การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรในพื้นที่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ณรงค์ฤทธิ์ วงษ์แย้ม
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมของเกษตรกร 2) การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกร 3) ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยี การปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกร และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดหวาน จำนวน 235 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่าง แบบสองขั้นตอน (Two-stage sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติพรรณนา ซึ่งประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบคัดเลือกเข้า (Enter multiple regression analysis)


       ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.63 ปี อยู่ในสถานภาพสมรส สำเร็จการศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.76 คน มีแรงงานในการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 8.17 คน มีพื้นที่ถือครองที่ดินในครัวเรือน เฉลี่ย 14.11 ไร่ มีรายได้ภาคการเกษตรเฉลี่ย 147,131.91 บาทต่อปี มีจำ นวน หนี้สินในครัวเรือนเฉลี่ย 249,208.51 บาท มีการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรเฉลี่ย 13.68 ครั้งต่อปี มีการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรเฉลี่ย 2.76 ครั้งต่อปี มีการเข้าร่วมฝึกอบรมหรือดูงานด้านการเกษตรเฉลี่ย 5.52 ครั้งต่อปี มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 5.10 ปี เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตร และ มีการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการปลูกข้าวโพดหวานของเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทางลบ ได้แก่ จำนวนแรงงานในครัวเรือน (Sig.=0.000) และทางบวก ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการปลูกข้าวโพดหวาน (Sig.=0.023)


       เกษตรกรประสบปัญหาในการปลูกข้าวโพดหวาน คือ 1) ปัญหาโรคและแมลง ซึ่งการป้องกันกำจัดศัตรูพืชในการปลูกข้าวโพดหวาน  2) การได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ และ 3) ราคาผล ผลิตต่ำในการรับซื้อของบริษัทและจำนวนการรับซื้อของบริษัทที่ลดลง โดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ดังนี้


     1) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสารกำจัดศัตรูพืชแบบชีวภาพ และลดการใช้การเคมี 2) ควรถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการเตรียมรับมือกับภัยพิบัติ และ 3) การกำหนดราคาที่เป็นราคากลางในการรับซื้อผลผลิตทั้งหมด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจริญ ดาวเรือง. 2559. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ ในอำเภอสังข์ทอง นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ฉันทานนท์ วรรณเขจร. 2562. ส่งออกข้าวโพดหวาน. แหล่งข้อมูล https://www.oae.go.th//TH-TH (26 เมษายน 2562).

ปัญญา พุกสุ่น. 2563. การผลิตข้าวโพดฝักสด. แหล่งข้อมูล http://lib.doa.go.th/multim/e-book/EB00547 (15 เมษายน 2563).

สำนักงานจังหวัดสุโขทัย. 2563. การจำหน่ายสินค้าด้วยช่องทาง E-Commerce ปี 2563. แหล่งข้อมูล http://www.sukhothai.go.th/provincialofficesukhothai-.html (26 เมษายน 2563).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2563. พื้นที่การผลิตข้าวโพดหวาน ปี 2563. แหล่งข้อมูล

http://www.oae.go.th/assets/portals/1/fileups/prcaidata/files/

sweet%20corn61.pdf (26 เมษายน 2563).

อดุลย์ โชตินิสากรณ์. 2562. การส่งออกข้าวโพดหวานและผลิตภัณฑ์ในช่วง 11 เดือนของปี 2561. แหล่งข้อมูล https://www.thaipost.net/main/detail/27471 (25 มกราคม 2562).

อ่อนสี ไชยราช. 2562. การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกยาสูบของเกษตรกรในเมืองหนองบก แขวงคำม่วนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนาทรัพยากรชนบท, คณะผลิตกรรมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Kessung, P. 2016. Action Research. ChulalongkornUniversity Press, Bangkok.

Phengawat, W. 2010. Applied Statistics for Social Sciene Research. Suveeriyasarn, Bangkok.

Punyawadee, V. 2008. Driven to the way of safe food from toxins: the case of growing vegetables. Thammasat Economic Journal 26(1): 107-127. [in Thai]

Suwatthi, P. 1998. Sampling Methods for Research . NIDA Development Journal 38(3): 103-130. [in Thai]

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. Harpe and Row, New york.