ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อ ในด้านความรู้และการปฏิบัติตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ในกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อจำนวน 309 ราย โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความรู้และการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกร โดยสถิติถดถอยพหุคูณ โดยมีตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปร ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพการเลี้ยงโคเนื้อด้านความรู้ตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อของเกษตรกรในเมืองโพนไช แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว ตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปรมีอิทธิพลต่อความรู้ของเกษตรกรอยู่ร้อยละ 41.8 (R2 = 0.418)โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้ง หมด 4 ปัจจัยได้แก่ ระดับการศึกษา การได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเลี้ยงโคเนื้อ การเข้าร่วมฝึกอบรม มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนการมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคเนื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในส่วนของปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติได้ตามการปฏิบัติทางการเลี้ยงสัตว์ที่ดีสำหรับฟาร์มโคเนื้อ พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมด 15 ตัวแปร มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติของเกษตรกรอยู่ร้อยละ57.10 (R2 = 0.571) ซึ่งปัจจัยที่มีอิทธิพลทั้งหมด 5 ปัจจัยได้แก่ ระดับการศึกษารายได้จากการเลี้ยงโคเนื้อ การเข้าร่วมการฝึกอบรม ประสบการณ์การเลี้ยงโคเนื้อ มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.01 ส่วนการได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ มีความสัมพันธ์ในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ณัฐพันธุ์ กันธิยะ. 2562. ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อของเกษตรกรโครงการระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่โคเนื้อ กรณีศึกษาอำเภอเชียงกลางจังหวัดน่าน. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดน่าน อำเภอเมือง จังหวัดน่าน. แหล่งข้อมูล http://pvlonan.dld.go.th/webnew/images/stories/2562/doc_download/techno/23012563/vijai-1.pdf (29 กรกฎาคม 2564).
บัวทอง แก้วหล้า และวรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2556. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับการส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอหนองแฮด จังหวัดเชียงขวาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารเกษตร 29(3): 2 67-275.
บุญจันทร์ มณีแสง และรุจ ศิริสัญลักษณ์. 2554. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับการเลี้ยงโคเนื้อลูกผสมระหว่างแม่พื้นเมืองกับพ่อพันธุ์บราห์มันแดง ของเกษตรกรในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารเกษตร 27(2): 137-143.
ปฐมพงศ์ ฤกษ์ดี วรทัศน์ อินทรัคคัมพร ภาณพันธุ์ประภาติกุล และมนตรี ปัญญาทอง. 2563. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เปลือกข้าวโพดหมักในการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. แก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ 1): 401-408.
รักไทย วีรานันต์. 2539. ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงโคเนื้อแบบเป็นการค้าของเกษตรกรในจังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต(เทคโนโลยีการเกษตร) สาขาส่งเสริมการเกษตร, มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วาโร เพ็งสวัสด์. 2553. การวิจัยพัฒนารูปแบบ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2(4): 1-15.
เสกสรรค์ ดวงสิงห์ธรรม ภาณุพันธุ์ ประภาติกุล สุรพล เศรษฐบุตร พรสิริ สืบพงษ์สังข์ และอภิญญา รัตนไชย. 2563. แนวทางการปรับเปลี่ยนทัศนคติด้านการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่.แก่นเกษตร 48(ฉบับพิเศษ 1): 393-400.
เสกสรรค์ ดวงสิงห์ธรรม อภิญญา รัตนไชย และภาณุพันธุ์ ประภาติกุล. 2565. แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในอำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. แก่นเกษตร 50(3): 668-681.
Agricultural and forestry Phonxay’s Office. 2021. Implementation of the action plan for agriculture and rural development. Laungprabang, Lao.
Best, J.W. 1981. Research in Education, 4th Edition. Prentice Hall of New Delhi, India. Department of Livestock and Fisheries Ministry of Agriculture and Forestry. 2018. Handbook of Good Animal Husbandry Practice for Beef Cattle Farm. Vientiane Capital, Lao.
Department of Planning and Investigate Laungprabang Province. 2016. The 8th Five year Province Socio-economic development plan (2016-2020). Luangprabang, Lao.
District Agriculture and Forestry Office Phonxay. 2020. Five-Year Agriculture and Forest Development Plan (2020-2024). Phonexay District. Luang Prabang, Lao. Ministry of Planning and Investment. 2015. The 8th Five-year National Socio-economic Development Plan (2016–2020). Vientiane Capital, Lao.
Suppadit, T., N. Phumkokrak and P. Poungsuk. 2006. Adoption of good agricultural practices for beef cattle farming of beef cattle – raising farmers in Tambon Hindard, Dan Khunthod district, Nakhon Ratchasima province, Thailand. KMITL Science and Technology Journal. 6(2): 67-73.
Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3rd Edition, Harpe and Row, New york.