ผลของอนุภาคซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพของผลส้มในต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากการศึกษาการใช้ซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพของผลส้มในต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง โดยศึกษาเปรียบเทียบกับการใช้แอมพิซิลลิน ทำการทดลอง ณ สวนส้ม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ วางแผนการทดลอง แบบ Completely randomized design (CRD) มี 6 กรรมวิธี กรรมวิธีละ 3 ซ้ำ ซ้ำละ 3 ต้น ประกอบด้วย การฉีดแอมพิซิลลิน ความเข้มข้น 15,000 ppm และการฉีดซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 30, 60, 90, 120 และ 300 ppm ผลการทดลองพบว่า หลังการฉีดซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 300 ppm ส่งผลให้ต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งมีอัตราการร่วงของผลเพียง 6.98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นรอบวง น้ำหนักสด ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TA) อัตราส่วนของแข็งที่ละลายน้ำได้ต่อปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ (TSS/TA) และวิตามินซีภายในผล พบว่า การฉีดแอมพิซิลลินและซิลเวอร์นาโนในทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยการใช้ซิลเวอร์นาโน ความเข้มข้น 90 ppm มีแนวโน้มให้ผลใกล้เคียงกับการใช้แอมพิซิลลินจากการทดลองจะเห็นได้ว่าการใช้ซิลเวอร์นาโนอาจเป็นตัวเลือกสำหรับการรักษาต้นส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่งได้ในอนาคต
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กฤติพงษ์ ไพบูลย์สมบัติ. 2552. ผลของไคโตซานร่วมกับสารเคลือบผิวที่บริโภคได้ต่อคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพืชสวน, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล มนตรี เอี่ยมวิมังสา ไตรเดช ข่ายทอง ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ สุธามาศ ณ น่าน ชัยกฤต พรมมา และภาวนา ลิกขนานนท์. 2563. การฟื้นฟูสวนส้มเขียวหวานในพื้นที่ปลูกภาคเหนือตอนบน โดยวิธีผสมผสานเพื่อการผลิตอย่างยั่งยืน. (รายงานผลการวิจัย). กรมวิชาการเกษตร.
นพดล จรัสสัมฤทธิ์. 2536. ฮอร์โมนพืชและสารควบคุมการเจริญเติบโตของพืช. สำนักพิมพ์รั้วเขียว, กรุงเทพฯ.
นันทรัตน์ ศุภกำเนิด. 2558. ข้อห่วงใยและคำแนะนำในการใช้สารปฏิชีวนะกับการรักษาโรคกรีนนิ่งของส้ม. วารสารเคหการเกษตร 39(10): 118-122.
นิพนธ์ วิสารทานนท์. 2542. โรคส้ม. เอกสารเผยแพร่ทางวิชาการหลักสูตร “หมอพืช-ไม้ผล” ฉบับที่ 2. ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิสาชล เทศสรี และการระเกด เทศศรี. 2559. ฤทธิ์การต้านเชื้อราก่อโรคพืชของนาโนซิงค์ออกไซด์. วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ 3(พิเศษ): 7-14.
ประไพพร อุ่นโพธิ์. 2548. การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและชีวเคมีบางชนิดในส้มเขียวหวานที่มีอาการต้นโทรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพืชสวน, คณะเกษตรศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ปวีณา ปรวัฒน์ มณฑกานต์ ทองสม พรไพลิน ขาวสุข และตอยิบ๊ะ ดอเลาะหมิ. 2559. การสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนแบบเคมีสีเขียวโดยสารสกัดจากเปลือกมังคุดเพื่อยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย. วารสารวิชชา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 35(1): 26-40.
พสุ ปราโมกข์ชน ชเนษฎ์ วิชาศิลป์ และอัจฉรียา ชมเชย. 2561. การสังเคราะห์อนุภาคซิลเวอร์นาโนทางชีวภาพด้วยแอคติโนแบคทีเรียจากดินสำหรับควบคุมการเจริญเชื้อราสาเหตุโรคพืช. วารสารวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
(12): 47-60.
