินทรีย์ของผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและอุปสรรค คือ นโยบายส่งเสริมข้าวอินทรีย์ของภาครัฐไม่มีความชัดเจนและต่อเนื่อง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรโดยเน้นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการและให้ความสำคัญกับกระบวนการกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกเกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านการผลิตและการตลาด ตลอดจนการผลักดันเกษตรกรรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคการเกษตรควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตและการตลาดข้าวอินทรีย์ไปพร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการข้าว. 2562. โครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน(โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์) ปี 2562. กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2559. คู่มือโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่. แหล่งข้อมูล: http://www.agriman.doae.go.th/ (20 มกราคม 2562).

กรมส่งเสริมการเกษตร. 2561. ระบบสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน ผลการประเมินศักยภาพวิสาหกิจชุมชนอำเภอจุน. แหล่งข้อมูล: https://smce.doae.go.th/ (2 มีนาคม 2562).

กิตติชัย รัตนะ. 2559. การสร้างกลุ่มและเครือข่ายในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม. ภาควิชาอนุรักษ์วิทยาคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เกินศักดิ์ ศรีสวย. 2555. การศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการสืบทอดอาชีพทำนาของลูกชาวนา. วิทยานิพนธ์สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา, คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขวัญตา เบ็ญจะขันธ์ ณัฐชัย ชินอรรถพร และธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. 2557. โครงการอุดหนุนสินค้าเกษตรระยะสั้น การพึ่งพาเชิงนโยบายและความไม่เท่าเทียมเชิงนโยบาย: หลักฐานจากการทำวิจัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม) 35(3): 397-418.

คณะกรรมการพัฒนาพัฒนาอินทรีย์แห่งชาติ. 2560. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอินทรีย์แห่งชาติ พ.ศ. 2560- 2564. แหล่งข้อมูล: http://planning.dld.go.th/th/images/stories/section-5/2560/strategy11.pdf (1 เมษายน 2562).

แดน ฟูแสง. 2544. ศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดพะเยาและเชียงราย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นักรบ เถียรอ่ำ ชูวงศ์ อุบาลี วงธรรม สรณะ และอังศุมาริน สุชัยรัตนโชค. 2564. เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ ได้กระบวนการบริหารจัดการ และการประเมินผลนโยบาย: กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมังคุดแปลงใหญ่ ตำบลวังโตนด อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี. งานวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ลักษมี เสือแป้น. 2555. ความสำเร็จของการพัฒนากลุ่มอาชีพและความเชื่อมโยงกับการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน กรณีศึกษา: กลุ่มอาชีพสตรีแปรรูปผลิตภัณฑ์กล้วยน้ำว้าบ้านเขาสะพายแร้ง ตำบลสนามแย้ อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภกิจ วรอุไร. 2548. ปัจจัยส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษา ชุมชนหมื่นสารบ้านบัวลาย อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการปกครอง,คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. 2550. ข้าวอินทรีย์: ศักยภาพการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจ ฉบับที่ 1991. แหล่งข้อมูล: https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/kecon/business/Pages/9215.aspx (1 เมษายน 2562).

สุณีย์ ฉัตรศิริยิ่งยง สุจินต์ สีมารักษณ์ และอนันต์ พลธานี. 2555. กระบวนการจัดการกลุม่ เพื่อใช้ประโยชนพื้นที่สาธารณะในทางการเกษตร. แก่นเกษตร 40(1): 127-134.

สุพัดชา โอทาศรี. 2554. การดำรงอยู่ของอาชีพชาวนาไทย:กรณีศึกษาชาวนาจังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนาสังคม, คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

โสมภัทร์ สุนทรพันธ์. 2552. การยอมรับเทคโนโลยีการผลิตระบบเกษตรอินทรีย์ในสวนมะม่วงของเกษตรกร อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

อินทิรา มุงเมือง. 2560. รูปแบบปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิอินทรีย์จังหวัดเชียงราย พะเยา และเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการพัฒนา, คณะสังคมศาสตร์และศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่.

Cronbach, L.J. 1970. Essentials of psychological testing. 3rd ed. Harper and Row, New York.

Haeberge, K., J. Herzberg and T. Hobbs. 2009. Leading the Unlearn. Handbook of Organization Desing. Oxford University, New York.

Pornpratansombat, P., B. Bauer and H. Holand. 2014. The Adoption of Organic Rice Farming in Northeastern Thailand. Journal of Organic systems 6(3): 4-12.

Yamane, T. 1967. Statistic: An Introductory Analysis. Harper and Row, New York.