การรับรู้สารสนเทศทางการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภัสสรา สุขกาญจนะ
นคเรศ รังควัต
พุฒิสรรค์ เครือคำ
ปิยะ พละปัญญา

บทคัดย่อ

  งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะส่วนบุคคล เศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ 2) ศึกษาพฤติกรรมในการเปิดรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรผ่านสื่อของเกษตรกร 3) ศึกษาการรับรู้ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อด้านความเหมาะสมของเนื้อหาข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรและทัศนคติที่มีต่อสื่อของเกษตรกร 4) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกร และ 5) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการรับข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกรจากกลุ่มตัวอย่างเกษตรกร จำนวน 400 คน


    ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า มีจำนวนสมาชิกและแรงงานในครัวเรือน 1-2 คน และมีที่ดินทำกินประมาณ 1-5 ไร่ต่อครัวเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมมาแล้ว 1-10 ปี ฝึกอบรมด้านการเกษตรปีละ 1-2 ครั้ง มีการติดต่อ พบปะเจ้าหน้าที่เกษตร มาเยี่ยมเยือนปีละประมาณ 1-2 ครั้ง พฤติกรรมการเปิดรับข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรของเกษตรกร ผ่านสื่อประเภทบุคคล เช่น จากการประชุม บรรยายเกี่ยวกับข้อมูลด้านการผลิตพืช รับข่าวสาร 1-5 ครั้งต่อเดือนจากการอ่านหนังสือบทความเกี่ยวกับวิชาการใหม่ เกษตรกรรับชมช่อง Thai PBS เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม ดิน ฟ้า อากาศ เกือบทุกวัน ส่วนสื่อออนไลน์ เกษตรกรใช้ Youtube มากที่สุด โดยเฉพาะเนื้อหาการผลิตพืช


    ส่วนการรับรู้ความเหมาะสมของเนื้อหาและข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรจากสื่อประเภทต่าง ๆ ทั้ง 6 ประเภทได้แก่ สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่รัฐ) สื่อบุคคล (ภาคเอกชน) วิทยุ โทรทัศน์ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อออนไลน์ พบว่าในภาพรวมมีระดับการรับรู้ปานกลาง โดยระดับการรับรู้ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาและข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยมาก คือ สื่อบุคคล (เจ้าหน้าที่รัฐ) รองลงมาคือ สื่อโทรทัศน์ สื่อบุคคล (ภาคเอกชน) สื่อออนไลน์ สื่อวิทยุ และน้อยที่สุดคือ สื่อสิ่งพิมพ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรของเกษตรกรพบว่า ระดับการศึกษา สื่อบุคคล สถานภาพ จำนวนพื้นที่ทำการเกษตร และความถี่ในการรับสื่อ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางการเกษตรโดยมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.000, 0.001, 0.002, 0.0015 และ 0.0016 ตามลำดับ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%


     ปัญหาในการเปิดรับสื่อสิ่งพิมพ์ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่าทำให้อ่านหนังสือไม่ได้ทำให้เป็นอุปสรรคในการอ่านข้อมูลข่าวสาร ประกอบกับพื้นที่มีจุดให้บริการข่าวสารด้วยสื่อสิ่งพิมพ์น้อยส่วนของโทรทัศน์ เกษตรกรไม่ทราบเวลาออกอากาศรายการเกษตร


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. 2563. รายงานข้อมูลสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2563-2565. แหล่งข้อมูล https://www.moac.go.th/sitehome (22 กันยายน 2565).

บุหลัน กุลวิจิตร. 2560. สื่อบุคคลกับการส่งเสริมการเกษตร 4.0. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ) 10(3): 2440-2454.

สำนักงานเกษตรเชียงใหม่. 2563. ข้อมูลพื้นฐานการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ ปี 2562/2563 ตลอดปี. แหล่งข้อมูล http://www.chiangmai.doae.go.th/web2020/?page_id=2042 (22 กันยายน 2565).

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. 2559. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร. สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, กรุงเทพฯ.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2563. ยุทธศาสตร์ชาติ. แหล่งข้อมูล http://nscr.

nesdc.go.th/wp-content/uploads/2022/03/PPT-NS-December-2563.pdf (22 กันยายน 2565).

Yamane, T. 1973. Statistics: An Introductory Analysis. 3nd Edition, Harper and Row, New York.