พันธ์ศักดิ์ แก่นหอม และวิภาดา แสงสร้อย. 2547. ทบทวน...โรคกรีนนิ่ง ผลร่วงในส้ม..เกี่ยวพันกันอย่างไร สังเกตได้อย่างไร และแก้ไขได้อย่างไร. เคหการเกษตร 28(4): 182-188.
มนตรี อิสรไกรศีล. 2527. การศึกษาการเจริญเติบโตของผลดัชนีการเก็บเกี่ยวและการเปลี่ยนแปลงหลังการเก็บเกี่ยวของผลส้มเขียวหวานและส้มตรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพืชสวน, คณะเกษตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มาสุฑล สัญพึ่ง. 2554. ผลของซิลเวอร์นาโนต่อคุณภาพและอายุการปักแจกันของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย Dendrobium พันธุ์ขาวสมาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ, คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรัญญู ใจเขื่อนแก้ว อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ และศรีเมฆ ชาวโพงพาง. 2559. โรค Huanglongbing ของส้มโอและการใช้สารปฏิชีวนะเพื่อการควบคุมโรค: กรณีศึกษาในส้มโอพันธุข์ าวแตงกวา จังหวัดชัยนาท. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 54, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2 กุมภาพันธ์ - 4 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ. น. 108-115.
ศักยะ สมบัติไพรวัน เทวรัตน์ ทิพยวิมล และกระวี ตรีอำนรรค. 2555. การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางคุณภาพของมะม่วงน้ำดอกไม้ภายหลังการเก็บเกี่ยว. รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4 เมษายน - 5 เมษายน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่. น. 518-525.
สายชล เกตุษา. 2531. คุณภาพของผลส้มเขียวหวานจากแหล่งปลูกต่าง ๆ.วารสารวิทยาสารเกษตรศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ 22(4): 279-283.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2565. ส้มเขียวหวาน. แหล่งข้อมูล https://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/lime63.pdf (1 มิถุนายน 2565).
อรพรรณ วิเศษสังข์. 2559. โรคกรีนนิ่งของส้มกับการใช้สารปฏิชีวนะ. เคหการเกษตร. 40(5): 171-174.
อารมย์ จันทะสอน อำไพวรรณ ภราดร์นุวัฒน์ ศรีเมฆ ชาวโพงพาง จุลภาค คุ้นวงศ์ และนิพนธ์ ทวีชัย. 2550. การวินิจฉัยโรคกรีนนิ่งของพืชตระกูลส้มในประเทศไทย. รายงานการประชุมทางวิชาการ ครั้งที่ 45, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 30 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. น. 218-225.
อำไพวรรณ พึ่งเจษฎา. 2520. การแยกเชื้อและการศึกษาทางโครงสร้างจุลภาคของจุลินทรีย์จากส้มที่เป็นโรคกรีนนิ่ง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจุลชีววิทยา, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Embleton, T.W., W.W. Jones and A.L. Page. 1966. Potassium deficiency in Valencia oranges in California. HortScience 1(3-4): 92. Available: DOI:10.21273/HORTSCI.1.3-4.92a.
Jhanzab, H.M., A. Razzaq., G. Jilani., A. Rehman., A. Hafeez and F. Yasmeen. 2015. Silver nanoparticles enhance the growth, yield and nutrient use efficiency of wheat. International Journal of Agronomy and Agricultural Research. 7(1): 15-22.
Kim, J.H., A.K. Lee and J.K. Suh. 2004. Effect of certain pre-treatment substances on vase life and physiological character in Lilium spp. Horticulturae 673: 307-314.
Ranganna, S. 1977. Manual of Analysis of Fruit and Vegetable Products. Tats McGraw-Hill Publishing Company Limited, New Delhi. Sites, J.W., H.J. Rietz and F.J. Deszyck. 1951. Some results of irrigation research with Florida
citrus. Proceedings of the Florida State Horticultural Society, 64. pp. 71-79.
Stephano-Hornedo, J.L., O. Torres-Gutiérrez., Y. Toledano-Magaña., I. Gradilla-Martínez., A. Pestryakov., A. Sánchez-González and N. Bogdanchikova. 2020. Argovit™ silver nanoparticles to fight Huanglongbing disease in Mexican limes (Citrus aurantifolia Swingle). National Library of Medicine 10(11): 6146-6155.