ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กชพร ธาราสมบัติ
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ
สายสกุล ฟองมูล

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคมบางประการ และความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ 2) ความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ของเกษตรกร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เลี้ยงไก่ไข่จังหวัดเชียงใหม่ 317 คน โดยใช้สูตรของ Yamane (1973) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ใช้แบบสอบถามโดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิด และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (78.2%) อายุเฉลี่ย 47.46 ปี สมรสแล้ว จบปริญญาตรี มีสมาชิกครัวเรือน 4.47 คน แรงงาน 4.85 คน รายได้ 66,754.89 บาทต่อเดือน รายได้จากไข่ไก่ 61,280.75 บาทต่อเดือน จากมูลไก่ไข่ 2,436.27 บาทต่อเดือน จากไก่ไข่ปลดระวาง 3,037.85 บาทต่อเดือน หนี้สินเฉลี่ย 174,889.59 บาท พื้นที่ 7.55 ไร่ จำนวนไก่ไข่เฉลี่ย 27,260.23 ตัว ประสบการณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่ 17.58 ปี รับรู้ข่าวสารการเลี้ยงไก่ไข่จากการอบรม และจากเจ้าหน้าที่ของรัฐด้านสุขภาพสัตว์ ติดต่อกับผู้ค้าสมาคมไก่ไข่ 8.06 ครั้งต่อปี มีความรู้เรื่องมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่อยู่ในระดับมาก ความต้องการในการส่งเสริมเฉลี่ย 2.72 อยู่ในระดับปานกลางพบ 12 ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการในการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไข่ (61.70%)  คือจำนวนไก่ไข่ในฟาร์ม หนี้สิน ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ เพศ การศึกษา แรงงาน การติดต่อเจ้าหน้าที่ การรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ สมาชิกในครัวเรือน การติดต่อกับผู้ค้าสมาคมไก่ไข่ และอายุ เกษตรกรมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง มีข้อเสนอแนะจากเกษตรกรว่าควรจัดอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงไก่ไข่ และมีการตรวจสุขภาพไก่ไข่สม่ำเสมอ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2554. การเลี้ยงไก่ไข่. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

กระทรวงการต่างประเทศ. 2555. องค์การการค้าโลก(World Trade Organization: WTO). แหล่งที่มา https://www.mfa.go.th/th/content/5d5bcc2715e39c306000a368?cate=5d5bcb4e15e39c3060006872 (8 สิงหาคม 2565).

ขวัญดาว แต่งตั้ง และวสุธิดา นุริตมนต์. 2562. การรับรู้ข้อมูลข่าวสารและการสร้างคุณค่าของการทำเกษตรอินทรีย์ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการทำเกษตรอินทรีย์ของกลุ่มเกษตรอินทรีย์สนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์ 11(3): 42-54.

จักรพงศ์ มานะดี และนิวัฒน์ มาศวรรณา. 2555. ความต้องการรับบริการส่งเสริมการเกษตรของเกษตรผู้ปลูกข้าวนาปรัง ในตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 12(3): 148-156.

จามะรี พิทักษ์วงศ์ เบญจวรรณ ทองศิริ และเบญจวรรณ ชินวัตร. 2531. บทบาทของชายและหญิงในระบบการทำฟาร์มในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่: รายงานการสัมมนาระบบการทำฟาร์ม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ธิติพัฒน์ เอี่ยมนิรันดร์. 2548. หน่วยที่ 2 การประยุกต์นิเทศศาสตร์ด้านการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการประยุกต์นิเทศศาสตร์เพื่อการพัฒนา เล่มที่ 1. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

นวรัตน์ บุญทองเนียม. 2563. ข้อมูลเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ระดับจังหวัด ปี 2563. แหล่งที่มา http://ict.dld.go.th/webnew/index.php/th/service-ict/report/340-report-thailand-livestock/reportservey2563/1503-2563-prov (3 มิถุนายน 2565).

ประยูรศรี บุตรแสนคม. 2555. การคัดเลือกตัวแปรพยากรณ์เข้าในสมการถดถอยพหุคูณ. วารสารการวัดผลการศึกษา 17(1): 43-60

พระสมนึก จรโณ และนิกร ยาอินตา. 2563. ความรักความศรัทธา และการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 5(5): 1-11.

ภัทราพร ชัยสำเร็จ และชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์. 2559. การเปรียบเทียบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในนักกีฬาว่ายน้ำระยะสั้นและระยะกลาง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ 17(1): 12-24.

ราตรี สิทธิพงษ ์ และชาลี ตระกูล. 2558. การจัดการความรู้ของเกษตรกรที่ทำการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ตำบลหินดาต อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(สทมส.) 21(3): 97-106.

วิทยา อบโอ. 2563. การบริหารความเสี่ยงทางการเงินของครัวเรือนในสภาวะความปกติใหม่. วารสารวิชาการสังคมมนุษย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 10(2): 69-80.

วิภา นาโค และปัญญา อัครพุทธพงศ์. 2559. การศึกษาความต้องการการพัฒนาความรูทั้กษะและวิธีการพัฒนาเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายปฏิบัติการตำแหน่งเจ้าหน้าที่สำนักงาน งานบริหารงานทั่วไปภายใต้สำนักงานมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา 11(4): 106-116.

สุชาต อดุลย์บุตร. 2561. ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานและลูกจ้างองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. วารสารเกษมบัณฑิต 19(ฉบับพิเศษ): 201-212.

สุวรัฐ แลสันกลาง พิบูลย์ ชยโอว์สกุล ฐิฏิกานต์ สุริยะสารและชุตินิษฐ์ ปานคำ. 2563. การบริหารจัดการหนี้สินครัวเรือนแบบมีส่วนร่วมจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ 10(2): 31-44.

Daovisan, H and T. Chamaratana. 2018. Confirmatory Factor Analysis of Assets That Influence Informal Garment Workers Livelihood Security in Laos. Societies 8(45): 1-11.

Maslow, A.H. 2019. A Theory of Human Motivation. General Press, New Delhi. Richard. T, R. Mowday, M. Steers and W.P Lyman. 1982. Organization Linkages: the Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover, Academic. New York.

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harpe and Row, New york.