การขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยของหน่อกะลา ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

เกศสุรีย์ เปียงสืบ
ชลาธร จูเจริญ
สุภาภรณ์ เลิศศิริ

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม 2) ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย 3) ความคิดเห็นต่อการขึ้นทะ เบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมกับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะ กลุ่มตัวอย่างคือ เกษตรกรผู้ปลูกหน่อกะลาในพื้นที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จำนวน 123 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ 


      ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 61.71 ปี การศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับประถมศึกษาระยะเวลาที่ปลูกหน่อกะลาเฉลี่ย 10.76 ปี ขนาดพื้นที่ปลูกเฉลี่ย 0.81 ไร่ ผลผลิตที่ได้เฉลี่ย 160.44 กิโลกรัมต่อปี รายได้จากการจำหน่ายเฉลี่ย 13,572.36 บาทต่อปี เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยในระดับมากเฉลี่ย 26.63 คะแนน และมีความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิ ศาสตร์ไทยโดยรวมในระดับมาก
เฉลี่ย 2.97 คะแนน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ระยะเวลาที่ปลูกหน่อกะลาและขนาดพื้นที่ปลูกมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ความรู้เกี่ยวกับการปลูกหน่อกะลาและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นต่อการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ปัญหาที่พบคือ เกษตรกรขาดความรู้ในรายละเอียดเกี่ยวกับขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ข้อเสนอแนะคือ หน่วยงานภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมในการขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์                                                                

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Department of Intellectual Property. 2020. Geographical Indication Guide. Available: http://www.ipthailand.go.th/th/gi-014/item/คู่มือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์.html (February 6, 2022). [in Thai]

Kaewlaima, N., S. Sreshthaputra, B. Limnirankul and P. Kramol. 2017. Factors affecting farmers’ adoption of organic agricultural practices, Mae Ho Phra subdistrict, Mae Taeng district, Chiang Mai province. Journal of Agriculture. 33(3): 387-395. [in Thai]

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607- 610. [in Thai]

Kulavijit, B. 2018. Personal media and agriculture 4.0 promotion. Veridian E-Journal Silpakorn University 10(3): 2440- 2454. [in Thai]

Leasen, S., S. Fueangfung, C. Kumsapaya and S. Prayad. 2018. Determination of total phenolic compounds and radical scavenging activities of tea products from pseudostem of Alpinia nigra in Koh Kret, Nonthaburi. Proceeding of the 2nd National Symposium. Rajamangala University of Technology Suvarnabhumi. pp.526-533. [in Thai]

Pak Kret District Agricultural Office. 2021. Report on Noh Kala farmers.

Available: http://www. farmer.doae.go.th/farmer/report_1 (September 6, 2021). [in Thai]

Royal Society of Thailand. 2554. Dictionary. Available: https://dictionary.orst.go.th/ (August 25, 2022). [in Thai]

Ruangtanaapaisuk, N., C. Choocharoen and S. Lertsiri. 2021. Needs for knowledge on Geographical Indications registration of largescale taro farmers in Ban Mo district, Saraburi province. Agricultural Science Journal 52(2): 213-224. [in Thai]

Serirat, S., S. Sirikudta, N. Popichit, J. Anuwichanont, P. Mechinda, K. Weerakul, C. Siripanwattana, T. Gaowmanee, P. Archarungroj and J. Chuanchom. 2016. Business plan for creating added value of local functional food: A case studies of local raw material from Kala shoot, Koh Kret, Nonthaburi Province. Journal of Social Sciences Srinakharinwirot University 20(20): 271-283. [in Thai]

Tanweenukul, M., C. Choocharoen and P. Sriboonruang. 2020. Nam-Hom coconut production for exportation by farmers in Damnoen Saduak district, Ratchaburi province. Agricultural Science Journal 50(3): 299-308. [in Thai]